ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การชำระเลือดผ่านเยื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 111:
 
=== ฟลักซ์ของเยื่อกรองและผลลัพธ์ ===
การใช้ตัวฟอกแบบฟลักซ์สูงจะช่วยเพิ่มผลลัพท์ในการรักษาให้กับผู้ป่วยหรือไม่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง แต่การศึกษาที่สำคัญหลายครั้งบอกว่ามันมีประโยชน์ทางคลินิก การทดสอบการฟอกโดยการอุดหนุนทางการเงินจาก NIH ได้เปรียบเทียบการรอดชีวืตและการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยล้างไตแบบสุ่มเมื่อใช้เยื่อกรองทั้งแบบฟลักซ์ต่ำหรือแบบฟลักซ์สูง แม้ว่าผลลัพท์เบื้องต้น (ทุกสาเหตุการตาย) ไม่ถึงจุดทางสถิติที่มีนัยสำคัญในกลุ่มสุ่มที่ใช้เยื่อกรองแบบฟลักซ์สูง ผลลัพท์รองหลายตัวจะดีกว่าในกลุ่มฟลักซ์สูง<ref>{{cite journal |author=Eknoyan G, Beck GJ, Cheung AK, ''et al.'' |title=Effect of dialysis dose and membrane flux in maintenance hemodialysis |journal=N. Engl. J. Med. |volume=347 |issue=25 |pages=2010–9 |year=2002 |pmid=12490682 |doi=10.1056/NEJMoa021583 |url=http://content.nejm.org/cgi/pmidlookup?view=short&pmid=12490682&promo=ONFLNS19}}</ref><ref>{{cite journal |author=Cheung AK, Levin NW, Greene T, ''et al.'' |title=Effects of high-flux hemodialysis on clinical outcomes: results of the HEMO study |journal=J. Am. Soc. Nephrol. |volume=14 |issue=12 |pages=3251–63 |year=2003 |pmid=14638924 |doi= 10.1097/01.ASN.0000096373.13406.94|url=http://jasn.asnjournals.org/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=14638924}}</ref> การวิเคราะห์ของ Cochrane ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปว่า การเลือกเยื่อกรองมีผลลลัพธ์ที่ยังไม่ได้แสดงให้เห็นประโยชน์<ref>{{cite journal |author=Macleod AM, Campbell M, Cody JD, ''et al.'' |editor1-last=MacLeod |editor1-first=Alison M |title=Cellulose, modified cellulose and synthetic membranes in the haemodialysis of patients with end-stage renal disease |journal=Cochrane Database Syst Rev |volume= |issue=3 |pages=CD003234 |year=2005 |pmid=16034894 |doi=10.1002/14651858.CD003234.pub2 |url=http://www.cochrane.org/reviews/en/ab003234.html}}</ref> การทดลองแบบสุ่มด้วยความร่วมมือจากยุโรปที่เรียกว่า การศึกษา MPO (Membrane Permeabilities Outcomes)<ref>{{cite journal |author=Locatelli F, Martin-Malo A, Hannedouche T, ''et al.'' |title=Effect of Membrane Permeability on Survival of Hemodialysis Patients |journal=J Am Soc Nephrol |volume=20 |issue= 3|year=2009 |pmid= 19092122|url=http://jasn.asnjournals.org/cgi/content/abstract/ASN.2008060590v1 |doi=10.1681/ASN.2008060590 |pmc=2653681 |pages=645–54}}</ref> เป็นการเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มต้นล้างไตโดยใช้เยื่อกรองฟลักซ์สูงหรือฟลักซ์ต่ำ ได้พบแนวโน้มที่ไม่มีนัยสำคัญสำหรับการอยู่รอดที่ดีขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้เยื่อกรองแบบฟลักซ์สูงและอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่มีระดับแอลบูมินในซีรั่มที่ต่ำกว่าหรือในผู้ป่วยไดที่มาจากโรคเบาหวาน
 
=== ฟลักซ์ของเยื่อกรองและเบต้า 2 microglobulin amyloidosis ===
นอกจากนี้เยื่อกรองสำหรับฟอกเลือดที่มีฟลักซ์สูงและ / หรือการฟอกเลือดแบบออนไลน์ไม่สม่ำเสมอ ({{lang-en|intermittent on-line hemodiafiltration (IHDF)}}) ยังอาจจะเป็นประโยชน์ในการลดภาวะแทรกซ้อนของการสะสมเบต้า 2 microglobulin เนื่องจากเบต้า-2-microglobulin เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 11,600 ดาลตัน มันจึงไม่ผ่านเยื่อกรองฟอกเลือดแบบฟลักซ์ต่ำเลย Beta-2-M จะถูกกรองออกด้วยตัวฟอกเลือดฟลักซสูง และจะถูกกรองออกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่าด้วย IHDF หลังจากหลายปี (โดยปกติอย่างน้อย 5-7 ปี) ่ของการสะสมของเบต้า-2-M ผู้ป่วยฟอกเลือดเริ่มที่จะพัฒนาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่โรคอุโมงค์ carpal, ซีสต์ของกระดูก และการสะสมของ amyloid นี้ในข้อต่อและเนื้อเยื่ออื่น ๆ Beta-2-M amyloidosis สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากรวมทั้ง spondyloarthropathy และมักจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาข้อต่่อที่หัวไหล่ การศึกษาแบบสังเกตการณ์จากยุโรปและญี่ปุ่นได้แนะนำว่าการใช้เยื่อกรองฟลักซ์สูงในโหมดการฟอกเลือดหรือ IHDF ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากเบต้า-2-M ในการเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดปกติโดยใช้เยื่อกรองฟลักซ์ต่ำ<ref>{{cite journal |author=van Ypersele de Strihou C, Jadoul M, Malghem J, Maldague B, Jamart J |title=Effect of dialysis membrane and patient's age on signs of dialysis-related amyloidosis. The Working Party on Dialysis Amyloidosis |journal=Kidney Int. |volume=39 |issue=5 |pages=1012–9 |year=1991 |pmid=2067196 |doi= 10.1038/ki.1991.128|url=}}</ref><ref>[http://www.kidney.org/professionals/kdoqi/guideline_upHD_PD_VA/hd_rec5.htm KDOQI Clinical Practice Guidelines for Hemodialysis Adequacy, 2006 Updates. CPR 5.]</ref><ref>{{cite journal |author=Küchle C, Fricke H, Held E, Schiffl H |title=High-flux hemodialysis postpones clinical manifestation of dialysis-related amyloidosis |journal=Am. J. Nephrol. |volume=16 |issue=6 |pages=484–8 |year=1996 |pmid=8955759 |doi= 10.1159/000169048|url=}}</ref><ref>{{cite journal |author=Koda Y, Nishi S, Miyazaki S, ''et al.'' |title=Switch from conventional to high-flux membrane reduces the risk of carpal tunnel syndrome and mortality of hemodialysis patients |journal=Kidney Int. |volume=52 |issue=4 |pages=1096–101 |year=1997 |pmid=9328951 |doi= 10.1038/ki.1997.434|url=}}</ref><ref>{{cite journal |author=Locatelli F, Mastrangelo F, Redaelli B, ''et al.'' |title=Effects of different membranes and dialysis technologies on patient treatment tolerance and nutritional parameters. The Italian Cooperative Dialysis Study Group |journal=Kidney Int. |volume=50 |issue=4 |pages=1293–302 |year=1996 |pmid=8887291 |doi= 10.1038/ki.1996.441|url=}}</ref>
 
=== ขนาดและประสิทธิภาพของตัวกรอง ===
ตัวกรองมีหลายขนาดที่แตกต่างกันมาก ตัวกรองขนาดใหญ่มีพื้นที่เยื่อกรอง (A) ขนาดใหญ่เพื่อกรองสารละลายที่ใหญ่กว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อัตราการไหลของเลือดสูง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน ''K<sub>0</sub>'' ของเยื่อกรองสำหรับตัวทำละลายนั้นๆ ดังนั้นประสิทธิภาพของตัวฟอกมักจะแสดงค่าเป็น ''K<sub>0</sub>A'' หรือผลคูณของค่าส​​ัมประสิทธิ์การซึมผ่านกับพื้นที่ของเยื่อกรอง ตัวกรองส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ผิวของเยื่อกรองอยู่ที่ 0.8-2.2 ตารางเมตรและค่าของ ''K<sub>0</sub>A'' อยู่ที่ตั้งแต่ประมาณ 500-1,500 มิลลิลิตร/นาที ค่าของ ''K<sub>0</sub>A'' อยู่ในรูปมิลลิลิตร/นาทีสามารถจะคิดว่าเป็นระยะห่างสูงสุดของตัวกรองที่อัตราการไหลของเลือดและสารฟอกที่สูงมาก
 
=== การใช้ตัวฟอกซ้ำ ===
ตัวฟอกอาจจะถูกนำไปทิ้งหลังการบำบัดในแต่ละครั้งหรือถูกนำกลับมาใช้ใหม่ การนำมาใช้ใหม่ต้องมีขั้นตอนที่กว้างขวางของการฆ่าเชื้อโรคในระดับที่สูง ตัวกรองที่นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกับผู้ป่วยรายอื่น มีความขัดแย้งแต่แรกเกี่ยวกับว่าการนำตัวฟอกมาใช้ใหม่จะทำให้ผู้ป่วยได้ผลลัพท์แย่ลงกว่าเดิมหรือไม่ ฉันทามติในวันนี้คือการนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ถ้าทำอย่างรอบคอบและถูกต้องจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คล้ายกับการใช้งานตัวฟอกแบบใช้แล้วทิ้ง<ref>[http://www.kidney.org/professionals/kdoqi/guideline_upHD_PD_VA/hd_rec5.htm KDOQI Clinical Practice Guidelines for Hemodialysis Adequacy, 2006 Updates]. CPR 5.</ref>
 
การนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ได้มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่มีการประดิษฐ์ตัวฟอก การปฏิบัตินี้รวมถึงการทำความสะอาดตัวฟอกใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยรายเดิมอีกหลายครั้ง คลินิกฟอกไตจะนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่เพื่อความประหยัดและลดค่าใช้จ่าย เพราะการใช้ "แบบครั้งเดียวทิ้ง" อาจมีราคาแพงและสิ้นเปลืองอย่างมาก ตัวฟอกที่มีการใช้เพียงครั้งเดียวแล้วโยนทิ้งจะสร้างของเสียชีวภาพทางการแพทย์เป็นจำนวนมากโดยไม่มีการประหยัดค่าใช้จ่าย ถ้าทำถูกต้อง ตัวฟอกที่นำกลับมาใช้ใหม่จะปลอดภัยมากสำหรับผู้ป่วยล้างไต
 
มีสองวิธีในการนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ คือแบบทำด้วยมือกับแบบอัตโนมัติ การนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยมือจะเกี่ยวกับการทำความสะอาดตัวฟอกด้วยมือ ตัวฟอกเป็นแบบกึ่งถอดได้แล้วถ่ายทิ้งซ้ำแล้วซ้ำอีกก่อนที่จะถูกล้างด้วยน้ำ หลังจากนั้นมันจะถูกเก็บไว้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อแบบของเหลว (PAA) เป็นเวลากว่า 18 ชั่วโมงก่อนจะนำมาใช้งานครั้งต่อไป แม้ว่าหลายคลินิกนอกสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีการนี ​​้คลินิกบางแห่งจะเปลี่ยนไปใช้กระบวนการที่อัตโนมัติ/คล่องตัวมากขึ้นตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติการฟอกไต กระบวนการใหม่ของการใช้ซ้ำแบบอัตโนมัติจะทำโดยวิธีการของอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 อุปกรณ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อคลินิกฟอกไตที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานทางคลินิกฟอกไตขนาดใหญ่ - เพราะอุปกรณ์ยอมให้มีวงรอบการทำงานต่อวันได้หลายรอบ ตอนแรกตัวฟอกจะถูกทำความสะอาดล่วงหน้าโดยช่างเทคนิค จากนั้นการความสะอาดจะทำโดยอัตโนมัติผ่านกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอนเป็นรอบจนในที่สุดมันก็จะถูกเติมเต็มด้วยยาฆ่าเชื้อของเหลวในการจัดเก็บ แม้ว่าการนำมาใช้ใหม่โดยอัตโนมัติจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการนำมาใช้ใหม่ด้วยมือ เทคโนโลยีใหม่ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในกระบวนการของการที่นำมาใช้ เมื่อนำกลับมาใช้มากกว่า 15 ครั้งด้วยวิธีการปัจจุบัน ตัวฟอกอาจสูญเสีย B2M, โมเลกุลขนาดกลางและความสมบูรณ์ของโครงสร้างรูพรุนของเส้นใย ซึ่งมีศักยภาพในการลดประสิทธิภาพของเซสชั่นการฟอกเลือดของผู้ป่วย ในขณะนี้คือปี 2010 เทคโนโลยีใหม่และการประมวลผลที่สูงขึ้นได้พิสูจน์ความสามารถในการกำจัดขั้นตอนการทำความสะอาด่วงหน้าโดยสิ้นเชิงและยังได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการฟื้นฟูฟังก์ชั่นใหม่ทั้งหมด (เรียกคืนอย่างเต็มที่) ของตัวฟอกให้อยู่ในระดับที่ประมาณเทียบเท่ากับการ ใช้ครั้งเดียวทิ้งมากกว่า 40 รอบ. [29]<ref>{{cite web|last=Strain|first=Nick|title=Dialysis Tech|url=http://google2.fda.gov/search?q=dialyzer+reprocessing+2010&client=FDAgov&site=FDAgov&lr=&proxystylesheet=FDAgov&output=xml_no_dtd&getfields=*|work=Dialysis Clinic}}</ref> เนื่องจากอัตราการเบิกเงินคืนจากค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เริ่มลดลงมากยิ่งขึ้น, คลินิกฟอกไตจำนวนมากได้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยโปรแกรมที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากกระบวนการมีความง่ายและคล่องตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
 
== การดูแลรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือด ==
 
== อ้างอิง ==