ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉลียง (วงดนตรี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 40:
'''เฉลียง'''เกิดจากการรวมกันของกลุ่มนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย [[ประภาส ชลศรานนท์]] และ เจี๊ยบ - [[วัชระ ปานเอี่ยม]] ทำเพลงตัวอย่าง โดยให้ ดี้ - [[นิติพงษ์ ห่อนาค]] เป็นผู้ขับร้อง และนำไปขอให้ เต๋อ - [[เรวัต พุทธินันทน์]] อำนวยการผลิตให้
 
หลังจากเรวัตได้ฟังแล้ว พบว่าดี้ร้องเสียงเพี้ยนต่ำไม่เหมาะกับการเป็นนักร้องนำ จึงเสนอให้ เล็ก - [[สมชาย ศักดิกุล]] ที่ขณะนั้นเป็นนักดนตรีอาชีพอยู่มาเป็นนักร้องคู่กับเจี๊ยบ ในผลงานชุดแรก ในปี [[พ.ศ. 2525]] ที่แท้จริงไม่มีชื่อชุด แต่เนื่องจากหน้าปกที่ออกแบบโดยประภาสมีรูปฝน จึงถูกเรียกว่า''ชุดปรากฏการณ์ฝน'' ตามชื่อเพลงหนึ่งในชุดนั้น แต่หลังจากผลงานชุดแรกออกมากลับไม่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และเสียงตอบรับ มียอดขายไม่เกิน 40004,000-50005,000 ม้วน <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 65</ref> เฉลียงจึงไม่ได้ออกผลงานอีกเลยเป็นระยะเวลา 4 ปี
 
=== ยุคที่สอง ===
ในปี [[พ.ศ. 2529]] ประภาสมีผลงานเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ ละคร และโฆษณาอยู่ชุดหนึ่งที่เคยมี ซึ่งทำให้เกิดความคิดให้ที่จะดึงเกี๊ยง - [[เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์]] รุ่นน้องที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เคยร่วมร้องเพลงประกอบโฆษณาที่ประภาสแต่ง มาออกผลงานเป็นศิลปินเดี่ยว แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านผู้สนับสนุน จึงทำให้โครงการไม่เกิดขึ้น จนกระทั่ง [[ศุ บุญเลี้ยง]] หนึ่งในผู้ได้เป็นเจ้าของอัลบั้ม ''ปรากฏการณ์ฝน'' และมีความประทับใจในเพลงเที่ยวละไม จึงติดต่อกับประภาสเพื่อนำผลงานเพลงของตัวเองไปให้พิจารณา และประจวบกับเวลาที่เกี้ยงพร้อมที่จะออกผลงานพอดีจึงทำให้เกิดความคิดที่จะรวมตัวเป็นศิลปินคู่ในชื่อ ''ไปยาลใหญ่'' แต่ประภาสยังไม่พอใจในผลงานเห็นว่าบางเพลงยังไม่สามารถทำเป็นอัลบั้มเพื่อวางจำหน่ายได้ จึงเสนอให้สมาชิกวงเฉลียงยุคแรกมาสองคนคือเจี๊ยบและดี้กลับมาร่วมวงอีกครั้งกลายเป็นเฉลียงยุคที่สอง และโดยให้ดี้เป็นหัวหน้าวง แต่เนื่องจากในหลายบทเพลงเป็นแนวเพลง[[สวิงแจ๊ซ]] และมีเสียงของ[[แซกโซโฟน]] ประภาสจึงชักชวนให้กลัวว่าเฉลียงจะลำบากในเวลาขึ้นคอนเสิร์ต จึงไปชักชวนแต๋ง - [[ภูษิต ไล้ทอง]] นักดนตรีเครื่องเป่าที่เคยร่วมงานกันเมื่อครั้งยังเป็นนิสิตมาร่วมวงกลายเป็นวงเฉลียงในยุคที่สอง โดยและมีผลงานชุดแรกในยุคที่สองกับค่าย[[ครีเอเทีย]]ในช่วงเดือนมิถุนายน คือ ''อื่นๆ อีกมากมาย'' อำนวยการดนตรีโดย [[ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์]] และอัลบั้มชุดนี่ทำให้วงเฉลียงเป็นทที่รู้จักของผู้คนทันที เพราะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักฟังเพลงมีการออกแสดงคอนเสิร์ตและมิวสิกวีดีโอ
 
ต้นปี [[พ.ศ. 2530]] เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สามกับค่าย[[คีตา เรคคอร์ดส|คีตา แผ่นเสียงและเทป]] (ต่อมาคือ[[คีตา เรคคอร์ดส]]และ[[คีตา เอนเตอร์เทนเมนท์]]) ในชุด ''เอกเขนก'' มีเพลง ''[[เร่ขายฝัน]]'' ที่ถูกทำเป็นมิวสิกวีดีโอยาว 9 นาที และได้รับรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯ (B.A.D. Awards) ประจำปี พ.ศ. 2530 นอกจากผลงานบทเพลงแล้ว ชื่อเสียงของเฉลียงทำให้ได้เล่นโฆษณาของน้ำอัดลม[[เป๊ปซี่]] ที่เพลงประกอบโฆษณาที่ดัดแปลงจากเพลง ''รู้สึกสบายดี'' ได้รับรางวัลจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯเช่นเดียวกัน <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 141-143</ref>
บรรทัด 52:
หลังจบคอนเสิร์ต ''หัวบันไดไม่แห้ง'' ศุ ที่งานส่วนตัวเริ่มรัดตัวและดี้ที่ต้องกลับไปเป็นนักแต่งเพลงให้กับ แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ (ปัจจุบัน คือ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]]) ได้ตัดสินใจขอลาออกจากวง ประภาสจึงชักชวนให้นก - [[ฉัตรชัย ดุริยประณีต]] [[นักแต่งเพลง]]ที่เคยส่งเพลงมาให้เขาพิจารณาเข้ามาเพิ่มเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งกลายเป็นเฉลียงยุคที่สาม ที่มีสมาชิก 4 คน ในเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2532]] ผลงานชุดแรกในยุคที่สามคือ ''แบ-กบาล'' มิวสิกวีดีโอที่มีชื่อเสียงของชุดนี้คือ ''ใจเย็นน้องชาย'' ที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทมิวสิกวีดีโอดีเด่นของคณะกรรมการ[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ|โทรทัศน์ทองคำ]] <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 175</ref> เฉลียงมี ''คอนเสิร์ตปิดท้ายทอย'' ที่[[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]ในเดือน[[พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2532]]
 
ผลงานชุดสุดท้ายของเฉลียงออกใน [[พ.ศ. 2534]] คือ ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีบทเพลงที่ได้รับ[[สีสันอะวอร์ดส์|รางวัลสีสันอวอร์ด]]สาขาเพลงยอดเยี่ยมคือ ''โลกาโคม่า'' และเฉลียงยังได้รับรางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมจากรางวัลสีสันอวอร์ดอีกด้วย แต่เนื่องจากภาระและหน้าที่การงานส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนทำให้การทำการตลาดและการออกแสดงคอนเสิร์ตเป็นไปได้ยาก ทำให้เฉลียงยุติบทบาทลง <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 193</ref>
 
== ผลงาน ==