ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรมัตถธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ) 1 รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ 2 นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน)
 
ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิดจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
# จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น จิต (วิญญาณ) เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง - ไม่เที่ยง ทุกขัง - ทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป อนัตตา - บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)
# เจตสิก เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เจตสิกแต่ละเจตสิกมีลักษณะและกิจต่างกันตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เจตสิกเป็นสภาพรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่จิต (ได้แก่ เวทนา - ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ที่เกิดทางกายหรือใจ สัญญา - ความจำได้ รู้ชื่อ รู้จัก สังขาร - ความนึกคิดปรุงแต่งอื่นๆ เช่น รัก โกรธ เมตตา ปัญญา เป็นต้น) เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)