ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวาลวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[มโนทัศน์]]เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย [[อียิปต์โบราณ|ชาวอียิปต์โบราณ]]เชื่อว่าเอกภพประกอบด้วย[[โลก]] คือ เทพเจ้าชื่อ[[เก็บ]] ซึ่งถูกโอบล้อมด้วย[[ท้องฟ้า]]คือ [[นัท]] ต่อมาเมื่อ[[กรีกโบราณ|ชาวกรีกโบราณ]]ศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของ[[ดาว|ดวงดาว]]มากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมี[[ดวงจันทร์]] [[ดวงอาทิตย์]] รวมทั้ง[[ดาวฤกษ์]]และ[[ดาวเคราะห์]]ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม [[แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลาง]]นี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่[[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส|โคเปอร์นิคัส]]จะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้[[แบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง|ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]] ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า ([[หลักการของออคแคม]]) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป
 
การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] เพราะในศตวรรษนี้มี[[ทฤษฎี]]ใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น [[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] และ[[ควอนตัมฟิสิกส์]] รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่า[[การขยายตัวของเอกภพ|เอกภพกำลังขยายตัว]] หรือการค้นพบ[[การแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง]] เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.
 
== อ้างอิง ==