ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำไย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robotkung (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในอินเดียตะวันออก พม่าตอนเหนือและจีนตอนใต้ แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766ปีก่อนคริสกาล และจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และเมื่อชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ. 1514 ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกใน[[ประเทศจีน]]ที่[[มณฑลกวางตุ้ง]], [[มณฑลเสฉวน]] ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่[[มณฑลฝูเจี้ยน]]
 
ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปใน[[ประเทศอินเดีย]], [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าสู่[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]ในปลายพุทธศตวรรษที่25 ในประเทศไทยทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" หรือลำไยธรรมดา <ref name = "ลำไย">นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 203 - 205</ref> ในสมัยรัชกาลที่6 มีชาวจีนนำพันธุ์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจำนวน5ต้น (ในปัจจุบันบัญญัติชื่อพันธุ์เบี้ยวเขียว) ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3ต้น โดยปลูกที่สวนเจ้าสบาย ณ ที่ประทับของเจ้าดารารัศมีหลังเสด็จนิวัติกลับมาประทับถาวรเมื่อพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5 เสด็จสวรรคต และส่งมาปลูกที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2ต้น <ref name = "ลำไย"/> หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในภาคเหนือ โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ๆตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของต้นลำไย
บรรทัด 60:
* '''5. ลำไยเถา หรือลำไยเครือ''' เป็นไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก ผลเล็ก, เมล็ดโตกว่าลำไยบ้าน, เนื้อหุ้มเมล็ดบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นคล้ายกำมะถันจึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน <ref>เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ''ลำไยเครือ'' ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 94-95</ref> นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขา
 
* '''6. ลำไยขาว''' เป็นลำไยพันธุ์โบราณหายาก ในครั้งหนึ่งเชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและตอนกิ่งขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง ผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว เนื้อสีขาวใส เมล็ดลีบ รสหวาน <ref>เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ''ลำไยขาว'' ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 104 - 105</ref>
 
และยังมีลำอีกอยากหลายชนิดที่ยังไม่ถูกจำแนก เช่น ลำไยใบหยก, ลำไยอีสร้อย, ลำไยตอหลวง, ลำไยเพรชน้ำเอก, ลำไยพวงเพชรบ้านแพ้ว เป็นต้น ฯลฯ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลำไย"