ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การสุรา กรมสรรพสามิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘จังหวัดอยุธยา’ ด้วย ‘จังหวัดพระนครศรีอยุธยา’
บรรทัด 106:
องค์การสุรา มีสำนักงานอยู่เลขที่ 1488 ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในบริเวณกรมสรรพสามิต มีโรงงานดำเนินการผลิตสุราและแอลกอฮอล์ อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้เริ่มย้ายไปผลิต ณ โรงงานสุรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 และยังมีโรงงานสาขาอีก 4 โรงคือ โรงงานสาขานครราชสีมา โรงงานสาขาสระบุรี โรงงานสาขาลพบุรี และโรงงานสาขาชัยนาท
 
=== การส่งมอบโรงงานสุราจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคืนแก่กรมธนารักษ์ ===
 
โรงงานสุราขององค์การสุรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 199 ไร่ได้ดำเนินการผลิตสุราขาว-ผสม ต่อมาจึงดำเนินการผลิตแต่เพียง แอลกอฮอล์ หรือสุราสามทับเพียงอย่างเดียว สุราสามทับนี้เป็นสุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่ง มีแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 80 [[ดีกรี]]ขึ้นไป ทั้งนี้องค์การสุรา เป็นผู้ได้สิทธิพิเศษในการผูกขาดการผลิต และจำหน่ายแอลกอฮอล์ในประเทศแต่เพียงผู้เดียว เพราะถือว่าเป็นสินค้ายุทธปัจจัยตาม[[กฎหมาย]]
 
โรงงานสุราจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีกำลังการผลิต 40,000 [[ลิตร]]ต่อวัน ใช้วัตถุดิบจากกาก[[น้ำตาล]]เป็นหลัก ผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่อุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่ต้องใช้แอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตสี และการใช้ในธุรกิจสถานพยาบาลต่าง ๆ ปัจจุบันความต้องการใช้แอลกอฮอล์ภายในประเทศมีประมาณ 50,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งการผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายสุราที่องค์การสุรามีข้อผูกพันจำหน่ายให้กับ ผู้ขายส่งในเขต 8 จังหวัด กรมสรรพสามิตจึงจัดทำข้อตกลงให้กลุ่มบริษัทสุราทิพย์ จำกัด ทำการผลิตสุราขาวบรรจุขวดจำหน่ายแทนโดยมอบผลประโยชน์เป็นรายเดือน เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนให้กับองค์การสุรา
 
โรงงานสุราที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เริ่มหยุดผลิตมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2536 ให้เความเห็นชอบกับแผนแม่บท นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โรงงานสุราอยุธยาซึ่งถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ที่เป็นนครประวัติศาสตร์ ต้องดำเนินการย้ายออกจากพื้นที่เดิมภายในปี พ.ศ. 2539 องค์การสุราได้เสนอขออนุมัติสร้างโรงงานผลิตสุราแห่งใหม่ที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นมีนโยบายไม่ให้ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ แต่ให้ขอโรงงานสุรากรมสรรพสามิตบางแห่งคืน จากกลุ่มสุราทิพย์ จำกัด โดยมอบหมายให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้ดำเนินการเจรจา ในที่สุดองค์การสุราได้รับมอบโรงงานสุรา กรมสรรพสามิต จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทดแทนโรงงานเดิมโดยแลกเปลี่ยนกับโรงานสาขาขององค์การสุรา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันก็ได้ทำการเคลื่อนย้ายบางส่วนของโรงงานเดิม และปรับปรุงพื้นที่เพื่อส่งมอบคืนให้แก่[[กรมธนารักษ์]] และ[[องค์การมรดกโลก]]