ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 25:
== บรรพชาและอุปสมบท ==
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พ.ศ. ๒๔๗๒ บิดามารดาและญาติพี่น้องนำตัวไปบวชเป็นสามเณรมหานิกาย ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านนั้นพร้อมกับเพื่อนรุ่นพี่ชื่อชัย มีเจ้าอาวาสวัดนั้นชื่อยาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยที่ไม่ได้เตรียมตัว ทุกอย่างต้องบอกให้ว่าตามทั้งนั้น ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่วัดนั้นเป็นเวลา ๑ ปี เรียนหนังสือธรรมบ้าง ต่อสวดมนต์เวลาค่ำบ้าง นอกจากนั้น ก็รดน้ำต้นหมาก ต้นมะพร้าว เป็นต้น ไม่เห็นทางที่จะก้าวหน้า แม้ในปีนั้นจะมีการเปิดสอนนักธรรมตรีที่วัดนั้น และที่บ้านใกล้เคียงก็มีสำนักเรียนมูลกัจจายน์ แต่ก็ยังไม่ศรัทธา ไม่มีอุตสาหะ หลังจากออกพรรษาแล้ว ออกเดินธุดงค์ติดตามพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปยังอำเภอบางอำเภอ ในเขตจังหวัด ได้บรรพชาเมื่อ พ.ศ. 2472 ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โดยมีญาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์ และ ต่อมาได้ออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ผ่าน จังหวัด ร้อยเอ็ด สารคาม ขอนแก่น ได้บรรพชาญัติเป็นสามเณรธรรมยุต โดยมี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตญาคโม ณ.ป่าช้าเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรม) จ.ขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์
 
พ.ศ. ๒๔๗๓ เดินธุดงค์กรรมฐานพร้อมกับคณะโดยผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ไปยังจังหวัดขอนแก่น จำพรรษาที่วัดป่าช้าเหล่างา ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดป่าวิเวกธรรม ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ญัตติเป็นสามเณรธรรมยุตที่นี่ โดยมีอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระอุปัชฌาย์แทนพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) ออกพรรษาแล้วเดินธุดงค์กรรมฐานไปยังจังหวัดชัยภูมิ กับอาจารย์กรรมฐานผู้เป็นหัวหน้าคณะชื่อท่านอุ่นเนื้อ
 
พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาเป็นปีที่เริ่มสร้างวัดนั้น ซึ่งหลวงชาญนิคม ผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ได้นิมนต์ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จากจังหวัดขอนแก่นมาเป็นเจ้าอาวาส และอบรมสั่งสอนประชาชนชาวนครราชสีมาที่นี่ ท่านจึงนิมนต์พระกรรมฐานที่เป็นศิษยานุศิษย์ ให้มาจำพรรษารวมกันที่วัดนั้น จึงติดตามอาจารย์อุ่นเนื้อ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นด้วย
 
พ.ศ. ๒๔๗๕ ออกพรรษาแล้วเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านบ่อชะเนง จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) จากนั้นตั้งใจจะออกธุดงค์กรรมฐาน ติดตามอาจารย์และเพื่อนสามเณรที่แยกย้ายกันไปหลังจากจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันแล้ว พอดีได้ทราบข่าวว่าเพื่อนสามเณร ๒ รูป ที่เข้าป่าออกกรรมฐานล่วงหน้าไปก่อนมรณภาพเพราะไข้ป่า จึงเกิดความคิดว่าเรายังเด็กเกินไปที่จะเข้าป่า ในวัยนี้ควรจะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมดีกว่า จึงตัดสินใจเดินทางไปยังจังหวัดนครพนม เพื่อแสวงหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เริ่มเรียนปริยัติธรรมที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี
 
พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้พบกับ ท่านเจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ขณะท่านเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่จังหวัดระยอง ท่านอาจารย์เกิ่ง ได้กล่าวฝากสามเณรกับท่านเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ท่านก็เมตตารับ เมื่อฝากเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์เกิ่ง ก็ส่งข่าวไปบอกว่าได้ฝากให้อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ให้เดินทางลงมาได้เลย โดยกำชับให้พระช่วยอธิบาย เส้นทางการเดินทางและซักซ้อมจนเข้าใจดี จึงพร้อมกับเพื่อนชื่อ สามเณรทองทิพย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไพบูลย์ ภายหลังได้กลับไปอยู่สกลนคร สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระเทพสุเมธี เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) มรณภาพแล้ว) ออกเดินทางจากนครพนม ไปพักที่สกลนคร และเดินทางไปขึ้นรถไฟที่อุดรธานี ในสมัยนั้นรถไฟไม่ได้แล่นรวดเดียวถึงกรุงเทพฯ ต้องแวะพักที่ขอนแก่น และนครราชสีมา เมื่อลงรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพงแล้ว ก็เข้าไปถามตำรวจว่าวัดสัมพันธวงศ์ไปทางไหน เมื่อทราบแล้วก็เดินเท้ามาและแวะถามมาเรื่อย ๆ จนถึงกำแพงวัดก็จวนพลบค่ำ เมื่อเข้ามาในวัดทราบว่าท่านเจ้าอาวาสไม่อยู่ไปประชุม วันนั้นกว่าท่านจะกลับก็ประมาณสี่ทุ่ม พระจึงจัดให้พักที่กุฎีสนประสาท เช้าวันรุ่งขึ้นหลังฉันเช้าแล้ว ก็ไปกราบท่านเจ้าอาวาส เขียนใบรับรอง ท่านก็เมตตาให้ไปอยู่ที่กุฎีนิตยเกษม โดยอยู่ในความกำกับดูแลของท่านเจ้าคุณ พระเนกขัมมมุนี (เฉย ยโส) (ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพปัญญามุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์) จากนั้นก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ตามที่ได้ตั้งใจไว้
 
แม้จะเข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในกรุงเทพมหานครแล้ว และต่อมาสอบได้ ป.ธ.๙ อันเป็นการศึกษาสูงสุดของการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ และตำแหน่งอื่นๆ ช่วยงานคณะสงฆ์ธรรมยุต อาทิเช่น เป็นผู้ช่วยหัวหน้าพระธรรมธรคณะธรรมยุต เป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ - ๑๐ (ธรรมยุต) เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต) เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ - ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต) เป็นเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต) เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธ) และกรรมการมหาเถรสมาคม
 
แต่ด้วยวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในระหว่างออกธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อเป็นสามเณร ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังถือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและวัตรปฏิบัติแบบพระกรรมฐานไม่เปลี่ยนแปลง.
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ขณะอายุ 20 ปี ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ [[8 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2480]] โดยมี[[พระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก)]] ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดเส็ง ทินฺนวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมมุนี)