ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กราฟสองมิติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Circle center a b radius r.svg|thumb|right|(3) กราฟรูปวงกลมรัศมี ''r'' = 1 จุดศูนย์กลาง (''a'', ''b'') = (1.2, −0.5)]]
[[ไฟล์:Supply-and-demand.svg|thumb|(4) ราคาและปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน]]
[[ไฟล์:Area.svg|thumb|(5) รูปร่างเรขาคณิตในสองมิติ]]
 
'''กราฟสองมิติ''' คือเซตของจุดบน[[ปริภูมิสองมิติ]] ถ้าจุดต่าง ๆ เป็น[[จำนวนจริง]]และถ้าใช้[[พิกัดคาร์ทีเซียน]] [[แกน]]แต่ละแกนจะอธิบายถึงค่าที่อาจเกิดขึ้นได้ของ[[ตัวแปร]]จำนวนจริงแต่ละตัว แกนแนวนอนมักจะเรียกว่า ''x'' หรือ ''แกน x'' และแกนแนวยืนมักจะเรียกว่า ''y'' หรือ ''แกน y'' แต่ละจุดของ[[กราฟของฟังก์ชัน|กราฟ]]จะอธิบายถึงค่าตัวแปรจำนวนจริงที่สองตัวนั้นที่สัมพันธ์กัน
เส้น 35 ⟶ 36:
== กราฟที่วาดทับกันมากกว่าหนึ่งฟังก์ชัน ==
ในบางบริบท การเขียนกราฟหลาย ๆ ฟังก์ชันลงบนแผนภาพเดียวกันก็อาจมีประโยชน์ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ อย่างเช่น กราฟของ[[อุปสงค์และอุปทาน]]ที่ใช้เป็นประจำในทาง[[เศรษฐศาสตร์]] ดังภาพ (4) เส้นกราฟที่โค้งลงคืออุปสงค์ ''D'' คือความต้องการของผู้มีอำนาจซื้อในแต่ละราคา เส้นกราฟที่โค้งขึ้นคืออุปทาน ''S'' คือความสามารถในการผลิตในแต่ละราคา จุดที่เส้นโค้งทั้งสองตัดกันคือจุดสมดุล ซึ่งเป็นราคา ''P'' และปริมาณ ''Q'' ของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่ควรผลิต นอกจากนี้แผนภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจาก ''D''<sub>1</sub> เป็น ''D''<sub>2</sub> ส่งผลให้ทั้งราคาและปริมาณที่สมดุลเพิ่มขึ้นจากเดิม
 
== กราฟของรูปร่างเรขาคณิต ==
[[รูปร่างเรขาคณิต]]สองมิติคือเซตของจุดที่ถูกจำกัดขอบเขตโดย[[ส่วนของเส้นตรง]]หรือ[[เส้นโค้ง]] ดังนั้นรูปร่างหนึ่ง ๆ ก็อาจสามารถสร้างขึ้นได้จากกราฟของสมการหลายสมการที่เป็นเส้นขอบเขตของมัน [[รูปหลายเหลี่ยม]]เป็นรูปร่างที่แต่ละด้านเชื่อมต่อกันด้วยส่วนของเส้นตรงเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เห็นได้โดยใช้กราฟสองมิติ ตัวอย่างภาพ (5) มีกราฟของรูปหลายเหลี่ยม ได้แก่[[รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน]]กับ[[รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก]] และกราฟของรูปวงกลมแสดงอยู่ด้วยกัน