ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมไปรษณีย์โทรเลข"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: ย้ายตำแหน่งข้อความ
บรรทัด 100:
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยาม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์]] เตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ และดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก และได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ (จดหมาย) ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2426]] ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
 
ในปี [[พ.ศ. 2429]] กรมโทรเลข (ซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้) ได้รับโอนกิจการ[[โทรศัพท์]]จาก[[กระทรวงกลาโหม]]มาดำเนินการ และขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรี เป็นครั้งแรก
 
ใน ปี [[พ.ศ. 2441]] ได้มีการยุบรวมกิจการกรมโทรเลข (ซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้) เข้ากับกรมไปรษณีย์ ใช้ชื่อใหม่ว่า '''"กรมไปรษณีย์โทรเลข"''' ดำเนินกิจการไปรษณีย์ โทรศัพท์ และโทรเลข และได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่[[ถนนเจริญกรุง]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอน[[คลังออมสิน]]จากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชน ตั้งแต่วันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2472]] และได้แยกคลังออมสินออกไปจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2490]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/290.PDF พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช 2456]</ref> และมีการโอนกิจการกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรี ให้[[องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย]] ในปี [[พ.ศ. 2497]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2519]] ได้มีการจัดตั้ง[[การสื่อสารแห่งประเทศไทย]] เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัด[[กระทรวงคมนาคม]] โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/115/369.PDF พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519]</ref> เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2520]] ซึ่งต่อมาได้มีการแปรรูปเป็นบริษัท 2 บริษัท คือ [[ไปรษณีย์ไทย|บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด]] และ[[กสท. โทรคมนาคม|บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด]] มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร