ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศีลอนุกรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Priestly ordination in Bangkok 2011.JPG|200px|thumb|[[อัครมุขนายก]][[เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช]] ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรด[[ศีลบวช]]เป็น[[บาทหลวง]][[โรมันคาทอลิก ]]เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน]]
'''ศีลอนุกรม'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552, หน้า 249-251</ref> ({{lang-en|'''Holy Orders'''}}) หรือ'''ศีลบวช''' บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา<ref>[http://www.catholic.or.th/archive/laws/lawch16/lawch031.html ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๔ ลักษณะ ๖ ศีลบรรพชา]</ref> เป็น[[ศีลศักดิ์สิทธิ์]]ในหลาย[[คริสตจักร]] ได้แก่ [[โรมันคาทอลิก]] [[อีสเทิร์นคาทอลิก]] [[อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ออร์ทอดอกซ์]] [[ออเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ทัลออร์ทอดอกซ์]] [[แองกลิคัน]] [[คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก]] [[คาทอลิกเก่า]] [[อินดิเพนเดนต์คาทอลิก]] และบางส่วนของ[[ลูเทอแรน]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 18:
 
== นิกายคาทอลิก ==
นิกายคาทอลิก เช่น คริสตจักร[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]]และ[[อีสเทิร์นคาทอลิก]] ให้เฉพาะผู้รับการอภิเษกเป็น[[บิชอป]]เท่านั้นต้องถือโสดตลอดชีพ แต่ไม่บังคับสำหรับผู้รับศีลขั้น[[พันธบริกร]]และ[[บาทหลวง]] ในขณะที่คริสตจักรคาทอลิก[[จารีตละติน]]ให้พันธบริกรถาวรแต่งงานได้ แต่พันธบริกรชั่วคราว (คือเตรียมบวชเป็นบาทหลวง) ตลอดจน[[บาทหลวง]]และ[[บิชอป]]ต้องถือโสดตลอดชีพ ทั้งสามคริสตจักรอนุญาตให้บุรุษเท่านั้นรับศีลอนุกรมได้<ref>[http://www.intratext.com/IXT/ENG0017/_P3O.HTM Code of Canon Law, Can. 1024]</ref> บรรดาผู้ที่ได้รับศีลอนุกรมแล้วจะเรียกว่า[[เคลอจี]] ศาสนบริกรผู้โปรดศีลอนุกรมได้มีเฉพาะ[[บิชอป]]ที่ผ่านพิธีอภิเษกแล้วเท่านั้น<ref>[http://www.intratext.com/IXT/ENG0017/_P3N.HTM Code of Canon Law, Can. 1009 §1012]</ref>
 
== นิกายแองกลิคัน ==
คริสตจักรต่างๆ ในนิกายแองกลิคันไม่บังคับว่าผู้รับศีลบวชต้องถือโสด นอกจากนี้ในปัจจุบันหลาย[[ภาคคริสตจักร]]ยังอนุญาตให้สตรีรับศีลอนุกรมทั้งสามขั้นได้เหมือนบุรุษทั่วไป<ref>[http://www.religioustolerance.org/femclrg14.htm Female ordination in the Episcopal Church, USA (ECUSA)], เรียกข้อมูลวันที่ 4 พ.ค. 2554</ref>
 
==นิกายออร์โธด็อกซ์==
ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมศีลอุปสมบทนี้ คือการคัดเลือกบุคคลอย่างถูกต้องในตำแหน่งทางสงฆ์ เช่น ผู้หัวหน้าพระหรือบิชอป(พระสังฆราช) พระผู้ประกอบพิธีทางศาสนา(บาทหลวง) และพระผู้ช่วยประกอบพิธีทางศาสนา(เดียคอน) บุคลเหล่านี้ จะต้องผ่านพิธีอุปสมบทแต่งตั้งโดยการวางมือของหัวหน้าสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่กว่าบนศีรษะของผู้ที่ได้รับการอุปสมบทและในระหว่างนั้นจะมีการอ่านบดสวดมนตร์เพื่อเรียกขอพระพรจากพระจิตเจ้าให้ลงมาสถิตในตัวผู้นั้น เพื่อที่ผู้นั้นสามารถที่จะรับใช้ต่อการประกอบพิธีในคริสตจักรของพระเจ้าได้ต่อไปโดยมีพระจิตเจ้าเป็นผู้นำทาง
 
พิธีการอุปสมบทนี้จะกระทำขึ้นบนตัวของบุคคลที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกมาแล้ว หรือว่าผู้ที่ได้รับการอุปสมบทมาแล้วจากทางคริสตจักร และได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นทางสงฆ์ ก็จะมีการประกอบพิธีอุปสมบทเลื่อนขั้นของทางคริสตจักรได้อีก ในลำดับขั้นของตำแหน่งสงฆ์หลักๆแล้วมีด้วยกันสามลำดับขั้นคือ พระผู้ช่วยในการประกอบพิธี(เดียคอน) พระผู้ประกอบพิธี (บาทหลวง) และหัวหน้าพระหรือบิชอป(พระสังฆราช)
 
ในการประกอบพิธีอุปสมบทแต่งตั้งเป็นพระผู้ช่วยนั้น คือการให้ได้รับพระพรจากพระจิตเจ้าให้สามารถเป็นพระผู้ช่วยในพิธีกรรมทางศาสนาของคริสตจักรต่อไป
 
ในการประกอบพิธีกรรมอุปสมบทวางมือบนศีรษะแต่งตั้งเป็นพระผู้ประกอบพิธีทางศาสนานั้น คือการให้ได้รับพระพรจากพระจิตเจ้า ให้สามารถเป็นพระ(บาทหลวง)ในการประกอบพิธีทางศาสนาของคริสตจักรได้ต่อไป ทั้งนี้ตัวของผู้เข้ารับการอุปสมบทเป็นบาทหลวงนั้นจะต้องผ่านการอุปสมบทเป็นพระผู้ช่วยมาก่อน
 
ในการประกอบพิธีกรรมแต่งตั้งสังฆราช(บิชอป) ผู้ที่ได้ผ่านพิธีกรรมแต่งตั้งเป็นสังฆราชนี้คือผู้ที่ได้รับการวางมือบนศีรษะจากสังฆราชราชชั้นผู้ใหญ่ตั้งแต่สามท่านขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพื่อสวดมนตร์ขอพรจากพระจิตเจ้าให้ลงมาสถิตกับตัวของผู้นั้น และหลังจากได้รับการแต่งตั้งแล้ว บุคคลผู้นี้สามารถที่จะประกอบพิธีกรรมอุปสมบทวางมือบนศีรษะแก่พระผู้ช่วย และพระผู้ประกอบพิธีทางศาสนาได้ต่อไป ตัวของผู้ที่ได้รับการอุปสมบทวางมือบนศีรษะแต่งตั้งเป็นสังฆราชนั้นจะต้องไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อน และจะต้องผ่านการบวชเป็นพระที่ถือศีลพรหมจรรย์มาก่อน
 
อธิบายเพิ่มเติม : ทางศาสนจักรออร์โธด็อกซ์อนุญาตให้ผู้ที่เคยสมรสแล้วสามารถบวชเป็นบาทหลวงได้ แต่จะไม่สามารถเป็นพระสังฆราชได้ <ref>หนังสือพระบัญญัติพระเจ้า</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
[[หมวดหมู่:พิธีกรรมในศาสนาคริสต์]]