ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
ครั้นพระภิกษุเจ้าฟ้าจุฑามณีลาผนวชแล้ว ทรงสู่ขอบุตรีของเจ้าสัวบุญมีนั้นเป็นพระชายา ชื่อแต่แรกว่าเจ้าจอมเอมและได้เป็นเจ้าจอมมารดาเอมตามลำดับ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (เจ้าฟ้าจุฑามณี) พระอนุชาร่วมพระราชชนนีให้ดำรงพระอิสสริยยศเสมอกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเจียมพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ระมัดระวังที่จะไม่ตีพระองค์เสมอพระเชษฐา โดยเฉพาะมิได้ทรงสถาปนาเจ้าจอมคนใดขึ้นเป็นเจ้า เพื่อเลี่ยงมิให้พระราชโอรสและธิดาจะมีพระฐานันดรศักดิ์เกินชั้นพระองค์เจ้า ดังนั้นเจ้าจอมมารดาเอมจึงเพียงได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลต่อมา เมื่อพระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชวังหน้า โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามอย่างเป็นทางการว่า เจ้าคุณพระชนนี คนทั่วไปยังคงเรียกว่าเจ้าคุณจอมมารดาเอม
 
== พระราชโอรสและพระราชธิดา ==
เจ้าคุณจอมมารดาเอมมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม๕พระองค์คือ
* พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง สิ้นพระชนม์ก่อนปรากฏพระนาม
พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศบวราโชรสรัตนราชกุมาร ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ 5
พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรีดา สิ้นพระชนม์โดยไม่มีสายสืบราชสกุล
พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ต้นราชสกุลนวรัตน
พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์
 
* พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศบวราโชรสรัตนราชกุมาร ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น [[กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] วังหน้าในรัชกาลที่ 5
* พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรีดา สิ้นพระชนม์โดยไม่มีสายสืบราชสกุล
* พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น [[พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์]] ต้นราชสกุลนวรัตน
* พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์
 
== บรรพบุรุษ ==
บรรพบุรุษของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมนั้น มีประวัติว่า เป็นนายสำเภาจีนแซ่อ๋อง ชื่ออ๋องเฮงฉ่วนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้านสระแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับราชการมีความดีความชอบหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้เป็น เจ้าพระยาพระคลัง คนทั่วไปจะเรียกว่าเจ้าพระยาพระคลังจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านถนนตาล หลังวัดพนัญเชิง มีภรรยาและบุตรธิดาหลายคน คนหนึ่งชื่อเจ้าสัวอ๋องไซ ยังคงสืบต่อทำการเดินเรือสำเภาค้าขายระหว่างเมืองไทยกับเมืองจีน ก่อนกรุงแตกได้คุมขบวนเรือข้าว๓๒ลำ ตั้งใจว่าจะไปขายที่กำปงโสมเมืองเขมรเพราะได้ข่าวว่าปีนั้นเกิดทุกขภิกขภัยรุนแรง ขณะจอดเทียบท่าเมืองตราดได้ข่าวว่า ในเขมรเกิดการจลาจลบ้านเมืองไม่ปลอดภัยทั้งทางบกและทางทะเล และกรุงศรีอยุธยาเองถูกพม่าข้าศึกมาล้อมไว้ตั้งแต่ตนออกเดินทางมาแล้ว จึงถอนเรือกลับมาดูเหตุการณ์อยู่ที่จันทบุรี จังหวะเวลาเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำกองกำลังเข้าตีเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ เจ้าสัวอ๋องไซได้ข่าวดังนั้นจึงนำเรือเข้าเทียบท่าถวายข้าวทั้งสิ้นให้พระเจ้าตาก ซึ่งทรงใช้เป็นยุทธปัจจัยในการรวบรวมผู้คนขึ้นจนเป็นกองทัพ สามารถกอบกู้เอกราชของชาติไทยได้ในที่สุด เจ้าสัวอ๋องไซมีความดีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯให้เป็นที่พระยารัตนราชเศรษฐี รับราชการว่าที่กรมท่าซ้ายและเป็นเจ้าท่าเปิดระวางเรือสำเภาที่เข้าเทียบท่ากรุงธนบุรีทุกลำแต่ผู้เดียว กับทั้งได้พระราชทานที่ดินตำบลหนึ่งใกล้วัดสามเพ็ง(วัดปทุมคงคา) ให้สร้างบ้านเรือนอยู่เป็นหมู่ใหญ่ในบริเวณนั้น ซึ่งภายหลังต่อมาได้กลายเป็นศาลเจ้าปุนเถ้ากงไปในทุกวันนี้
บุตรหลานของพระยารัตนราชเศรษฐี(อ๋องไซ)สามารถปักหลักค้าขายในกรุงธนบุรีและบางกอกสืบต่อกันอย่างมั่นคง บุตรคนหนึ่งชื่อเจ้าสัวบุญมาก มีบุตรคนหนึ่งชื่อเจ้าสัวบุญมี ผู้เป็นบิดาท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม