ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boxer323 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ใขปีพุทธศักราช
บรรทัด 4:
 
==ประวัติ==
อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณความดีและวีรกรรมของผู้กล้าหาญอันประกอบด้วยตำรวจ ยุวชนทหารที่ 52 โรงเรียนศรียาภัย และกองพันทหารที่ 38 ที่ได้รวมกำลังกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นที่ยกพลทางเรือมาขึ้นบกที่กลางอ่าวบ้านคอสน จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2488]] เพื่อเดินทางผ่านไทยเข้าตีพม่าและมาลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ซึ่งบริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์นั้น เป็นบริเวณที่ได้มีการต่อสู้ปะทะกับข้าศึกนั่นเอง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ญี่ปุ่นทำ[[สนธิสัญญาไตรภาคี]]กับอิตาลีและเยอรมันซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เพื่อเริ่มการรบครั้งใหม่ หลังจากโจมตีอ่าวเพิลอาร์เบอร์ของอเมริกาจนแหลกราญเมื่อวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2485|พ.ศ. 2484]] ญี่ปุ่นก็ส่งกำลังกองทัพขนาดมหึมาเข้าตีพม่า และมลายู โดยเดินทัพผ่านประเทศไทย รัฐบาล[[จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]] ในขณะนั้นได้ขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ แต่ได้รับการปฏิเสธ
อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร
 
วันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2485|พ.ศ. 2484]] กองทัพเรือญี่ปุ่นจำนวนมากได้ยกพลขึ้นฝั่งที่[[บางปู]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]โดยไม่มีการต่อสู้ผ่านมาถึง[[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] และล่องลงใต้ต่อไปปะทะกับกองกำลังตำรวจที่สุราษฎร์ธานี และยึดเมืองได้แล้วยกพลขึ้นบกได้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ซึ่งมีการสูญเสียชีวิตและกำลังทั้งสองฝ่ายญี่ปุ่นและไทยจากการสู้รบกัน ส่วนที่จังหวัดชุมพร กองกำลังทหารญี่ปุ่นส่งเรือระบายพลขึ้นที่กลางอ่าวบ้านคอสน เมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2488]] เวลา 2 นาฬิกา แต่เนื่องจากบริเวณหน้าบ้านคอสน นั้นมีเลนลึกมาก ทหารญี่ปุ่นต้องติดเลนอยู่จนเกือบรุ่งสว่างทำให้กองกำลังตำรวจเมืองชุมพร หน่วยยุวชนทหารที่ 52 โรงเรียนศรียาภัย และทหารกองพันที่ 38 สามารถรวมตัวและเคลื่อนกำลังพลมารับกำลัง
ทหารญี่ปุ่นอยู่ที่คอสะพานท่านางสังข์ ฝั่งตะวันออก ใช้เวลาในการรบอยู่ถึง 7 ชั่วโมง ขณะที่ ญี่ปุ่นมีกำลัง 4 - 5 พันคน พร้อมอาวุธหนักและเบาอันทันสมัย แต่ฝ่ายเรามีทหาร 1 หมวด ยุวชน ทหารโรงเรียนศรียสภัยประมาณ 30 คน และกำลังตำรวจอีกส่วนหนึ่ง แต่ก็สามารถต่อสู้กันถึง ครึ่งวันจนมีกำลังจากหน่วยเหนือให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่นปล่อยให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังทางถนนปาก น้ำ - ชุมพร ผ่านไปยังอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง โดยมุ่งหมายที่จะยึดแหลมวิคตอเรียพอยด์ของอังกฤษในพม่า ผลจากการสู้รบกองกำลังจังหวัดชุมพรเสียชีวิตไป 5 นาย และบาดเจ็บ 5 นาย ส่วนหน่วยยุวชนทหารไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ