ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิอำนาจนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FESTH (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 31:
แม้ว่าในปี พ.ศ. 2511 หลังจากการถึงแก่อนิจกรรมของ[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์]]ไปกว่า 5 ปี [[ประเทศไทย]]ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2511 และตามติดมาด้วย[[การเลือกตั้ง]]ในปีเดียวกัน อันเป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามของ[[สหรัฐอเมริกา]]ในการผลักดันให้ไทยเป็น[[ประชาธิปไตย]]มากขึ้น โดยกลไกของการเลือกตั้ง เพื่อรับมือกับภัย[[คอมมิวนิสต์]] (Kesboonchoo-Mead, 2012: 215-240)<ref>Kesboonchoo-Mead, Kullada (2012). “The cold war and Thai democratization”. In Southea and the cold war. New York: Routledge.</ref> ทว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนั้น แท้จริงเป็นเพียงฉากหน้าในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบถนอม-ประภาสผู้สืบทอดอำนาจจาก[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์]] เพราะ[[พรรคการเมือง]]ที่ได้รับการเลือกตั้งก็ได้แก่[[พรรคสหประชาไทย]] ของ[[จอมพลถนอม กิตติขจร]] อีกทั้งในสภายังมี[[วุฒิสมาชิก]]ที่มาจากการแต่งตั้งของจอมพลถนอมอีกกว่าครึ่งสภา (จำนวน 91 คน จาก 140 คน) ดังนั้น [[จอมพลถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม]]จึงมีอำนาจล้นเหลือที่มาจากการผูกขาดเสียงสนับสนุนใน[[รัฐสภา]]
 
รัฐบาลของจอมพลถนอมในปี พ.ศ. 2511 จึงเป็นเพียงแค่รัฐบาลตัวแทนของระบอบอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งที่แม้จะเปิดโอกาสให้มี[[พรรคการเมือง]] และ[[การเลือกตั้ง]] แต่ก็แฝงเร้นไว้ด้วยความพยายามในการรักษาฐานอำนาจทางการเมือง ควบคู่ไปกับการแสร้งทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] แต่ด้วยกลไกที่ผิดฝาผิดตัว และบิดเบือนจึงทำให้รัฐบาลของจอมพลถนอมไม่อาจรับมือกับแรงเสียดทานที่ตามมาจากกลไกของระบบรัฐสภา คือ การตรวจสอบ และการอภิปรายซักถามโดยฝ่ายค้าน และสมาชิกรัฐสภาไปได้ ด้วยเหตุนี้หลังจากที่รัฐบาลไม่สามารถผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาได้ [[จอมพลถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม]]จึงตัดสินใจสลัดคราบ[[ประชาธิปไตย]] และเปิดเผยตัวตนของระบอบเผด็จการด้วยการยึดอำนาจตัวเองในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งการ[[รัฐประหาร]]ครั้งนี้ได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่การล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม ถนอม-ประภาส ภายหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์เดือนตุลาคมในอีก 2 ปีถัดมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516]]”
 
ภายใต้ระบอบอำนาจนิยม สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส ก่อให้เกิดการสืบทอดค่านิยม และ[[ทัศนคติ]]แบบเจ้าคนนายคน การที่[[คณะรัฐมนตรี]]ในช่วงเวลาดังกล่าวมีที่มาจากข้าราชการประจำและข้าราชการบำนาญจำนวนมาก ทำให้มีการใช้เส้นสายในแวดวงข้าราชการเป็นบันไดไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งทางการเมือง เปิดโอกาสให้คณะทหาร กลุ่มธุรกิจและ[[ข้าราชการ]]ผูกขาดอำนาจและกอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองเป็นจำนวนมหาศาล