ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''สมเด็จพระพุฒาจารย์''' นามเดิม '''เข้ม''' ฉายา '''ธมฺมสโร''' เป็นสมเด...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สมเด็จพระพุฒาจารย์''' นามเดิม '''เข้ม''' ฉายา '''ธมฺมสโร''' เป็น[[สมเด็จพระราชาคณะ]][[เจ้าคณะใหญ่หนกลาง]] อดีต[[เจ้าอาวาส]]รูปที่ 9 ของ[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร]] เจ้าคณะมณฑลสุราษฎร์ธานีชุมพรและพิศณุโลก
 
== ประวัติ ==
สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า '''เข้ม''' สกุล '''ธนสังข์'''<ref name="หน้า130">''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒'', หน้า 130</ref> เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2396 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู จ.ศ. 1215 ภูมิลำเนาอยู่บ้าน[[ตำบลโรงช้าง]] จังหวัดพิจิตร เมื่ออายุได้ 10 ขวบได้ศึกษากับพระอาจารย์พุ่ม [[วัดนครชุม]] ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จนอายุ 15 ปี จึงมาบรรพชาเป็นสามเณรที่[[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร]] ในสำนักพระญาณสมโพธิ (อ่ำ) ขณะยังเป็นพระอันดับ แล้วศึกษาต่อในสำนักหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ปั้น) พระเมธาธิบดี (จั่น) และพระปริยัติธรรมธาดา (ชัง)<ref name="หน้า175">''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', หน้า 175</ref>
 
ปีกุน พ.ศ. 2418 ได้อุปสมบทที่วัดรังษีสุทธาวาส (ต่อมายุบรวมกับ[[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]]) โดยมีพระปัญญาพิศาลเถร (บัว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (วิญญู) และพระปลัดศรี เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ธมฺมสโร บวชแล้วย้ายกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ ถึงปีชวด พ.ศ. 2419 ท่านเข้าสอบพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่[[พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท]] ได้[[เปรียญธรรม 4 ประโยค]] สอบครั้งที่สองในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ที่สนามสอบเดิม สอบได้[[เปรียญธรรม 5 ประโยค]] และสอบครั้งสุดท้ายในปีจอ พ.ศ. 2429 ได้[[เปรียญธรรม 6 ประโยค]]<ref name="หน้า175"/>
 
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลชุมพร<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 19|issue=ตอน 16|pages=หน้า 297|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชาคณะเจ้าคณะมณฑล|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/016/296.PDF|date=20 กรกฎาคม ร.ศ. 121|accessdate=7 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref> ในวันนั้นท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรที่พระอุโบสถ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 19|issue=ตอน 17|pages=หน้า 297|title=พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/017/334_1.PDF|date=27 กรกฎาคม ร.ศ. 121|accessdate=7 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref> ต่อมาวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 โปรดให้ย้ายมาครองวัดพระเชตุพนฯ<ref>{{cite web|title=อดีตเจ้าอาวาส|url=http://www.watpho.com/habbot.php|publisher=วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม|accessdate=7 พฤษภาคม 2560}}</ref> และวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2453 โปรดให้สถาปนาเป็นเจ้าคณะมณฑลพิศณุโลก ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ณ [[พระที่นั่งอภิเศกดุสิต]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 27|issue=ตอน 0 ง|pages=หน้า 567-568|title=พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/567.PDF|date=3 กรกฎาคม ร.ศ. 129|accessdate=7 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref> จนถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2464 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นเจ้าคณะรองอรัญวาสี<ref name="อุบาฬี"/>
 
== สมณศักดิ์ ==
เส้น 12 ⟶ 14:
* 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะฝ่ายใต้ที่ ''พระเทพเมธี ศีลวิบุลนายก มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี'' มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 19|issue=ตอน 8|pages=หน้า 127, 128|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์ และรายนามพระสงฆ์ที่รับพัดรอง พระราชลัญจกร แลตราตำแหน่งต่าง ๆ|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/008/124.PDF|date=25 พฤษภาคม ร.ศ. 121|accessdate=6 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref>
* 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 เป็น[[พระราชาคณะชั้นธรรม]]ที่ ''[[พระธรรมเจดีย์]] กระวีวงษ์นายก ตรีปิฎกบัณฑิตย์ มหาคณฤศรบวรสังฆาราม คามวาสี'' มีนัตยภัตราคาเดือนละ 7 ตำลึง<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 26|issue=ตอน 0 ง|pages=หน้า 214-215|title=รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานยศสมณศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/214.PDF|date=16 พฤษภาคม ร.ศ. 128|accessdate=6 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref>
* 24 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง]]อรัญวาสีที่ ''[[พระอุบาลีคุณูปมาจารย์|พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์]] ญาณวิสุทธิจริยาปรินายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากร สุนทรศีลาทิขันธ์''<ref name="อุบาฬี">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 38|issue=ตอน 0 ง|pages=หน้า 1,830|title=ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/1824.PDF|date=2 ตุลาคม 2464|accessdate=6 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref>
* 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะใต้ที่ ''[[พระธรรมวโรดม]] บรมญาณอดุลยสุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต ทักษิณทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 40|issue=ตอน 0 ง|pages=หน้า 2,591-2593|title=ประกาศสถาปนา สมณศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/2587.PDF|date=25 พฤศจิกายน 2466|accessdate=6 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref>
* 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 เป็น[[สมเด็จพระราชาคณะ]][[เจ้าคณะใหญ่หนกลาง]]ที่ ''[[สมเด็จพระพุฒาจารย์]] สมถวิปัสสนายานปรีชา สัปดวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธสัลเลขธุดงคธารี ตรีปิฎกโกศล สกลมัชฌิมคณิสสรบวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 46|issue=ตอน 0 ก|pages=หน้า 361-362|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมณศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/A/357.PDF|date=26 กุมภาพันธ์ 2472|accessdate=6 พฤษภาคม 2560|language=ไทย}}</ref>