ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติทางวัฒนธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
'''การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ''' ({{lang-en|Great Proletarian Cultural Revolution}}) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า '''การปฏิวัติวัฒนธรรม''' ({{lang-en|Cultural Revolution}}) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ตั้งแต่ปี 2509 [[เหมาเจ๋อตง]]ซึ่งขณะนั้นเป็นประธาน[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]] เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน เป้าหมายที่แถลงไว้ คือ เพื่อบังคับใช้[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]ในประเทศโดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็น[[ทุนนิยม]] ประเพณีและวัฒนธรรมจีน ออกจากวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์และเพื่อกำหนดแนวทางแบบเหมาภายในพรรค การปฏิวัติดังกล่าวส่งผลให้เหมาเจ๋อตงกลับมามีอำนาจหลัง[[การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า]]ที่ล้มเหลว ขบวนการดังกล่าวทำให้การเมืองจีนหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสำคัญ
 
การปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2509 เหมาอ้างว่ากระฎุมพีกำลังแทรกซึมรัฐบาลและสังคมอย่างไม่มีขอบเขต โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูทุนนิยม เขายืนกรานให้ขจัด "ลัทธิแก้" (revisionist) เหล่านี้ผ่าน[[การต่อสู้ของชนชั้น]]อย่างรุนแรง เยาวชนจีนสนองตอบการเรียกร้องของเหมาโดยตั้งกลุ่มเรดการ์ดขึ้นทั่วประเทศ ขบวนการดังกล่าวแพร่ไปสู่ทหาร กรรมกรในเมือง และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เอง การปฏิวัติส่งผลให้เกิดการต่อสู้ระหว่างกลุ่มแยกอย่างกว้างขวางในทุกย่างก้าวของชีวิต ในหมู่ผู้นำระดับสูง การปฏิวัตินำไปสู่การกวาดล้างข้าราชการอาวุโสที่ถูกกล่าวหาว่าเดิน "ถนนทุนนิยม" ขนานใหญ่ ที่โดดเด่นที่สุด คือ ประธานาธิบดี[[หลิวส้าวฉี]]และ[[เติ้งเสี่ยวผิง]] พร้อมด้วย[[จอมพล หลิวป๋อเฉิง]] [[จอมพล เฉินอี้]] [[จอมพล เย่เจี้ยนอิง]]และ[[จอมพล เผิงเต๋อไหว]]<ref>http://history.huanqiu.com/photo/2008-11/295806_4.html</ref>
 
ในเวลาเดียวกัน [[ลัทธิมากซ์]] ของประธานเหมา เติบโตขึ้นเป็นอันมาก กลุ่มกรรมกรใช้สัญลักษณ์ค้อนกดขี่ข่มเหงชาวนาและกลุ่มเกษตรกรรมอื่นๆ