ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 31:
 
== ประวัติ ==
[[fileไฟล์:Wat Benchamabophit.jpg|250px|thumb|มุมข้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร]]
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ '''วัดแหลม''' เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับ[[ทุ่งนา]] หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า '''วัดไทรทอง''' เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด<ref name="สกุลไทย">จุลลดา ภักดีภูมินทร์, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3131&stissueid=2598&stcolcatid=2&stauthorid=13 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม], สกุลไทย, ฉบับที่ 2598, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2547</ref> ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
เมื่อ [[พ.ศ. 2369]] ซึ่งตรงกับรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เกิด[[กบฏเจ้าอนุวงศ์]]แห่ง[[เวียงจันทน์]]ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์]] พระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
บรรทัด 60:
 
=== สถานที่อื่น ๆ ===
[[Fileไฟล์:Wat Benchamabophit on Twilight.jpg|300px|thumb|right|พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในยามกลางคืน]]
* '''พระอุโบสถ''' เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลังด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย "สีมา" สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้นภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา
*'''พระที่นั่งผนวช''' เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้รื้อมาจาก[[พระพุทธรัตนสถาน]] เป็นหมู่กุฏิประกอบด้วย "พระที่นั่งทรงผนวช" อยู่ด้านทิศเหนือ "พระกุฏิ" อยู่ด้านทิศใต้ กับกุฏิ ๒ ห้อง ๒ หลัง อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตก มีหอเสวยกลาง มีลานหินอ่อนโดยรอบมีช่อฟ้า ใบระกา ลำยอง ลงรักปิดทองทึบหลังด้านทิศใต้คือ "พระกุฏิ" หน้าบันจำหลักลายประกอบ "พัดยศ" ลงรักปิดทองประดับกระจก มีความหมายว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระองค์ทรงผนวชส่วนหลังทิศเหนือคือ '"พระที่นั่งทรงผนวช"' เป็นตรีมุข ประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำตรา "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" ที่ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่เป็น ๕ สาย ๕ ชั้น ด้านในเขียนภาพเทวดาถือดอกไม้เหนือคนแคระหน้าบันทั้ง ๓ ด้านจำหลักลายไทยประกอบตรา "พระเกี้ยว" ซึ่งเป็นตราประจำของพระองค์ ลงรักปิดทองประดับกระจก หมายถึงพระที่นั่งองค์นี้ เป็นที่ประทับเมื่อคราวพระองค์ทรงผนวชภายในพระที่นั่งทรงผนวช มีพระแท่นบรรทม พระบรมรูปเมื่อทรงผนวช พระบรมรูปสลักหินอ่อน พระพุทธรูป พระเสลี่ยงน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเพื่อเป็นธรรมาสน์แสดงธรรมและแสดงพระปาติโมกข์ครั้งแรกในวัดเบญจมบพิตร เครื่องลายครามต่าง ๆ