ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 1:
{{shortcut|[[Scisci-fi]]}}
'''นิยายวิทยาศาสตร์''' หรือ '''ไซไฟ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: science fiction หรือ SFsci-fi) เป็น[[นิยาย]]ที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จาก[[วิทยาศาสตร์]]หรือ[[เทคโนโลยี]]ในจินตนาการ. นิยายวิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มนวนิยายประเภท[[จินตนิยาย]] (Speculative Fiction - กลายมาจาก SF ซึ่งเป็นอักษรย่อของ Science Fiction) ซึ่งประกอบด้วยสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ นิยายวิทยาศาสตร์ และ นิยายแฟนตาซี
 
 
== ประเภทของนิยายวิทยาศาสตร์ ==
 
เราอาจแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกเป็นสามกลุ่มย่อย ตามความเป็นไปได้ของหลักการวิทยาศาสตร์ในเนื้อเรื่อง คือ นิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์, นิยายวิทยาศาสตร์อย่างอ่อน, และนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี
 
=== นิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ===
นิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Hard Science Fiction) เป็นแนวหลักดั้งเดิมของนิยายวิทยาศาสตร์จริง ๆ ผู้วางรากฐานของนิยายแนวนี้ได้แก่ [[เอช จี. เวลส์]], [[โรเบิร์ต เอ. เฮไลน์]], [[อาร์เธอ ซี. คลาร์ก]] เป็นต้น นิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์นั้น เสนอมุมมองของสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีบางอย่าง ที่มีแนวโน้มว่าสามารถเป็นไปได้จริงในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงสภาพสังคมในอนาคตอันใกล้ ตามหลักของ[[อนาคตศาสตร์]] (Futurology) และสาขาวิชาที่ใช้ในการมองอนาคตชนิดอื่น ๆ. ซึ่งมีประโยชน์มาก และสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง
 
=== นิยายวิทยาศาสตร์อย่างอ่อน ===
นิยายวิทยาศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science Fiction) มีรูปแบบหลากหลาย โดยมีความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาประกอบเรื่องอยู่ในระดับหนึ่ง อาจจะกล่าวถึงทฤษฎี หรือสิ่งประดิษฐ์ ต่าง ๆ ที่ผู้ประพันธ์จินตนาการขึ้นมาบ้าง แต่เป็นที่ยอมรับได้ของผู้อ่าน เสน่ห์ของนิยายวิทยาศาสตร์แบบอ่อน คือความยืดหยุ่นของ ฉาก เนื้อเรื่อง และตัวละคร ซึ่งมีให้เล่นได้มากกว่านิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ในกลุ่มของนิยายชนิดนี้ ฉากที่มักจะปรากฏคืออนาคตหรืออดีต “อันไกลโพ้น” ซึ่งเอื้อต่อการประดิษฐ์โครงเรื่องของผู้เขียน การเดินทางผ่านเวลาเป็นไปได้อย่างอิสระ การเดินทางผ่านไฮเปอร์สเปซ มีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ตัวอย่างนิยายวิทยาศาสตร์อย่างอ่อนมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น “ชายในชุดแอสเบสโตส” ไปจนถึง "Stainless Steel Rat" ซึ่งไม่ได้เน้นที่เทคโนโลยีมากนัก แต่เน้นที่ตัวเอกของเรื่องแทน (พระเอกเก่งจนเกินจริง แต่สนุกน่าติดตาม). นิยายชุด[[สถาบันสถาปนา]] ที่นักอ่านชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งนำเสนอถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่อมนุษยชาติ อาจจัดอยู่ระหว่าง นิยายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ กับ นิยายวิทยาศาสตร์อย่างอ่อน
 
=== นิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ===
นิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี (Science Fantasy) เป็น “ตัวเชื่อม” ระหว่างพื้นที่ที่ นิยายวิทยาศาสตร์ มาบรรจบกับ [[นิยายแฟนตาซี]]. นิยายกลุ่มนี้ ไม่เน้นเรื่องความถูกต้อง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปได้ ของหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประกอบตัวเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นเรื่องความกลมกลืนของตัวเรื่อง บุคลิกและความสัมพันธ์ของตัวละคร ความสนุกสนานและน่าติดตาม. [[สตาร์วอร์ส]] จัดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของนวนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ซึ่งมักจะอาศัยฉากอวกาศและเทคโนโลยี เข้ามาจับตัวเรื่อง แต่โครงของเรื่องนั้น มีพ่อมด เจ้าชาย เจ้าหญิง ฮีโร และตัวร้าย (ดาร์ค ลอร์ด) เช่นเดียวกับนิยายแฟนตาซีอื่น ๆ
 
== ผู้ประพันธ์ ==
=== ผู้ประพันธ์ชาวไทย ===
ชัยวัฒน์ คุประตกุล
=== ผู้ประพันธ์ตะวันตก ===
* [[อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก]] เขียนเรื่อง [[2001 จอมจักรวาล]]
* [[ไอแซค อสิมอฟ]] เขียนเรื่อง [[สถาบันสถาปนา]] [[ออบิท 5:สนธยาเยือน]]
บรรทัด 25:
* ดักกลาส อดัม เขียนเรื่อง ฮิชไฮคเกอร์ไกด์ทูเดอะกาแลกซี
 
=== ผู้ประพันธชาวญี่ปุ่น ===
เทราซ่าวา ฟุอิจิ เขียนเรื่อง [[คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า]]
 
{{portal}}
== อ้างอิง ==
* [http://changkhui.com/smf/index.php?topic=102.msg1298#msg1298 ช่างคุยเวบบอร์ด]