ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6913952 สร้างโดย 118.172.13.76 (พูดคุย)
Armedfarmer (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''ไทใหญ่''' หรือ '''ฉาน''' ({{lang-shn|{{my|တႆး}}}} ''ไต๊''; {{lang-my|ရှမ်းလူမျိုး}}, {{IPA-all|ʃán lùmjóʊ|pron}}; {{zh-all|s=掸族|p=Shàn zú}}) หรือ '''เงี้ยว''' (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ越:yue)<ref>{{cite web | title = ยวน ในยวนพ่าย ก็เป็น ลาว (คักๆ) | publisher = สุจิตต์ วงษ์เทศ | url = http://www.sujitwongthes.com/2012/09/weekly21092555/ | date = 21 กันยายน 2555 | accessdate = 14 กุมภาพันธ์ 2558}}</ref> คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยใน[[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]] และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณ[[ดอยไตแลง]] ชายแดนระหว่าง[[ประเทศไทย]]กับประเทศพม่า<ref>Sao Sāimöng, The Shan States and the British Annexation. Cornell University, Cornell, 1969 (2nd ed.)</ref>คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต มีหลายกลุ่มเช่น [[ไตขืน]] [[ไตแหลง]] [[คำตี่|ไตคัมตี]] [[ไทลื้อ|ไตลื้อ]] และ[[ไตมาว]] แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง (ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่) หรือที่คนไทยเรียกว่า ไทใหญ่ จะเห็นได้ว่าภาษาไตและภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน ชาวไทใหญ่ถือวันที่ [[7 กุมภาพันธ์]] เป็นวันชาติ เมืองหลวงของรัฐฉานคือ [[ตองยี]] มีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ [[สีป้อ]] [[ล่าเสี้ยว]] [[เชียงตุง]] และ[[ท่าขี้เหล็ก]]
 
== เชื้อชาติ ==
บรรทัด 30:
 
== ภาษา ==
เป็นภาษาใน[[ตระกูลภาษาไท-กะได]] ขอบเขตการแพร่กระจายของภาษาในกลุ่มนี้เริ่มจากทางตะวันตกของยูนนานไปจนถึงกวางตุ้งและเกาะไหหลำ ผู้พูดส่วนใหญ่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนท่ามกลางชาวจีนฮั่นหรือชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สืบทอดมาด้วยภาษาของตนเองซึ่งน่าจะเริ่มต้นมาจากภาษากัม-ไทดั้งเดิม ชาวเยว่ที่เคยแพร่หลายทางตอนใต้ของจีนสมัยโบราณมีภาษาที่มีบรรพบุรุษเดียวกับภาษาในกลุ่มนี้
ภาษาไทใหญ่เป็นวิชาเลือกหนึ่งภายในรัฐ เจ้าขุนสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทใหญ่ในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่มีจำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทใหญ่เหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า<ref>{{cite web |url=http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=shn |title=Shan: A language of Myanmar |accessdate=2006-12-02 |work=Ethnologue }}</ref>
 
เยว่เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่มีความสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่อยู่ในจีนตอนใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีหลายสาขา เยว่จึงเคยมีชื่อเรียกว่าไป่เยว่ (เยว่ร้อยจำพวก) ในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยโบราณของจีนซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่มาก ชนกลุ่มเยว่ในบริเวณต่างกันมีชื่อเรียกต่างกันตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนไปจนถึงตะวันออกเฉียงเหนือในพม่ามีชาวเยว่หลายกลุ่ม เช่น หวู่เยว่ (Wuyue 吳越), ยูเยว่ (Yuyue 於越), โอวเยว่หรือเยว่ตะวันออก (Ouyue 甌越), หนานเยว่ (Nanyue 南越/南粵), ซีโอว (Xi'ou 西甌), หลัวเยว่ (Luoyue 雒越/駱越), หยางเยว่ (Yangyue 揚越), หมิ่นเยว่ (Minyue 閩越), ชานเยว่ (Shanyue 山越), กุยเยว่ และเตียนเยว่ (Dianyue 滇越)
 
ในช่วงสมัยราชวงศ์ฉินจนถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในหมู่ชาวไป่เยว่ในจีนตอนใต้ซึ่งเกิดจากการสู้รบระหว่างชาวไป่เยว่กับรัฐบาลกลางทำให้มีการจัดการปกครองขึ้นใหม่ มีการอพยพของทหารจีนจากตอนเหนือเข้ามา ชาวเยว่เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มแยกต่างหากจากผู้อพยพเข้ามาใหม่ เกิดการใช้ชื่อเรียกชาวเยว่ในแต่ละที่เป็นการเฉพาะ คำว่าเยว่จึงหายไปจากประวัติศาสตร์จีน
 
หลังจากยุคราชวงศ์ฮั่นประมาณพุทธศตวรรษที่ 8 มีชื่อใหม่ เช่น วูฮู ลื้อ และลาวเกิดขึ้น เพื่อใช้เรียกกลุ่มชาวไป่เยว่ที่แตกต่างกัน มีความเห็นที่แตกต่างกันมากในหมู่นักประวัติศาสตร์จีนเกี่ยวกับต้นกำเนิดของคำว่าวูฮู คำว่าลื้อและลาวเริ่มใช้ในพุทธศตวรรษที่ 8-11 ใช้เรียกชาวเยว่ที่อยู่ทางตะวัตกเฉียงใต้ของจีน ในสมัยราชวงศ์ถังมีชื่อของกลุ่มชนลาวกว่า 20 ชื่อ เช่นลาวนานผิง ลาวเจียนนาน ลาววูฮู ลาวปาโจว ลาวอี้โจว ลาวกุ้ยโจว และลาวฉาน
 
กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และ[[กลุ่มภาษาไท|ไท]] (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วยภาษาไทใหญ่เป็นวิชาเลือกหนึ่งภายในรัฐ เจ้าขุนสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทใหญ่ในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่มีจำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทใหญ่เหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า<ref>{{cite web |url=http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=shn |title=Shan: A language of Myanmar |accessdate=2006-12-02 |work=Ethnologue }}</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทใหญ่"