ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรดาศักดิ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 19:
 
ส่วน บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ ไม่อาจเทียบได้กับข้าราชการปัจจุบัน แต่เหมือนกับการยกสามัญชน ขึ้นเทียบเท่าเจ้าต่างกรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ เท่านั้น
 
หากจะเทียบขุนนางสมัยก่อนกับข้าราชการในสมัยปัจจุบันอาจเทียบได้ดังนี้
คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง ในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเรียก ปลัดกระทรวง นั้นในสมัยโบราณมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ส่วนตำแหน่ง เจ้ากรม ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียก อธิบดี สมัยโบราณนั้น เจ้ากรมมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" หรือ "พระ" เพราะฉะนั้นหากจะเทียบเคียงกันจริงๆนั้น เทียบได้ยาก แต่ก็พอเปรียบได้ดังนี้ คือ ปลัดกระทรวง มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา รองปลัดกระทรวง,อธิบดี มีบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยา" หรือ "พระ" รองอธิบดี,ผู้อำนวยการสำนัก มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" ผู้อำนวยการกอง,หัวหน้ากลุ่มงาน มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงหรือขุน"
 
ได้มีการประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์ของไทย เมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/A/033/1089.PDF ราชกิจจานุเบกษา 15 พ.ค. 2485]</ref> ต่อมาประกาศดังกล่าวก็ถูกยกเลิกในเวลาต่อมาเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2487<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/079/1282.PDF</ref><ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/079/1285.PDF</ref> และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ็ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พุทธศักราช 2489 เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ต้องโทษทางการเมือง<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/029/288.PDF</ref> ในสมัยรัฐบาลของ[[ควง อภัยวงศ์]]ได้มีการประกาศใช้บรรดาศักดิ์อีกครั้ง จนถึง พ.ศ. 2491 รัฐบาล[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ การประกาศให้มีผู้ได้รับบรรดาศักดิ์กลับคืนมีปรากฏใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2512<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/067/2286.PDF</ref>