ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
* ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก อยู่ระหว่างการพิจารณายกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ โดยใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยตากสิน" <ref>[http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=255592&ch=gn2 อดีต ส.ว.เผยเตรียมยุบรวม 2 สถาบันตั้ง ม.ตากสิน]</ref>
 
== ตราประจำเขตพื้นที่ ==
== ตรามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ==
ราชมงสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบ หมายถึง '''ปัญญาอันเป็นแสงสว่างในโลก''' ภายในรูปดอกบัวบานเป็น รูป[[พระราชลัญจกร]] อันเป็นตราประจำพระองค์ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ผู้พระราชทานนามให้ "[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]]" และมีรูปดอกไม้ทิพย์ สองข้างที่ปลายแถบ ซึ่งหมายถึง '''ความเจริญรุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน'''
 
ความวิจิตรแห่ง "ราชมงคลสัญลักษณ์" จักเป็นที่ประจักษ์และชื่นชมจาก ชาวราชมงคลและบุคคลทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งนี้ จักเป็นมหาวิทยาลัยที่ตระหนักในภารกิจที่จะเสริมสร้างให้การศึกษาในทางวิชาชีพเจริญรุดหน้า แตกกิ่งก้านสาขา สมดั่งเจตนาที่ถือกำเนิดมา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามไว้เป็นสิริมงคลสืบไป
 
== สีประจำเขตพื้นที่ ==
== สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ==
สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก คือ สีน้ำเงิน หมายถึง โลกแห่งการเรียนรู้เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมอันเป็นฐานความพร้อมในการเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ให้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์การเรียนรู้สืบไป
 
== ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตากเขตพื้นที่ ==
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก คือ ต้นทองกวาว ซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาฯ 10-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบมีสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่วสีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก ต้นทองกวาวมีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามแต่ละภาค ภาคเหนือเรียกว่า "กวาว หรือก๋าว" ภาคใต้เรียกว่า "จอมทอง" ภาคกลางเรียกว่า "ทองธรรมชาติ หรือทองต้น" และภาคอีสานเรียกว่า "ดอกจาน" ช่อดอกทองกวาวสามารถมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งแสดงถึง ความสว่างของปัญญาและการแผ่กระจายของความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ