ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สะกดผิด
บรรทัด 4:
โดยตอนแรกจะมีแค่ตำแหน่งกองหน้า (forwards), ฮาล์ฟแบ็ก (half-backs) และทรีควอเตอร์แบ็ก (three-quarter-backs) ช่วงแรกที่มีชื่ออย่างนี้เพราะว่า สมัยนั้นเป็นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระบบ 2–3–5 เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง การป้องกันจะมีฟุลแบ็กที่รู้จักกันในชื่อกองหลังฝั่งซ้ายและกองหลังฝั่งขวา แดนกลางจะมีเลฟต์ฮาล์ฟ (left-half), เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ (centre-half) และไรต์ฮาล์ฟ (right-half) และในแนวบุกจะเป็นเอาต์ไซด์เลฟต์ (outside-left), อินไซด์เลฟต์ (inside-Left), กองหน้าตรงกลาง (centre-forward), อินไซด์ไรต์ (inside-right) และเอาต์ไซด์ไรต์ (outside-right) หลังจากนั้นรูปแบบระบบก็พัฒนาไปจนมีชื่อตำแหน่งมากมาย อย่างเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 คำว่า "ฮาล์ฟแบ็ก" ได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า "กองกลาง" กับตำแหน่งที่เล่นในแดนกลางทั้งกลางสนามและริมเส้น กองกลางตัวกลางได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกกลายเป็นกองกลางตัวบุกและกองกลางตัวรับ
 
ในเกมสมัยใหม่ ตำแหน่งในฟุตบอลได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดเหมือน[[รักบี้]]หรือ[[อเมริกันฟุตบอล]] ถึงอย่างนั้นนักเตะส่วนใหญ่มักเล่นในตำแหน่งเดิมตลอดการค้าแข้งของพวกเขา เพราะในแต่ล่ะตำแหน่งนั้นใช้ทักษะและความสามารถทางร่างกายไม่เหมือนกัน แจ่แต่ก็มีนักฟุตบอลบางพวกที่เล่นได้หลายตำแหน่ง ซึ่งถึงเรียกว่า "นักเตะสารพัดประโยชน์" (utility players)<ref>{{cite web|url=http://www.tnamcot.com/2015/01/28/%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9B-%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1/|title=นักเตะสารพัดประโยชน์|date=28 January 2015|accessdate=11 February 2015|publisher=[[สำนักข่าวไทย]]}}</ref>
 
ถึงกระนั้นก็ยังมีกลวิธีโททัลฟุตบอลที่วางตำแหน่งนักเตะอย่างหลวม ๆ ทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น[[โยฮัน ไกรฟฟ์]] ที่สามารถเล่นได้ทุกตำแหน่งยกเว้นผู้รักษาประตู