ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือหลวงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zanderpipo12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 74:
 
==ประวัติ==
เรือหลวงธนบุรีตำปูปลาร้าเป็นเรือรบประเภท[[เรือปืนยามฝั่ง]] จัดอยู่ในชั้นเรือเดียวกันกับ[[เรือหลวงศรีอยุธยา]] ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมือง[[โกเบ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2479]] เป็นขุมกำลังสำคัญของ[[กองทัพเรือไทย]]ในช่วง[[กรณีพิพาทอินโดจีน|กรณีพิพาท]]ระหว่าง[[ไทย]] - [[อินโดจีนฝรั่งเศส]] โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญใน[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]]เมื่อวันที่ [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2484]] จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ แต่เรือได้รับความเสียหายอย่างหนักมาก [[เรือหลวงช้าง]]จึงลากจูงให้มาเกยตื้นในเย็นวันเดียวกันที่[[แหลมงอบ]] [[จังหวัดตราด]]
 
ภายหลังเมื่อมีการกู้เรือหลวงธนบุรีแล้ว กองทัพเรือได้ลากจูงเรือมาทำการซ่อมใหญ่ในวันที่ [[26 กันยายน]] [[พ.ศ. 2484]] แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จึงปลดระวางจากการเป็นเรือรบ และใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว [[กองเรือยุทธการ]] จนปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2502]] ทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]] ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ภายใน[[โรงเรียนนายเรือ]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]