ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ เป็นบุตรของ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]] กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)<ref>http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html</ref> พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"<ref>ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ''ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) '', พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484</ref>
 
หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่[[ประเทศเดนมาร์ก]] เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น[[หม่อมราชินิกุล]]มีนามว่า "หม่อมชาติเดชอุดม" ถือศักดินา 800<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/035/502_3.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ], เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒</ref> และเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร<ref name="ลิ้นชักภาพเก่า">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[เอนก นาวิกมูล]]|ชื่อหนังสือ=ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์|URL= |จังหวัด=กรุงเทพ|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์วิญญูชน|ปี= พ.ศ. 2550|ISBN=978-974-94365-2-3|หน้า=หน้าที่|จำนวนหน้า=392}}</ref>
 
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงเกษตราธิการ]] เมื่อ พ.ศ. 2453 <ref name="ลิ้นชักภาพเก่า"/> ในปลายสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น[[กระทรวงคมนาคม]] ต่อมาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยรวมกระทรวงเกษตราธิการ กับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ <ref>http://www.fisheries.go.th/DOF_THAI/Intro/History/history_dof.htm</ref>
 
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ และ[[ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)]] เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุง[[วอชิงตัน ดี.ซ๊ซี.]] [[สหรัฐอเมริกา]] <ref>http://www.sf.ac.th/honour/honour.htm</ref>
 
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง[[โรงเรียนสายปัญญา]] โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459