ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาที่ประสูติภายในเศวตฉัตร เจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานศักดินา "เต่งกะด๊ะ" (Taingda) จากพระเจ้ามินดง และกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันว่า "เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ"<ref>http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm</ref> ต่อมา พ.ศ. 2409 พระเจ้ามินดงทรงเปลี่ยนศักดินาของเจ้าหญิงจาก "เต่งกะด๊ะ" เป็น "มโหย่ติ" (Myothit) ดังนั้นจึงมีสถานะเป็น "เจ้าหญิงมโหย่ติ"
 
ในปีพ.ศ. 2421 ขณะทรงมีพระชนมายุราว 13 พรรษา พระเจ้ามินดง พระราชบิดาได้เสด็จสวรรคต เจ้าหญิงมโหย่ติทรงเป็นหนึ่งในเชื้อพระวงศ์ที่รอดพ้นการปลงพระชนม์หมู่ในเหตุการณ์[[รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421 - 2422]] ที่ดำเนินการโดย[[พระนางอเลนันดอ|พระนางซินผิ่วมะฉิ่น]] พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง และอัครมหาเสนาบดีในพระเจ้ามินดง คือ [[เกงหวุ่นมินจี]] ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระนางซินผิ่วมะฉิ่น และ[[เต่งกะด๊ะมินจี]] เสนาบดีผู้มีอิทธิพลในสภาลุดต่ออีกคนหนึ่ง<ref>H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 49; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7</ref> การก่อรัฐประหารครั้งนี้เพื่อเปิดทางให้[[พระเจ้าธีบอ]] กษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์คองบองได้อย่างมั่นคง เหล่าพระเชษฐา อนุชาและพระภคินีต่างมารดาของเจ้าหญิงมโหย่ติที่มีสิทธิในราชบัลลังก์และอิทธิพลสูงในราชสำนักต่างถูกปลงพระชนม์ เจ้าหญิงมโหย่ติ และพระราชธิดาอีกสองพระองค์ของพระเจ้ามินดงที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทยาสิ่น ไม่ได้ถูกปลงพระชนม์ อาจเป็นเพราะพระนางซินผิ่วมะฉิ่นเห็นว่าไม่ได้มีอิทธิพลอะไรในราชสำนัก และต่างยังเยาว์พระชันษา
 
เจ้าหญิงทั้งสามและเจ้าจอมมารดาทยาสิ่นประทับในพระราชวังหลวงอย่างสงบ ไร้ซึ่งบทบาทในราชสำนัก ภายใต้การปกครองของพระเจ้าธีบอและ[[พระนางศุภยาลัต]] พระมเหสีในพระเจ้าธีบอ ช่วงนี้พม่ากำลังเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ ราชอาณาจักรล่มสลายลงโดยพระเจ้าธีบอทรงครองราชย์ได้เพียง 7 ปีเท่านั้น พระองค์ทรงพ่ายแพ้ใน[[สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม]] กองทัพอังกฤษได้บุกเข้าพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อเรียกร้องให้พระเจ้าธีบอทรงยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขภายใน 24 ชั่วโมง<ref name="synge">{{cite book|last=Synge|first=M.B.|title=Growth of the British Empire|year=1911|chapter=Annexation of Burma|url=http://www.mainlesson.com/display.php?author=synge&book=growth&story=burma}}</ref> และบีบบังคับให้พระเจ้าธีบอสละราชบัลลังก์ พระองค์พร้อมพระราชินีศุภยาลัตและพระราชธิดาทรงถูกเนรเทศไปยังอินเดียในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428