ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศบังกลาเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 69:
'''บังกลาเทศ''' ({{lang-bn|বাংলাদেশ}}) หรือชื่อทางการคือ '''สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ''' ({{lang-bn|গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ}}) เป็นประเทศใน[[เอเชียใต้]] ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของ[[ภูมิภาคเบงกอล]] คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบ[[ประเทศอินเดีย]] 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติด[[อ่าวเบงกอล]] และตะวันออกเฉียงใต้ติด[[ประเทศพม่า]]
 
บังกลาเทศเป็นเมืองขึ้นของไทยประหารเทศโดยประยุทธ์ จันทร์ดอชา กิ๊กกิ้ว
== ประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:IndianBuddha11.JPG|thumb|left|200px|รูปปั้น[[พระพุทธรูป]]สมัยศตวรรษที่ 11]]
[[ไฟล์:Paharpur 03.JPG|thumb|left|200px|ปาฮาร์ปัวร์]]
ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ[[อนุทวีปอินเดีย|ชมพูทวีป]] (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของ[[ศาสนาพราหมณ์]]และ[[ศาสนาพุทธ|พระพุทธศาสนา]]มาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำ[[ศาสนาอิสลาม]]เข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้
 
ในปี [[พ.ศ. 2300]] [[อังกฤษ]]ได้เข้าไปยึดครอง[[อนุทวีปอินเดีย|ชมพูทวีป]] และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็น[[บริติชราช|อาณานิคมของอังกฤษ]]เกือบ 200 ปี ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2490]] ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ[[ปากีสถาน]] เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก
 
ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออก ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ใน[[ปากีสถาน|ปากีสถานตะวันตก]] เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่าง[[ปากีสถาน|ปากีสถานตะวันตก]]และปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้[[ปากีสถาน]]ทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Awami League (AL) ขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2492]]เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า
 
เมื่อวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2514]] ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ '''สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ''' ทำให้[[ปากีสถาน|ปากีสถานตะวันตก]]ส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม [[อินเดีย]]ได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่าย[[ปากีสถาน|ปากีสถานตะวันตก]]พ่ายแพ้ในการรบ และยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ [[16 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2514]]
 
ในระยะแรก บังกลาเทศปกครองโดย[[ระบอบประธานาธิบดี]] มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL เป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation) [[ประธานาธิบดี]] Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2518]] โดยฝีมือนาย[[ทหาร]]กลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสาย และเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่าง [[พ.ศ. 2525]] – [[พ.ศ. 2533|2533]]) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี [[พ.ศ. 2533]] และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง
 
ในปี [[พ.ศ. 2533]] บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2535]] นาง Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ [[31 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2539]] ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ [[12 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2539]] ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League (AL), พรรค Jatiya Party (JP), และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman )ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรี เมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2539]] แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาล และเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP
 
ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ [[12 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2544]] รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ [[15 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการ หรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรี และนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ [[16 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน
 
== ภูมิศาสตร์ ==