ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัณฑิต เอื้ออาภรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 788 มีมติเห็นชอบให้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์) เพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนต่อไป โดยมีวาระ 18 พฤษภาคม 2559 - 17 พฤษภาคม 2563 แทน ศ.นพ.[[ภิรมย์ กมลรัตนกุล]] ที่หมดวาระ<ref>สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 788. 28 มกราคม 2559. http://www.council.chula.ac.th/images/agenda/2559/788.pdf (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref><ref>สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย. 28 มกราคม 2559. http://www.council.chula.ac.th/images/file/minutes/short/สรป_788.pdf (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
 
ศ.ดร.บัณฑิต ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีในช่วงเวลาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอายุ 100 ปี หรือในปี [[พ.ศ. 2560]] ทำให้ในวาระการดำรงตำแหน่งของเขามีโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทยอยเปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น โครงการก่อสร้างอุทยานจุฬาฯ 100 ปีและถนนจุฬาฯ 100 ปี งานนิทรรศทางวิชาการขนาดใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เรียกว่า "[[จุฬาฯวิชาการ|จุฬาฯ Expo 2017]]" และอื่น ๆ<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . “จุฬาฯ Expo 2017 จุฬาฯ ๑๐๐ ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม .” ''เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.'' 24 กุมภาพันธ์ 2560. http://www.chula.ac.th/th/archive/57084 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).</ref>
 
== แนวคิดนวัตกรรม ==
นวัตกรรม(Innovation) เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ ศ.ดร.บัณฑิต ดำรงตำแหน่ง[[คณบดี]] [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เขาริเริ่ม "กองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ" เพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในคณะวิศวกรรมศาสตร์<ref>คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “ขอเชิญร่วมบริจาค กองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ (Innovation Endowment Fund).” ''เว็บไซต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.'' 3 ตุลาคม 2557. http://www.eng.chula.ac.th/node/1874 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).</ref> หลังจากได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี เขาได้ให้สัมภาษณ์กับ[[สุทธิชัย หยุ่น]] ว่า "[[นวัตกรรม]]ต่างจาก[[สิ่งประดิษฐ์]]ตรงที่สิ่งประดิษฐ์ ประดิษฐ์ตามใจฉัน คนใช้ไม่ใช้ช่างมัน แต่นวัตกรรมทำออกมาแล้วต้องมีคนใช้ และที่สำคัญใช้แล้วต้องสบายขึ้น"<ref>''คม-ชัด-ลึก เปิดใจ 'อธิการบดีจุฬาฯ' คนใหม่.'' โดย รายการ คม-ชัด-ลึก ยูทิวบ์ชาแนล.https://www.youtube.com/watch?v=U_sRLfXW4RI . 2559.</ref> แสดงให้เห็นถึงความสนใจในนวัตกรรม และมุ่งให้การผลิตนวัตกรรมเป็นเป้าหมายหลักของจุฬาฯ เพื่อใช้พัฒนาสังคม จนนำมาสู่แนวคิดหลักของงานนิทรรศการใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี [[พ.ศ. 2560]] คืองาน[[จุฬาฯวิชาการ]] ครั้งที่ 15 หรือ '''"จุฬาฯ Expo 2017"''' ที่ว่า "จุฬาฯ 100 ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม"<ref>ไทยรัฐออนไลน์. “จุฬาฯ Expo 2017 โชว์นวัตกรรม "คิดทำเพื่อสังคม".” ''เว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์.'' 12 มีนาคม 2560. http://www.thairath.co.th/content/881395 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).</ref> รวมถึงโครงการอื่น ๆ ในวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีของเขา ที่นำคำว่านวัตกรรมไปเป็นจุดเด่น<ref>"จุฬาฯร่วมฟู้ดอินโนโพลิสเฟสสอง : eureka." จุฬาฯร่วมฟู้ดอินโนโพลิสเฟสสอง : eureka. Accessed March 21, 2017. http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634627.</ref><ref>"จุฬาฯประกาศเป็นInnovation hub." Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด. May 26, 2016. Accessed March 21, 2017. http://www.thaipost.net/?q=จุฬาฯประกาศเป็นinnovation-hub.</ref>
 
== ประวัติการศึกษา ==