ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเอดส์โลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ที่ลบเพราะอาจละเมิดลิขสิทธิ์
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 4:
'''วันเอดส์โลก''' (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งได้คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ไปกว่า 25 ล้านคนแล้วทั่วโลก
 
วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 แต่ในขณะนั้นจะรู้จักเพียงเฉพาะกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ต่อมามีการแพร่ระบาดโรคนี้ไปอย่างรวดเร็วและทั่วโลก จนมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากจนเป็นที่น่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*[http://guru.sanook.com/pedia/topic/วันเอดส์โลก/ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และประวัติความเป็นมาของ วันเอดส์โลก]
 
 
[[หมวดหมู่:เอดส์]]
 
[[หมวดหมู่:วันตระหนักด้านสุขภาพ]]
HIV ย่อมาจาก human Immunodeficiency Virus เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายเวลาที่เราเจ็บป่วย
{{โครง}}
 
AIDS ย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง) โรคเอดส์จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีบั่นทอนให้อ่อนแอลง จนถึงขั้นที่ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้อีก จนเริ่มติดเชื้อ หรือเกิดเป็นโรคต่างๆ
 
โรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย (Pneumocystis Carinii) ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จากการศึกษาย้อนหลัง พบว่าโรคนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศแถบอัฟริกาตะวันตกในปี พ.ศ. 2503 และต่อมาได้แพร่ไปยังเกาะไฮติ ทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย
 
ในปี พ.ศ. 2526 Luc Montagnier ชาวฝรั่งเศส สามารถแยกเชื้อจากต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วย และตั้งชื่อว่า Lymphadenopathy Assoiciated Virus หรือ LAV และในเวลาใกล้เคียงกัน Robert Gallo นายแพทย์ชาวอเมริกันก็สามารถแยกเชื้อจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วย และตั้งชื่อว่า Human T cell Lymphotropic Virus Type III หรือ HTL V III ต่อมา Levy นายแพทย์ชาวอเมริกัน สามารถแยกเชื้อชนิดเดียวกันนี้และตั้งชื่อว่า AIDS related virus จากการศึกษาในเวลาต่อมา พบว่าเชื้อทั้ง 3 ตัวนี้น่าจะเป็นเชื้อตัวเดียวกันจึงตกลงตั้งชื่อให้เป็นสากลว่า Human Immounodeficiency Virus หรือ HIV
 
สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทยนั้น เป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกาและมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526 ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา พบว่าปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis Carinii แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2527 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
ในปี พ.ศ.2527 ประเทศไทยเริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นตามรายงานครั้งแรก และในช่วง ปี พ.ศ. 2527จนถึงปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน
 
 
 
และเพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัยของการป้องกันโรคเอดส์ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2531 เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ
 
1. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์
 
2. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ
 
3. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
 
4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
 
5. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
 
ในทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี ทั่วโลกจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันเอดส์โลก เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ตลอดจนให้ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การขยายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง โดยในปีนี้ได้มีคำขวัญวันเอดส์โลกว่า “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา : ร่วมยุติปัญหาเอดส์ และเพศสัมพันธ์”
 
เหลียวหลัง
วันเอดส์โลก
องค์การอนามัยโลก
เอดส์
เอชไอวี