ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟรีเมสัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oatkubpom (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาที่โดยแปลจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
Oatkubpom (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมเนื้อหาจากการแปลจากวิกิภาษาอังกฤษ
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 39:
 
ในปัจจุบัน องค์กรฟรีเมสัน มีอยู่สองแบบ ด้วยกัน คือ องค์กรฟรีเมสันแบบปกติ (Regular Freemason) เป็นองค์กรฟรีเมสันที่เมื่อมีการประกอบพิธีการประชุมของลอดจ์ ต้องเปิดคัมภีร์ทางศาสนา กลางห้องประชุมเสมอ อีกทั้งทุกคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องเชื่อในสิ่งที่ดำรงอยู่สูงสุด (นับถือศาสนา) ไม่รับสมาชิกผู้หญิง และการพูดคุยถกเถียงกันใน เรื่องการเมืองและศาสนา ในลอดจ์ เป็นเรื่องต้องห้าม อีกประเภทหนึ่งคือ ฟรีเมสันแบบภาคพื้น (Continental Freemason) หรือเรียกกันว่า ฟรีเมสันแบบเสรีนิยม โดยลอดจ์ที่เป็นฟรีเมสันแบบเสรีนิยมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ้างส่วน ที่เป็นหลักยึดถือของฟรีเมสันแบบปกติ เช่นการรับผู้หญิง หรือผู้ไม่นับถือศาสนาเป็นสมาชิก หรือสามารถพูดคุยเรื่อง ศาสนา และการเมืองในลอดจ์ได้ เป็นต้น โดยฟรีเมสันแบบนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป คือประเทศฝรั่งเศสเป็นสำคัญ 
 
== ลอดจ์เมสัน ==
ลอดจ์เมสัน (Masonic Lodges) เป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดขององค์กรฟรีเมสัน ลอดจ์ประชุมกันสม่ำเสมอ เพื่อจัดการกิจการต่างๆเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ เช่น การจ่ายค่าน้ำค่าไฟ การจัดงานสังสรรค์ การจัดงานการกุศล การลงคะแนนเพื่อรับสมาชิกใหม่เข้าเป็นสมาชิก เป็นต้น นอกเหนือจากการประชุมเพื่อจัดการกิจการทั่วไปของลอดจ์แล้วนั้น ในการประชุมบางครั้งยังมีการประกอบพิธีการของฟรีเมสัน คือพิธีการยกระดับขั้นของสมาชิก หรือการบรรยายความรู้เกี่ยวกับฟรีเมสัน เช่นประวัติศาสตร์ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับบทเรียนของฟรีเมสัน และเมื่อประชุมกันเสร็จแล้ว มักจะมีการสังสรรค์จัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการเสมอ ซึ่งเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Festive Board ซึ่งบ้างครั้งจะมีการร้องเพลง หรือดื่มเพื่อให้เกียรติ แล้วแต่ตามโอกาส 
 
พิธีกรรมของฟรีเมสันมีมากมาย ผู้สมัคร (Candidate) เข้าร่วมเป็นฟรีเมสัน จะต้องผ่าน พิธีการขั้นแรกเข้าสู่ฟรีเมสัน (initiated) ขึ้นเป็นระดับช่างฝึกหัด (Entered Apprentice) ซึ่งเป็นระดับที่หนึ่ง ต่อมาจะเข้าพิธีผ่านระดับ (passed) ขึ้นเป็นระดับช่างฝีมือ (Fellowcraft) ซึ่งเป็นระดับที่สอง และเข้าพิธียกขึ้น (Raised) ขึ้นเป็นนายช่าง (Master Mason) ซึ่งเป็นระดับสาม และถือว่าเป็นระดับอันทรงเกียรติในที่สุด ในพิธีการต่างๆข้างต้น ผู้สมัครจะได้เรียนรู้ และรับมอบ รหัสผ่าน สัญลักษณ์ และท่าทางการจับมือ ซึ่งแตกต่างไปในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพิธีการที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี เรียกว่าพิธีการแต่งตั้งประธาน และเจ้าหน้าที่ของลอดจ์ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี
 
ส่วนมาก แต่ละลอดจ์ จะมีการจัดงานสังสรรค์ที่ไม่มีพิธีการเมสัน เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวเมสันพาคู่ของตัวเองมาเข้าร่วมงานได้ด้วย ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่จัดเพื่อวัตถุประสงค์ระดมทุนเพี่อการกุศล อันเป็นหลักการหนึ่งที่ชาวฟรีเมสันยึดถือเป็นหลัก ซึ่งการจัดงานในลักษณะนี้มีทั้งในระดับ ลอดจ์ไปจนถึงระดับแกรนด์ลอดจ์ โดยการกุศลที่องค์กรฟรีเมสันบริจาค มีตั้งแต่เพื่อการศึกษา ไปจนถึงการบรรเทาสาธารณภัย
 
ลอดจ์ระดับท้องถิ่นเหล่านี้ ถือเป็นกระดูกสันหลังขององค์กรฟรีเมสัน ซึ่งผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกฟรีเมสันก็จะต้องเข้าเป็นสมาชิกในลอดจ์เหล่านี้นี่เอง นอกจากนี้ยังมีลอดจ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษอื่นๆอีก เช่น เพื่อการวิจัยศึกษาทางเมสัน สำหรับผู้ที่ได้ยกขึ้นเป็นระดับ นายช่าง (Master Mason) สามารถที่จะเข้าร่วมลอดจ์ต่างๆเหล่านี้ และเดินทางเพื่อศึกษาค้นคว้า หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนชาวฟรีเมสันได้ทั่วโลก และสามารถเข้าร่วมกับฟรีเมสันระดับเพิ่มเติมอื่นๆ ซึ่งมีองค์กรที่กำกับดูแลแยกออกไปต่างหากจาก Blue Lodge ได้อีกด้วย 
 
ธรรมเนียมที่มีอย่างยาวนานของฟรีเมสัน ก็คือ เขตการปกครองเมสันแต่ละที่นั้นมีอิสระต่อกัน โดยในแต่ละเขตก็มีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น บทพิธีการ ระเบียบวิธีการ จำนวนขั้นต่ำของสมาชิกในที่ประชุม แผนผังห้องประชุม เป็นต้น 
 
เจ้าหน้าที่ผู้มีตำแหน่งในลอดจ์ที่ได้รับเลือก หรือแต่งตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี ทุกๆลอดจ์จะต้องมี ประธาน (Master) 1 คน และมีผู้ปกครอง (Wardens) 2 คน เลขานุการ เหรัญญิก และตำแหน่งผู้ถือดาบ (Tyler) หรือผู้ระวังภัยภายนอกซึ่งมีหน้าที่เฝ้าประตูอยู่ภายนอกห้องประชุมเพื่อระวังภัยตลอดเวลาที่ประชุม 1 คน จึงถือได้ว่าเป็นลอดจ์สมบูรณ์ และสามารถเปิดประชุมได้ ส่วนตำแหน่งอื่นๆแตกต่างกันไปตามเขตการปกครองต่างๆที่มีธรรมเนียมประเพณีเป็นของตัวเอง
 
แต่ละลอดจ์ที่ยังดำเนินการอยู่ จะยึดถือหลักการที่มีมาแต่โบราณกาลที่รู้จักกันว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) ซึ่งหลักการนี้ไม่สามารถถูกลบล้าง และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล
[[File:Palazzo_Roffia,_galleria_00.JPG|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Palazzo_Roffia,_galleria_00.JPG|alt=Italian lodge at Palazzo Roffia, Florence|thumb|Lodge in Palazzo Roffia, [[wikipedia:Florence|Florence]], set out for French (Moderns) ritual]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==