ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ภาควิชาจิตวิทยาเป็นส่วนราชการไทยระดับภาควิชา (department) สังกัดคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนับเป็นสาขาวิชาที่เปิดดำเนินการสอนขึ้นเป็นลำดับที่ 6 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการเรียนการสอนทางด้านจิตวิทยาที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอันดับแรกของประเทศไทย เมื่อปี พุทธศักราช 2507 โดยแต่เดิม ก่อนปี 2507 ที่มีโครงสร้างหลักสูตรจิตวิทยานั้น พบว่ายังไม่ได้มีการก่อตั้งภาควิชาจิตวิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการ และยังไม่ได้รับสังกัดในคณะใดๆ หากแต่มีการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาอยู่ก่อนแล้ว โดยที่เป็นลักษณะของการไปบรรยายส่งเสริมเข้าในเนื้อหาของคณะต่างๆ ตามที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในเนื้อหาวิชานั้นๆ เช่น นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิชาผู้บริโภค การตลาด เป็นต้น จนกระทั่งคณาจารย์ได้ร่วมกันวางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาตรี) 4 ปี ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านจิตวิทยา เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้สนับสนุนในเนื้องานและการประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยา
เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้ง ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนในแง่มุมของหลักวิชาการเป็นอย่างดีจากสมาคมฟุลไบรท์ (องค์กรนักจิตวิทยาซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแก้ปัญหาครอบครัว) ด้วยเหตุนี้ทำให้รากฐานโครงสร้างการเรียนการสอนของภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีลักษณะของจิตวิทยาแบบตะวันตก หรือจิตวิทยาบริสุทธิ์ (pure science) กล่าวคือ เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ (ไม่ได้กึ่งศิลปศาสตร์) มีการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ต้นแบบจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA อีกทั้งเรายังเป็นสถาบันแรกของไทยที่บุกเบิกเปิดสอน Clinical Psychology, Sensitivity Training และ Cognitive Psychology อีกด้วย อนึ่ง ในสมัยแรกนั้นภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนทุกชั้นปีการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่ปีที่ได้รับการสถาปนา แต่ต่อมาทางภาควิชาได้ขยายส่วนมาจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครบทั้ง 4 ชั้นปี อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนั้นที่ต้องการขยายพื้นที่การศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ ดังนั้นจึงส่งผลให้ปัจจุบันนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำหรับนักศึกษาโครงการปริญญาโทนั้นยังคงได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เช่นเดิม
เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้ง ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนในแง่มุมของหลักวิชาการเป็นอย่างดีจากสมาคมฟุลไบรท์ (องค์กรนักจิตวิทยาซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแก้ปัญหาครอบครัว) ด้วยเหตุนี้ทำให้รากฐานโครงสร้างการเรียนการสอนของภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีลักษณะของจิตวิทยาแบบตะวันตก หรือจิตวิทยาบริสุทธิ์ (pure science) กล่าวคือ เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ (ไม่ได้กึ่งศิลปศาสตร์) มีการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ต้นแบบจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA อีกทั้งเรายังเป็นสถาบันแรกของไทยที่บุกเบิกเปิดสอน Clinical Psychology, Sensitivity Training และ Cognitive Psychology อีกด้วย อนึ่ง ในสมัยแรกนั้นภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนทุกชั้นปีการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่ปีที่ได้รับการสถาปนา แต่ต่อมาทางภาควิชาได้ขยายส่วนมาจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครบทั้ง 4 ชั้นปี อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนั้นที่ต้องการขยายพื้นที่การศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ ดังนั้นจึงส่งผลให้ปัจจุบันนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำหรับนักศึกษาโครงการปริญญาโทนั้นยังคงได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เช่นเดิม
 
ขณะนี้ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้สร้างห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยา (Psychological Labatory) เป็นของตนเอง มีพร้อมทั้งอุปกรณ์ทางจิตวิทยาต่าง ๆ (เช่น ชุดเกมคอมพิวเตอร์ฝึกทักษะเชิงกระบวนการคิดตามพัฒนาการ, เครื่องวัดความเครียด GSR, เครื่องจับสัญญาณ Eye Movement, เครื่องตรวจเช็คค่า Treshold การรับรู้เสียง, เครื่องวัดสุขภาพกายและจิต หรือ L.I.F.E. System, เก้าอี้นวดไฟฟ้า เป็นต้น) ที่มีความทันสมัยและถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานโลก (Global Standardize) ซึ่งเป็นไปตามแกนโครงสร้างวิชาจิตวิทยาทั่วโลก โดยห้องแล็บภาควิชาจิตวิทยาได้เปิดให้บริการ ณ ชั้น 3 อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และล่าสุดได้ทำการเปิดศูนย์บริการทางจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หรือมีชื่อย่อว่า TCAPS) ขึ้นมาให้คำปรึกษาสำหรับพูดคุยบำบัดให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาภาควิชาจิตวิทยาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานด้วยประสบการณ์จริง จะเห็นได้ว่าจากพัฒนาการของภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ได้ทำให้ภาควิชาจิตฯ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาต่างๆ สู่สังคมมากมาย โดยจุดเด่นที่ยังยึดถือตลอดมาคือสอนให้นักศึกษามีทักษะกระบวนการคิดที่ดี เน้นกระบวนการเรียนควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพนักจิตวิทยา เนื่องด้วยเราปรารถนาที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง อนึ่ง นอกเหนือจากในส่วนของนักศึกษาแล้ว ในแง่มุมของบุคลากร วิทยากร และผู้สอนในภาควิชาจิตวิทยามักมีโครงการประชุมร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศ เช่น เสนอตัวแทนอาจารย์เข้าประชุมกับสมาคมจิตวิทยาในงานประชุมระดับโลก และโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ผู้สอนระหว่างประเทศ อยู่บ่อยครั้งอีกด้วย นั่นทำให้ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก้าวทันความรู้ทางจิตวิทยาที่ใหม่อยู่ตลอดเวลา
 
 
'''ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 3 กลุ่มสาขา''' (เรียนที่ศูนย์รังสิต) ได้แก่
* กลุ่มสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology Concentration)
* กลุ่มสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology Concentration)
* กลุ่มสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร (Industrial & Organizational Psychology Concentration)
 
'''และโครงการปริญญาโท 2 สาขา''' (เรียนที่ท่าพระจันทร์) คือ
* สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology Program)
* สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (I/O Psychology Program)
 
 
 
=== หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา มธ. ===