ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาระรับผิดชอบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ใช้ศัพท์บัญญัติ
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
ภายใต้[[ระบอบประชาธิปไตย]] การสร้างภาระรับผิดชอบมีหลายกลไกด้วยกัน ประกอบด้วย “[[การเลือกตั้ง]]” เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องมีความผูกพันกับสาธารณะซึ่งก็คือ[[ประชาชน]]ที่เป็นผู้เลือกตั้งให้บุคคลนั้นได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง “กระบวนการรัฐธรรมนูญและนิติบัญญัติ” เป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลโดยใช้กลไกเชิงสถาบันอย่างเป็นทางการ “การควบคุมการคอร์รัปชั่นของข้าราชการ” เป็นการดูแลในด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ “พื้นที่[[ประชาสังคม]]” ในการให้ตัวแสดงทาง[[สังคม]]อื่นๆ เข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ และ “การกระจายอำนาจ” ในการแบ่งภาระความรับผิดชอบสาธารณะให้กับท้องถิ่นและกระจายอำนาจในการจัดการเพื่อให้เหมาะสมกับความแตกต่างเชิงภูมิศาสตร์ รวมถึงการทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานท้องถิ่นด้วย (Tsai, 2011: 7-8)<ref>Tsai, Lily L. (2011). In George Thomas Kurian et al. The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.</ref>
 
คำว่า ''ภาระรับผิดชอบ'' (accountability) แตกต่างจากคำว่า ''ความรับผิดชอบ'' (responsibility) ซึ่งคำว่า ''ความรับผิดชอบ'' คือการรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ตามตำแหน่งงานที่ได้รับมา ทั้งในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและการรักษากฎระเบียบ แต่ ''ภาระรับผิดชอบ'' คือความการรับผิดชอบที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องถูกควบคุม ตรวจสอบ ชี้แจง ต่อสาธารณะซึ่งเป็นพื้นที่ภายนอก ผู้ปฎิบัติหน้าที่จึงต้องมีความโปร่งใส ยึดหลักความประหยัด และสามารถถูกตรวจสอบจาก[[ประชาชน]]ทั่วไปได้ ดังนั้น ''ภาระรับผิดชอบ'' จึงมีเนื้อหาของความรับผิดชอบที่กว้างกว่า ''ความรับผิดชอบ''
 
ภาระรับผิดชอบสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ