ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
|}}
{{ใช้ปีคศ}}
'''จักรพรรดินโปเลียนที่ 1''' หรือ '''นโปเลียน โบนาปาร์ต''' ({{lang-fr|Napoléon Bonaparte}}; [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2312]] - [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2364]]) เป็นนายพลในช่วง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี [[พ.ศ. 2342]] (ค.ศ. 1799) และได้กลายเป็น[[จักรพรรดิ]] ของชาวแห่งฝรั่งเศสระหว่างปี [[พ.ศ. 2347]] (ค.ศ. 1804) ถึง [[พ.ศ. 2357]] (ค.ศ. 1814) ภายใต้พระนามว่า '''จักรพรรดินโปเลียนที่ 1''' ผู้ได้ทรงมีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของ[[ทวีปยุโรป]] และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพและพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ในราชรัฐและอาณาจักรในยุโรปหลายแห่งด้วยกัน เช่น [[ราชอาณาจักรสเปน]], [[ราชอาณาจักรเนเปิลส์]], [[ราชอาณาจักรอิตาลี]], [[ราชอาณาจักรฮอลแลนด์]] (เนเธอร์แลนด์), [[ราชอาณาจักรสวีเดน]]
 
== วัยเด็กเยาว์และการเข้ารับราชการทหาร ==
นโปเลียนเกิดที่เมือง[[อาฌักซีโย]]หรืออายัชโช ในภาษาอิตาลี บน[[เกาะคอร์ซิกา]] เมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2312]] (ค.ศ. 1769) ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ซื้อเกาะนี้ไปจาก [[สาธารณรัฐเจนัว]] [[พ.ศ. 2311]] (ค.ศ. 1768) <ref>McLynn 1998, p.6</ref> ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า บิดาของเขาชื่อ[[ชาร์ลส์ มาเรีย โบนาปาร์ต]]หรือ คาร์โล มาเรีย บัวนาปาร์เต (สำเนียงอิตาลี) ได้จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ<ref>McLynn 1998, p.2</ref><ref>Cronin 1994, p.20–21</ref>
 
ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง<ref>Cronin 1994, p.27</ref><ref name="rxvi">Roberts 2001, p.xvi</ref>ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแอนน์ และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์ ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี [[พ.ศ. 2330]] ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว ''โรแมนติก'' ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี พ.ศ. 2332 นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง<ref>Asprey 2000, p.13</ref>
 
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี [[พ.ศ. 2332]] ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่[[ปารีส|กรุงปารีส]] โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา<ref>McLynn 1998, p.55</ref> ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่างๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนการนับถือราชวงศ์แบบอังกฤษระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี [[พ.ศ. 2335]] โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
 
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลอง (Toulon) ในปี [[พ.ศ. 2336]] (ค.ศ. 1793) ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]ปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌาโกแบงทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้นๆ ภายหลังการล่มสลายสิ้นอำนาจของ[[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์|รอแบ็สปีแยร์]] ในวันที่ [[27 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2337]]
 
หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บาร์ราส์ ได้อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้าน[[สมัชชาแห่งชาติ]] ในปี [[พ.ศ. 2338]] (ค.ศ. 1795) ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อ[[โจอาคิม มูราท์]] เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์