ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 125.26.2.186 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
→‎ขึ้นครองราชสมบัติ: แก้พระนามเต็มในพระสุพรรณบัตรส่วนที่ตกหล่น
บรรทัด 81:
ขณะที่[[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี]] มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์เดียว ([[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] ในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรและเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จ ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] ทรงแจ้งข่าวสวรรคตต่อที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีและองคมนตรีผู้ใหญ่แล้ว [[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)]] เสนาบดีกระทรวงวังในขณะนั้น ได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอ่านในที่ประชุม เสร็จแล้วผู้เข้าประชุมได้พร้อมกันถวายอาเศียรวาทแต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งรับเป็น''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'' สำเร็จราชการแผ่นดินสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/2703.PDF ข่าวพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต], เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ง, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๗๐๔</ref> ทั้งที่ไม่ได้ทรงเต็มพระทัยที่จะทรงรับราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่าพระองค์ไม่แก่ราชการเพียงพอและเจ้านายที่มีอาวุโสพอจะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี<ref>พระยาประกาศอักษรกิจ (เสงี่ยม รามนันทน์), หน้า ช</ref>
 
เมื่อวันที่ [[25 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระบรมราชาภิเษกโดยมีพระนามอย่างย่อว่า '''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' และพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า<ref name="ราชาภิเษก">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/A/E/0.PDF พระราชพิธี บรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช ๒๔๖๘], เล่ม ๔๒, ตอนพิเศษ ๐ ก, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๕๔-๑๕๕</ref>
 
"''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชยปรียมหาราชรวิวงศ์วงศ อสัมภินพงศพีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี สeสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐมหามกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธพิธอุต์กฤษฎนิบุญ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหารยฤษฎาภินิร์หาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์นุรักษ มงคลลคนเนมาหวัยลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาเดชนาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศลยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภกวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมตเชษฐโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณ มหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ภิเษกาภิษิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรศวรยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวชันยาศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดีทธาทิไตรรัตนศรณารักษ วิศิษฎศักตอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''"
 
ในการนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรชายา ขึ้นเป็น [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]]<ref name="ราชาภิเษก"/><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/A/355.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี], เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๓๕๕ </ref> ซึ่งนับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<ref>พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หน้า 15</ref>