ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
 
== การทูต ==
ในปี ค.ศ. 1266 กุบไล ข่าน ได้ส่งคณะทูตไปยังญี่ปุ่น โดยมีผู้รับสาส์นคือ[[โฮโจ โทะกิมุเนะ]] ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน (มีการถวายต่อราชสาส์นไปยัง[[พระราชวังเคียวโตะ|พระราชวังหลวงเคียวโตะ]]เช่นกัน) โดยมีเนื้อความในราชสาสน์ว่า:
 
{{quotation|ขอน้อมนำ[[อาณัติแห่งสวรรค์]] ข่านแห่งมองโกลผู้ทรงเดชานุภาพ มีราชสาส์นนี้ถึงพระเจ้าแผ่นดินญี่ปุ่น ผู้ทรงอำนาจสูงสุดแห่งแดนน้อยอันร่วมขัณฑสีมา นานมาแล้วที่ได้เป็นห่วงถึงสัมพันธ์ของเราอันจะนำพาไปสู่การเป็นมิตรไมตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่บรรพชนของข้ารับบัญชาจากสวรรค์ ดินแดนไกลนับไม่ถ้วนได้ปฏิเสธพลังอำนาจอันน้อยนิดของเรา โครยอได้แสดงไมตรีจิตที่เรายุติสงคราม และได้บูรณะประเทศตลอดจนราษฎรของพวกเขาเมื่อข้าได้ขึ้นครองราชย์ สัมพันธ์ของเรานั้นซื่อสัตย์ประดุจพ่อลูก ซึ่งเราคิดว่าท่านทราบเรื่องนี้แล้ว โครยอเป็นประเทศราชทางบูรพาของเรา ซึ่งญี่ปุ่นก็ได้เป็นพันธมิตรต่อโครยอในบางโอกาสพร้อมๆกับจีนนับแต่ก่อกำเนิดชาติของท่านมา อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นไม่เคยส่งทูตมาเลยนับแต่การเถลิงราชย์ของข้า มันน่ากลัวที่จะคิดเราเกรงว่าอาณาจักรท่านอาจยังไม่ทราบเรื่องนี้ ดังนั้นเราจึงส่งคณะทูตพร้อมกับสาส์นของเราเพื่อแสดงความปรารถนาของเราเป็นพิเศษ อันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกันและกันนับแต่บัดนี้ไป เราคาดหวังว่าชาติทั้งหมดจะเป็นครอบครัวหนึ่งเดียว เราต่างมีหนทางที่ถูกต้องเห็นควรยกเว้นในกรณีที่เราเข้าใจกัน ไม่มีใครปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรง<ref>ข้อความดั้งเดิมเป็นอักษรจีน: 上天眷命大蒙古國皇帝奉書日本國王朕惟自古小國之君境土相接尚務講信修睦況我祖宗受天明命奄有區夏遐方異域畏威懷德者不可悉數朕即位之初以高麗無辜之民久瘁鋒鏑即令罷兵還其疆域反其旄倪高麗君臣感戴來朝義雖君臣歡若父子計王之君臣亦已知之高麗朕之東藩也日本密邇高麗開國以來亦時通中國至於朕躬而無一乘之使以通和好尚恐王國知之未審故特遣使持書布告朕志冀自今以往通問結好以相親睦且聖人以四海為家不相通好豈一家之理哉以至用兵夫孰所好王其圖之不宣至元三年八月日</ref>}}
 
ซึ่งครั้งนี้ ญี่ปุ่นก็โทะกิมุนะได้นำเรื่องนี้ปรึกษาหารือและพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งเขาก็ตัดสินใจที่จะไม่ให้คำตอบใดๆกลับไปเป็นการปฏิเสธ
 
ฝ่ายมองโกลมองโกลก็ไม่ลดละความพยายาม ได้ส่งคณะทูตมาอีก 4 ครั้งพร้อมผู้ติดตามจากโครยอระหว่างปี 1269-1271 ซึ่งการมาเยือนแต่ละครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาติให้ขึ้นบก ทางราชสำนักในเคียวโตะมีคำแนะนำมาถึงโทะกิมุเนะให้ยอมรับข้อเสนอของโครยอ เนื่องจากราชสำนักในเคียวโตะเกรงแสนยานุภาพของมองโกล โทะกิมุเนะยังคงทำเช่นเดิมคือไม่ตอบกลับใดๆ ในขณะเดียวกันก็สั่งการขุนนางและกลุ่มซะมุไรใน[[เกาะคีวชู]] ซึ่งอยู่ใกล้กับโครยอมากที่สุดให้เตรียมรับมือภัยสงครามที่อาจมาถึง
แต่ต่อมา ใน ค.ศ. 1268 มองโกลก็ได้ส่งคณะทูตมาอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้โทะกิมุเนะสั่งให้ประหารทูตของมองโกลและส่งกลับมองโกล และนั่นเองก็ทำให้การเจรจาสิ้นสุดลง และสงครามกำลังจะเริ่มขึ้น
 
== การรุกรานครั้งแรก ==