ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนันตริยกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 26:
==บาปที่หกแห่งอนันตริยกรรม==
นอกจากบาปแห่งอนันตริยกรรมมีอยู่ห้าข้อแล้ว ยังมีอีกบาปหนึ่งซึ่งได้ถูกจัดเป็นอนันตริยกรรมนั้นก็คือ การทำแท้ง เพราะเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดานั้นมีความบริสุทธิ์ มิเคยสร้างบาปกรรมใดๆเลยและไม่มีเหตุปัจจัยของการสร้างกรรม ดังนั้นผู้ที่ทำแท้งจะต้องได้รับผลกรรมก็คือ เป็นโรคร้าย อายุสั้น ครั้นหลังจบชีวิตลงแล้วก็ต้องไปรับโทษในนรกเป็นเวลายาวนานอันมิอาจประมาณได้ มิหนำซ้ำยังต้องถูกวิญญาณเด็กที่ถูกทำแท้งต้องกลายเป็นเจ้ากรรมนายเวรต้องคอยตามล่าผู้ที่ทำแท้งไปทุกชาติจนกว่าแรงกรรมนั้นจะได้ชำระ แต่ก็ยังไม่สิ้นสุดตราบที่วิญญาณนั้นยังไม่อโหสิกรรมให้
 
== บาปที่หนักที่สุด ==
พระพุทธเจ้าทรงแสดง กรรมหนัก คือ บาปที่ร้ายแรง มีโทษมากกว่า การทำอนันตริยกรรมไว้ คือ ความเห็นผิด เมื่อมีความเห็นผิดย่อมเป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมอื่นๆตามมามากมายและล่วงศีลได้ เมื่อเห็นผิด  ย่อมคิดผิด ย่อมมีวาจาผิด (พูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ) ย่อมมีการงานผิด  ประพฤติทางกายผิด (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม) ย่อมเลี้ยงชีพผิด ย่อมเพียรผิด ย่อมระลึกผิด  ย่อมตั้งมั่นผิด ย่อมรู้ผิด เป็นต้น เช่น บุคคลที่เห็นว่าตายแล้วไม่เกิด    ก็ย่อมล่วงศีลได้เพราะเห็นว่าทำบาปไปก็ไม่เป็นไร    จบแค่ชาตินี้ความเห็นผิดนั้นมีโทษมาก  ไม่เพียงแค่ล่วงศีล เท่านั้น   หากเป็นความเห็นผิด  ที่ดิ่งร้ายแรงก็ห้ามสวรรค์ นิพพาน  และไม่สามารถออกจากสังสารวัฏได้เลย   จึงมีโทษมาก มากกว่า   การทำอนันตริยกรรม  เพราะอนันตริยกรรม  ยังมีระยะเวลากำหนด ในการรับผลของกรรม  แต่ความเห็นผิด  กำหนดไม่ได้เพราะไม่สามารถออกไปจาสังสารวัฎฎ์ได้เลย ดังข้อความในพระไตรปิฎก
 
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
 
[๑๙๓]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่งซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
 
== อ้างอิง ==