ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงตะกอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''เจ้าหญิงตะกอง''' (Princess of Tagaung; พ.ศ. 2387 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2409) ทรงมีพระนามเดิม...
 
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ในปีพ.ศ. 2407 ขณะที่เจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระอนุชาต่างมารดา คือ [[เจ้าชายสากู]] (ประสูติ พ.ศ. 2389) ซึ่งมีพระชนมายุ 18 พรรษา เป็นพระโอรสที่ประสูติแต่พระนางตองซองดอ หนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้ามินดง ทั้งสองพระองค์ไม่ทรงมีพระโอรสธิดาร่วมกัน เจ้าชายสากูทรงมีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ กับพระสนมฉิ่น เลย์
 
เจ้าหญิงตะกองและเจ้าชายสากู พระสวามีถูกปลงพระชนม์ที่[[มัณฑะเลย์]]ในเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง คือ ความพยายามก่อรัฐประหารวังหลวงในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2409 ซึ่งผู้ก่อการคือ[[เจ้าชายมยินกุ่น]]และ[[เจ้าชายมยินกุนเดง]]<ref>Htin Aung, "The Stricken Peacock: Anglo-Burmese Relations 1752–1948", Martinus Nijhoff, The Hague; published 1965; ISBN 978-940-15-1045-5</ref>พระโอรสของพระเจ้ามินดงที่ประสูติแต่พระสนมเอกตองชเวเยที่ 1 ทั้งสองพระองค์มีศักดิ์เป็นพระเชษฐาและพระอนุชาต่างมารดาของเจ้าหญิงตะกอง การก่อกบฎของเจ้าชายทั้งสองพระองค์เกิดจากความไม่พอใจที่พระเจ้ามินดง ผู้เป็นพระราชบิดา ทรงแต่งตั้ง[[เจ้าชายคะนอง]] พระอนุชาขึ้นเป็นองค์รัชทายาท เจ้าชายมยินกุ่นทรงคาดหวังที่จะได้รับตำแหน่งนี้ เจ้าชายทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการสนุับสนุนจากอังกฤษ ซึ่งไม่พอใจแนวทางการปฏิรูปราชอาณาจักรและกองทัพให้ทันสมัยของเจ้าชายคะนอง เจ้าชายคะนองถูกปลงพระชนม์ขณะประชุมในสภาลุดต่อ จากนั้นกองกำลังของเจ้าชายทั้งสองได้บุกพระราชวังหลวงเพื่อปลงพระชนม์พระเจ้ามินดง แต่ทรงหลบหนีออกไปได้ กองทัพกบฏได้ทำการสังหารบรรดาราชนิกุลที่ต่อต้าน ซึ่งเจ้าหญิงตะกองและเจ้าชายสากูก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
พระโอรสของพระเจ้ามินดงที่ประสูติแต่พระสนมเอกตองชเวเยที่ 1 ทั้งสองพระองค์มีศักดิ์เป็นพระเชษฐาและพระอนุชาต่างมารดาของเจ้าหญิงตะกอง การก่อกบฎของเจ้าชายทั้งสองพระองค์เกิดจากความไม่พอใจที่พระเจ้ามินดง ผู้เป็นพระราชบิดา ทรงแต่งตั้ง[[เจ้าชายคะนอง]] พระอนุชาขึ้นเป็นองค์รัชทายาท เจ้าชายมยินกุ่นทรงคาดหวังที่จะได้รับตำแหน่งนี้ เจ้าชายทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการสนุับสนุนจากอังกฤษ ซึ่งไม่พอใจแนวทางการปฏิรูปราชอาณาจักรและกองทัพให้ทันสมัยของเจ้าชายคะนอง เจ้าชายคะนองถูกปลงพระชนม์ขณะประชุมในสภาลุดต่อ จากนั้นกองกำลังของเจ้าชายทั้งสองได้บุกพระราชวังหลวงเพื่อปลงพระชนม์พระเจ้ามินดง แต่ทรงหลบหนีออกไปได้ กองทัพกบฏได้ทำการสังหารบรรดาราชนิกุลที่ต่อต้าน ซึ่งเจ้าหญิงตะกองและเจ้าชายสากูก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
 
เจ้าหญิงตะกองถูกปลงพระชนม์ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2409 จากเหตุการณ์กบฎเจ้าชายมยินกุ่นและเจ้าชายมยินกุนเดง สิริพระชนมายุ 22 พรรษา