ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Skippedtheclass (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Skippedtheclass (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17:
"[[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]" ได้จัดตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ด้านวิชาชีพในสาขาวิชาทางบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ และเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีภารกิจรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษา การวิจัย บริการวิชาการแก่สังคม และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
[[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ]] ได้โอนย้ายมาจากภาควิชาสังคมศาสตร์ [[คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]] ในปีการศึกษา 2535 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/126/1.PDF พระราชกฤษฏีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 109, ตอนที่ 126, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535, หน้า 1]</ref> ให้จัดตั้ง[[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ]] ซึ่งได้ยึดถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะ และได้มีการถ่ายโอนการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน เป็นสาขาแรกเพื่อให้มาสังกัด[[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ]]เป็นต้นมา
 
[[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ]]ได้จัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจขึ้นในปีการศึกษา 2537 ตามแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ซึ่งในระยะเริ่มแรกภาควิชาบริหารธุรกิจได้ทำการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจและภาควิชาการเงินและบัญชี [[คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น|คณะวิทยาการจัดการ]]เป็นผู้ดำเนินการสอนร่วมกับอาจารย์พิเศษทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว และในปีการศึกษา 2543 ภาควิชาบริหารธุรกิจได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาการตลาด โดยมีปรัชญาทางการศึกษาเพื่อเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้มีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรู้และมีคุณภาพมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ และประกอบอาชีพของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น