ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:D.Waraporn/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กระบะทรายผู้ใช้}} <!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทความใต้บรรทัด...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:30, 26 เมษายน 2560

ความเป็นมา

สังคมในอดีต มนุษย์มีการใช้ชีวิตและความเป็นอยู๋อย่างเรียบง่าย เพียงแค่มีสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ ฉะนั้นหน้าที่ของรัฐในอดีตจึงเน้นไปที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและปกป้องประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจและสังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่เป็นสังคมเมืองและอุตสาหกรรม จากที่อดีตมนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปจึงทำให้มนุษย์มีความต้องการสิ่งเป็นพื้นฐานมากขึ้นไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะที่การหารายได้เพื่อที่จะนำมาจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ต้องการก็ประสบปัญหา ทำให้เกิดความกดดันในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากคนรวยที่โอกาสหรือคามสามารถมากกว่าก็จะสามารถจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานของตนเองได้ ในขณะที่คนจนมีโอกาสหรือความสามารถน้อยกว่าก็จะไม่สามารถได้สิ่งที่จำเป็นพื้นฐานนั้น ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการหรือสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานแก่ทุกคน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม และเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสวัสดิการที่รัฐจัดให้นั้นจะครอบคลุมทุกสาขาของสวัสดิการสังคม ซึ่งหลายคนเรียกระบบนี้ว่า รัฐสวัสดิการ

นิยาม

เป็นระบบทางสังคมที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตของประชาชน ซึ่งรัฐจะมีหน้าที่ในการดูแลและบริหารจัดการให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความเป็นธรรมในสังคม พร้อมทั้งรัฐจะมีหลักประกันถึงความมั่นคงในเรื่องต่างๆ ให้แก่ประชาชน เช่น หลักประกันด้านการศึกษา หลักประกันด้านสุขภาพ หลักประกันด้านการว่างงาน หลักประกันด้านชราภาพ และหลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

บทบาท

  • รัฐต้องมีหลักประกันความเท่าเทียมกันในเรื่องของรายได้ขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็นของแต่ละบุคคล และครอบครัว อีกทั้งรัฐจะต้องสนับสนุนให้มีการกระจายผลผลิตจากการทำงาน
  • รัฐต้องจัดหาความมั่นคงทางสังคมให้แก่บุคคลในกรณีต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย การชราภาพ การว่างงาน เป็นต้น
  • รัฐต้องให้สิทธิแก่พลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ในการที่จะได้รับการบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอด้วยมาตรฐานที่ดี

รูปแบบ

  1. รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
  2. รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม
  3. รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษ์นิยม
  • รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

แบบสังคมนิยมประชาธิปไตยจะมีฐานมั่นคงอยู่ในประเทศแถบยุโรปเหนือ อย่าง สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก เป็นต้น รวมถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการสร้างแนวทางที่ประสานประโยชน์ร่วมกันโดยผ่านการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นอกจากนั้นจะเป็นรัฐสวัสดิการที่หยิบยื่นให้ทั้งความรู้สึกที่มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจต่อผู้ที่ต้องการความ ช่วยเหลือ รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานที่มั่นคงให้กับคนทั่ว ๆ ไปในสังคมด้วย

แบบเสรีนิยมนั้น จะค่อนข้างได้รับการยอมรับในแถบประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และนโยบายสวัสดิการที่ใช้ก็มักเป็นเพียงการสร้างความรู้สึกมั่นคงพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ในสังคม และจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ถูกพิจารณาและไตร่ตรองแล้วว่ามีความจำเป็นที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้น หน่วยราชการจะทุ่มเทความช่วยเหลือไปยังคนงานและคนระดับล่างในสังคม ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้คนชั้นกลางและคนชั้นสูงได้มีโอกาสตักตวงและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากตลาดแรงงาน

แบบอนุรักษ์นิยมนั้นจะมีอิทธิพลอยู่ในทวีปยุโรปตอนกลาง ที่โบสถ์และมูลนิธิการกุศลเข้ามาช่วยดูแลเรื่องรักษาพยาบาล และการประกันสังคมช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม แต่รูปแบบลักษณะนี้จะไม่ปฏิเสธการมีช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม ยึดมั่นต่อค่านิยมเก่าๆ ในครอบครัวที่ตกทอดกันมา รวมทั้งยอมรับอิทธิพลที่มีของศาสนจักร

ตัวอย่างการดำเนินงานรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ

มีหลายประเทศที่ได้มีการนำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ ส่วนใหญ่มักพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง ได้แก่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เป็นต้น และประเทศในแถบยุโรป เช่น เยอรมนี อังกฤษ เป็นต้น แต่ประเทศผู้กล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานรัฐสวัสดิการมากที่สุด จนมีหลายประเทศนำไปเป็นแบบจำลองของรัฐสวัสดิการ คือ ประเทศสวีเดน ประเทศสวีเดน เป็นประเทศที่ถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการมากที่สุด โดยสามารถบรรลุตามวัตถุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในเรื่องความเท่าเทียมและความมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การนำแบบจำลองรัฐสวัสดิการสวีเดนไปเป็นต้นแบบในแต่ละประเทศก็ยังมีข้อจำกัดที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประเทศสวีเดนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้รัฐสวัสดิการประสบผลสำเร็จ โดยผู้ริเริ่มระบบรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในประเทศสวีเดนคือ Alva Myrdal ซึ่งรัฐสวัสดิการนี้จะคุ้มครองตั้งแต่เกิดจนตาย ในช่วงทศวรรษ 1930 กล่าวว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้สวีเดนประสบความสำเร็จในการนำระบบรัฐสวัสดิการมาในประเทศ ได้แก่

  1. ประชากรในประเทศสวีเดนมีน้อยและมีความเหมือนกัน เนื่องจากสวีเดนไม่เคยอยู่ในยุคของระบบศักดินา และรัฐบาลก็จะถูกนำเสนอในลักษณะของการมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยม ดังนั้นประชากรจึงมีความเชื่อและศรัทธาให้ผู้อื่นและรัฐบาลในระดับสูง ประชาชนหรือชาวนาเจ้าของที่ดินจึงคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่หรืออำนาจของรัฐ และคิดว่ารัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน
  2. ข้าราชการมีประสิทธิภาพ และไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ( Corruption )
  3. ชาวโปรแตสแตนท์ในสวีเดน ยึดมั่นในจริยธรรมและการเผยแพร่จริยธรรมอย่างมาก ทำให้คนสวีเดนต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรม โดยต้องขยันทำงานหนักแม้ว่าภาษีเพิ่มขึ้น
  4. การทำงานของคนสวีเดนมีประสิทธิผลมาก เนื่องจากประชากรได้รับการศึกษาที่ดี และมีการส่งออกที่เข้มแข็ง

รัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดนเป็นรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรัฐสวัสดิการในระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั่วไป ซึ่งแพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐสวัสดิการประเทศสวีเดนจัดว่าเป็น “ทางสายกลาง” ระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ( Capitalist Economy ) และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( Socialist Economy ) ซึ่งผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ประเมินว่าเป็นวิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมในระดับสูงที่สุดในโลกโดยที่ไม่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกอึดอัด

ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดน

ระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดนพัฒนาอย่างช้า ๆ แต่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและฝังแน่นในระบบเศรษฐกิจประเทศสวีเดนตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 โดยมีพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) และสหภาพการค้า (Trade Union) เป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐสวัสดิการได้รับการคัดค้านจากกลุ่มธุรกิจ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มเสรีนิยมซึ่งไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ ในระยะแรก แต่ต่อมาฝ่ายคัดค้านก็ยอมรับระบบรัฐสวัสดิการ และหันกลับมาสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูประบบรัฐสวัสดิการในที่สุด
โดยจุดเริ่มต้นของการจัดรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดนเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1840 โดยสวีเดนได้ออก “กฎหมายขจัดความยากจน” (Poor Relief Laws) มาบังคับใช้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 รัฐบาลพรรคเสรีนิยมด้วยการสนับสนุนของประชาชนเริ่มขยายขอบข่ายของสิทธิประโยชน์ทางสังคม โดยออก “กฎหมายบำนาญแห่งชาติ” (National Pension Act) มาบังคับใช้เพื่อจัดความมั่นคงทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ. 1918 รัฐบาลผสมระหว่างพรรคเสรีนิยมและพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยได้ออกกฎหมายความยากจนใหม่ (New Poor Law) เพื่อช่วยเหลือคนที่มีความจำเป็นผ่านรัฐบาลท้องถิ่นในขณะที่รัฐบาลกลางเป็นฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานเท่านั้น กฎหมายดังกล่าวยังคงมีผลต่อระบบความช่วยเหลือทางสังคมหรือระบบสังเคราะห์ (Social Assistance) ในประเทศสวีเดน ต่อมาอีก 40 ปี
ประเทศสวีเดนเริ่มเข้าสู่การเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1932 หลังจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเริ่มเรืองอำนาจ และเข้ามาบริหารประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 65 ปี ในช่วงระยะเวลา 74 ปี ที่ผ่านมา พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคของคนชั้นกลางได้สร้างระบบความมั่นคงทางสังคมที่ให้สิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุม ได้แก่ บำนาญชราภาพ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สิทธิประโยชน์สำหรับเด็กกำพร้า สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ให้แก่คนงานที่ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูง ซึ่งสิทธิประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นสัดส่วนกับจำนวนเงินที่จ่าย ดังนั้นจึงทำให้คนชั้นกลางที่มีฐานะให้ความสนใจสนับสนุนระบบความมั่นคงทางสังคมดังกล่าว
ระบบรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดน ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องระหว่างทศวรรษที่ 1950-1960 ในช่วงเวลานั้น ประเทศสวีเดนเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกด้วยอัตรา การว่างงานเป็นศูนย์ และรัฐสวัสดิการได้ถึงจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในทศวรรษที่ 1970 ให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างถ้วนหน้า ตั้งแต่การดูแลเด็กไปจนกระทั่งการให้บำนาญสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งตามสถิติของ OECD ในปี ค.ศ. 1970 สวีเดนเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
ในช่วงทศวรรษที่ 1990 แบบจำลองรัฐสวัสดิการของสวีเดนเริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุตสาหกรรมหนักเป็นผลให้การระดมทุนทางสังคมลดลง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ทำให้สวีเดนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมในหลายๆ ปีต่อมา
ในปี ค.ศ. 2006 ประเทศสวีเดนมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งประเทศสวีเดนยังคงแยกเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายและกลุ่มฝ่ายขวา อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นรัฐบาลผสมโดยมีพรรคฝ่ายขวาเป็นเสียงข้างมาก แนวโน้มของรัฐบาลก็ยังคงรักษาพื้นฐานของรัฐสวัสดิการด้วยการปรับปรุงบางอย่างเพื่อจะทำให้ลดการว่างงาน และทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองสำคัญพรรคใดในสวีเดนที่มีนโยบายที่จะค่อย ๆ ยกเลิกรัฐสวัสดิการ เนื่องจากจะทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงทั้งกลุ่ม ที่สนับสนุนพรรคที่นิยมฝ่ายซ้ายและพรรคที่นิยมฝ่ายขวา
ปัจจุบันประเทศสวีเดนมี GDP ต่อหัวต่ำกว่าประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน