ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเพณีสารทเดือนสิบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
หฺมฺรับ ต้องออกเสียงควบกล้ำตามภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่ใช่ออกเสียง หมะหรับ
บรรทัด 6:
== การจัดหฺมฺรับ ==
 
เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหฺมฺรับ” <sup>(หฺมฺรับ อ่านออกเสียง ม ควบ ร เป็นคำภาษาไทยถิ่นใต้)</sup> แต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ <sup>/หมะหรับ/</sup> สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง ( บางท่านบอกว่า 6 อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ [[ขนมพอง ]] เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ [[ขนมลา ]] แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ [[ขนมกง]] หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ [[ขนมดีซำ]] แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย [[ ขนมบ้า ]] แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมี[[ขนมลาลอยมัน ]] ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย
 
=== การยกหฺมฺรับ ===