ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
ในปี ค.ศ. 1862 [[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1890 (มีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1873) บิสมาร์คเป็นผู้ริเริ่มสงครามขั้นแตกหักแต่กินระยะเวลาสั้น ๆ สามครั้งกับ[[สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง|เดนมาร์ก]] [[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย|ออสเตรีย]] และ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย|ฝรั่งเศส]] ที่ช่วยให้บรรดารัฐเยอรมันขนาดเล็กกว่ามาเข้าร่วมกับปรัสเซียเมื่อครั้งฝรั่งเศสแพ้สงคราม ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 บิสมาร์คได้สถาปนาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นและแต่งตั้งตนเองเป็น[[นายกรัฐมนตรีเยอรมนี|นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี]] ในขณะเดียวกันก็ยังคงอำนาจควบคุมในปรัสเซียไว้ด้วยเช่นเดิม ทั้งนี้นโยบายการเมืองแบบ ''เรอัลโพลีทิค'' ({{lang-de|realpolitik}}; การเมืองเชิงปฏิบัติ) ของเขาประกอบกับอำนาจอันมากมายในปรัสเซีย ส่งผลให้บิสมาร์คได้รับสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีเหล็ก" ส่วนภารกิจด้านการต่างประเทศ [[การสร้างเอกภาพเยอรมนี|การรวมชาติเยอรมัน]]และการเติบโตทางเศรษฐกิจอันรวดเร็วคือพื้นฐานที่ใช้เป็นนโยบายด้านการต่างประเทศของเขา บิสมาร์คไม่นิยมชมชอบลักธิ[[จักรวรรดินิยม]] แต่ก็ยังจัดตั้ง[[จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน|จักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเล]]โดยไม่เต็มใจเนื่องจากถูกเรียกร้องจากทั้งฝ่ายชนชั้นสูงและสาธารณชนทั่วไป นอกจากนี้บิสมาร์คยังเล่นกลด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้ง ทั้งยังใช้ทักษะด้านการทูตในการดำรงสถานะของเยอรมนีและเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ
 
ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศบ้านเกิด เขาคือบุคคลที่ก่อตั้งริเริ่ม[[รัฐสวัสดิการ]]ขึ้นเป็นชาติครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงมวลชนจากชนชั้นแรงงานให้มาเข้าร่วมกับฝ่ายของเขา มิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับฝ่ายสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้<ref>Steinberg, 2011, pp.8, 424, 444; Bismarck specifically referred to Socialists, among others, as "Enemies of the Reich".</ref> ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฝ่ายเสรีนิยม (ผู้ชื่นชอบอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านศาสนจักรคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า ''คุลทูร์คัมพฟ์'' ({{lang-de|Kulturkampf}}; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party; Zentrum) อันทรงพลังและใช้สิทธิในการออกเสียงทั่วไปของเพศชายมาจัดตั้งเป็นฐานคะแนนเสียงสำหรับที่นั่งในสภา ฯ ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำท่าทีของตนเอง, ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์, ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม, ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่าย[[สังคมนิยม]] นอกจากนี้บิสมาร์คยังเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาใน[[ลูเทอแรน|นิกายลูเทอแรน]]อย่างมาก ทั้งยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ในท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นรัฐสภา ''ไรชส์ทาค'' มีฐานะเป็นรัฐสภาแห่งเยอรมนีและมีสมาชิกรัฐสภาได้รับเลือกจากสาธารณชนเพศชายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง รัฐสภานี้ไม่มีอำนาจในการควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก ดังนั้นบิสมาร์คผู้ไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบเจ้าขุนมูลนายที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี อันประกอบไปด้วยขุนนางศักดินา ''ยุนเคอร์'' ที่สืบทอดกันมาแต่สมัยก่อนผู้เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก ในรัชกาลของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการภายในและกิจการการต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่ออายุ 75 ปี โดย[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] ในปี ค.ศ. 1890
 
บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ''ยุนเคอร์'' มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงขลาดกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism)<ref>{{cite book| authorlink=Isabel V. Hull| last=Hull| first=Isabel V.| title=The Entourage of Kaiser Wilhelm II, 1888–1918| url=https://books.google.com/books?id=pesmqV6vskkC&printsec=frontcover#v=onepage&q&f=false| year=2004| page=85| isbn=9780521533218}}</ref> สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง ''จักรวรรดิไรซ์'' ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของเขา