ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบร็กซิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matiia (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 202.29.178.244 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Setawut
บรรทัด 1:
ggwp{{multiple image
| align = right
| direction = vertical
บรรทัด 8:
| caption2 =สหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรป
}}
 
'''การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร''' หรือ '''เบร็กซิต''' ({{lang-en|Brexit}}) เป็นที่ถกเถียงมานานในหมู่บุคคล สถาบันกฎหมาย และพรรคการเมือง ตั้งแต่ที่[[สหราชอาณาจักร]]เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรกของ[[สหภาพยุโรป]] (EU) ในปี พ.ศ. 2516 ทั้งนี้ การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิกสามารถกระทำได้ตามมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป ([[สนธิสัญญาลิสบอน]]) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า : "รัฐสมาชิกใด ๆ อาจตัดสินใจออกจากสหภาพตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายของรัฐนั้น"<ref>แปลจากต้นฉบับ: "Any Member State may decide to withdraw from the Union in accordance with its own constitutional requirements."</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2518 การลงประชามติถูกกำหนดให้มีขึ้นในทุกประเทศสมาชิกของ[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] (ECC) ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรป การลงประชามติในครั้งนั้นได้ผลว่า ทุกประเทศสมาชิกจะยังคงเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป
 
ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 สหราชอาณาจักรได้ทำการลงมติสมาชิกภาพในสหภาพยุโรป โดยฝ่ายที่ต้องการให้ออกจากสหภาพยุโรปเป็นฝ่ายชนะ
 
== การลงประชามติ พ.ศ. 2518 ==
ใน พ.ศ. 2518 สหราชอาณาจักรได้มีการลงประชามติว่าสหราชอาณาจักรควรอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อหรือไม่ ในครั้งนั้นทุกพรรคการเมืองต่างสนับสนุนการอยู่ต่อ อย่างไรก็ตาม ก็มีความขัดแย้งบางส่วนในพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เมื่อที่ประชุมพรรคในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2518 มีมติ 2 ต่อ 1 ว่าควรออกจากประชาคม คณะรัฐมนตรีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายสนับสนุนยุโรปและฝ่ายต่อต้านยุโรป รัฐมนตรี 7 คนจาก 23 คนคัดค้านการดำรงสมาชิกภาพในประชาคม<ref>{{cite web|url=http://eureferendum.com/documents/1975referendum1.pdf|format=PDF|title=The 1975 Referendum|author=DAvis Butler|website=Eureferendum.com|accessdate=19 May 2016}}</ref>
 
ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนได้ลงคะแนนโดยมีหัวข้อการประชามติว่า "ท่านคิดว่าสหราชอาณาจักรควรอยู่ในประชาคมยุโรป (ตลาดร่วม) หรือไม่?"<ref>แปลจากต้นฉบับ: "Do you think the UK should stay in the European Community (Common Market)?"</ref> ซึ่งได้รับเสียงข้างมากว่า "เห็นควร" ท้ายที่สุด สหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป<ref>{{cite web|url=http://researchbriefings.parliament.uk/ResearchBriefing/Summary/CBP-7253#fullreport|title=Research Briefings - The 1974-75 UK Renegotiation of EEC Membership and Referendum|website=Researchbriefings.parliament.uk|accessdate=19 May 2016}}</ref>
{| class="wikitable"
|-
!เห็นควร
! (%)
!ไม่เห็นควร
! (%)
!ผู้มาใช้สิทธิ์ (%)
|-
|17,378,581
|67.2
|8,470,073
|32.8
|64.5
|}
 
== การลงประชามติ พ.ศ. 2559 ==
{{main|การออกเสียงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559}}
ใน พ.ศ. 2555 นายกรัฐมนตรี[[เดวิด แคเมอรอน]] ได้ปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้มีการลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป แต่แคเมอรอนก็แนะนำว่าการลงประชามติอาจจะมีขึ้นได้ในอนาคตหากประชาชนต้องการ<ref>{{cite news|title=Cameron defies Tory right over EU referendum: Prime minister, buoyed by successful negotiations on eurozone banking reform, rejects 'in or out' referendum on EU|author=Nicholas Watt|url=http://www.guardian.co.uk/politics/2012/jun/29/cameron-no-eu-referendum|newspaper=The Guardian|date=29 June 2012|accessdate=2 July 2012|quote=David Cameron placed himself on a collision course with the Tory right when he mounted a passionate defence of Britain's membership of the EU and rejected out of hand an 'in or out' referendum.|location=London, UK}}</ref><ref>{{cite news|title=PM accused of weak stance on Europe referendum|first=Andrew|last=Sparrow|url=http://www.guardian.co.uk/politics/2012/jul/01/david-cameron-europe-referendum-noncommittal|newspaper=The Guardian|date=1 July 2012|accessdate=2 July 2012|quote=Cameron said he would continue to work for 'a different, more flexible and less onerous position for Britain within the EU'.|location=London, UK}}</ref> ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศว่า รัฐบาล[[พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)|พรรคอนุรักษนิยม]]อาจจะจัดให้มีการลงประชามติว่าจะออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2560 บนเงื่อนไขว่าหากเขายังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต่อในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2558<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-politics-21148282|title=David Cameron promises in/out referendum on EU|work=BBC News|publisher=BBC|date=23 January 2013|accessdate=23 April 2016}}</ref>
 
พรรคอนุรักษนิยมชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2558 ไม่นานหลังจากนั้น รัฐสภาก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการลงประชามติ แม้ว่านายกรัฐมนตรีแคเมอรอนจะอยากให้สหราชอาณาจักรยังอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปก็ตาม<ref name="BBC News Nov 2015">{{cite web|title=David Cameron sets out EU reform goals|website=BBC News|date=11 November 2015|url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-politics-34770875|accessdate=16 January 2016}}</ref> แต่แคเมอรอนก็ได้ประกาศให้อิสระแก่รัฐมนตรีและส.ส.ของพรรคอนุรักษนิยมในการตัดสินใจตามวิจารณญาณของแต่ละคน<ref>{{cite news|title=Cameron: MPs will be allowed free vote on EU referendum – video|url=http://www.theguardian.com/world/video/2016/jan/05/cameron-mps-will-be-allowed-free-vote-on-eu-referendum-video|accessdate=9 January 2016|work=[[The Guardian]]|date=5 January 2016|format=Video|quote=The PM also indicates Tory MPs will be able to take differing positions once the renegotiation has finished}}</ref> และเขายังได้อนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถจัดกิจกรรมสนับสนุนหรือคัดค้านการออกจากสหภาพยุโรปตามอัธยาศัย<ref>{{cite news|last1=Hughes|first1=Laura|last2=Swinford|first2=Stephen|last3=Dominiczak|first3=Peter|title=EU Referendum: David Cameron forced to let ministers campaign for Brexit after fears of a Cabinet resignation|url=http://www.telegraph.co.uk/news/newstopics/eureferendum/12082083/EU-referendum-David-Cameron-gives-ministers-free-vote-live.html|accessdate=9 January 2016|work=[[The Daily Telegraph]]|date=5 January 2016}}</ref> ตามถ้อยปราศรัยต่อสภาล่างในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศให้การลงประชามติมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และประกาศกรอบระยะเวลาขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะทำต่อหากการประชามติมีผลว่าให้ออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดสองปีเป็นระยะเวลาในการเจรจาต่อรองและข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป
 
การลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 มีหัวข้อว่า "สหราชอาณาจักรควรจะยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือถอนตัวจากสหภาพยุโรป ?" ซึ่งได้รับเสียงข้างมากว่า "ถอนตัว" ทำให้นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศลาออกจากตำแหน่งตามถ้อยแถลงว่า
 
{{Quote|''การเจรจากับสหภาพยุโรปจะเริ่มขึ้นภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ผมคิดว่ามันถูกแล้วที่นายกคนใหม่จะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้มาตรา 50 แล้วก็เริ่มขั้นตอนตามระเบียบและกฎหมายในการออกจากอียู'' <ref>{{cite web|title=EU referendum outcome: PM statement, 24 June 2016|url=https://www.gov.uk/government/speeches/eu-referendum-outcome-pm-statement-24-june-2016|website=gov.uk|accessdate=25 June 2016}}</ref> | นายกรัฐมนตรี [[เดวิด แคเมอรอน]] 24 มิ.ย. 2559 }}
 
ยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังประกาศผล ค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 11% ส่วนเงินยูโรเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 3.3%<ref>[http://www.thairath.co.th/content/646462 "ตลาดหุ้นทั่วโลกกระอัก! ยูเคออกจากอียู เงินยูโรอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ใช้"] ''ไทยรัฐ''. 24 มิถุนายน 2559</ref> ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงอย่างหนักโดยเฉพาะ[[ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว]]
 
{| class="wikitable"
|-
!อยู่ต่อ
! (%)
!ถอนตัว
! (%)
!ผู้มาใช้สิทธิ์ (%)
|-
|16,141,241
|48.1
|17,410,742
|51.9
|72.2
|}
 
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ศาลฎีกาได้มีคำตัดสิน ว่าการที่รัฐบาลจะดำเนินการออกจากสหภาพยุโรปตามมาตรา 50 นั้น ต้องได้รับมติเห็นชอบจากรัฐสภาสหราชอาณาจักรเสียก่อน โดยศาลวินิจฉัยว่า ''"รัฐสภาเป็นองค์อธิปัตย์ซึ่งสามารถที่จะตราหรือยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ได้ตามที่เห็นเหมาะสม"'' หลังคำตัดสินดังกล่าว รัฐบาลของเมย์ได้ออกมาแถลงผิดหวังต่อคำตัดสินดังกล่าว ที่ไม่เคารพเสียงข้างมากของประชาชน<ref>[http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000110202 'เบร็กซิต'ชักสับสน! ศาลสูงอังกฤษตัดสิน รบ.ต้องขออนุมัติรัฐสภาก่อน จึงเริ่มถอนตัวจากอียูได้] ''ผู้จัดการออนไลน์''. 3 พฤศจิกายน 2559</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
[[หมวดหมู่:สหภาพยุโรป]]