ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายป้ายโครงการวิกิประเทศไทยไปหน้าพูดคุย
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ฟอลคอนเกิดที่แคว้น[[เซฟาโลเนีย]] ([[ประเทศกรีซ]]) โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิซ ฟอลคอนเข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออก ของ[[อังกฤษ]] และเดินทางมายังสยามในฐานะพ่อค้าในปี [[พ.ศ. 2218]] เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย (อนึ่ง นอกจากภาษากรีก ซึ่งเป็นภาษาแม่ และ[[ภาษาไทย]]แล้ว ฟอลคอนมีความสามารถในการพูด[[ภาษาอังกฤษ]] [[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาโปรตุเกส]] [[ภาษามลายู]]) ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่ง[[ล่าม]] ฟอลคอนได้กลายมาเป็น[[สมุหเสนา]]ใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ในเวลาอันรวดเร็ว
ความใกล้ชิดระหว่างเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์ทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนุกูล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นมูลเหตุให้พระเพทราชา ซึ่งเป็นพระอนุชาบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก่อการรัฐประหาร และลักลอบจับกุมเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนุกูลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารในวันที่ 5 มิถุนายน [[พ.ศ. 2231]] ที่เมือง[[ลพบุรี]] เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์ทรงกริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา [[สมเด็จพระเพทราชา]]ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกและปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักอาณาจักร[[รสยามสยาม]]
การตีความกันไปต่างๆ นานา ถึงเหตุจูงใจที่ทำให้พระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้ นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเพทราชามองเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้พระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจได้จากองค์รัชทายาทโดยนำเอาความริษยาและความระแวงที่มีต่อฟอลคอนมาเป็นมูลเหตุสนับสนุน