ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พอลิไวนิลคลอไรด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
'''พอลิไวนิลคลอไรด์''' (Polyvinyl chloride; IUPAC: Polychloroethene) มีชื่อย่อที่ใช้กันทั่วไปว่า '''พีวีซี''' (PVC) เป็น[[เทอร์โมพลาสติก]]ชนิดหนึ่ง
 
== การใช้งาน ==
ในด้านการค้า พอลิไวนิลคลอไรด์ เป็นสินค้าที่มีคุณค่ามากในอุตสาหกรรมเคมี มากกว่า 50% ของพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ผลิตได้ทั่วโลกถูกใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร ทั้งนี้เพราะพอลิไวนิลคลอไรด์มีราคาที่ราคาถูก คงทนและง่ายต่อการขึ้นรูป ในช่วงเวลาไม่นานมานี้พีวีซีถูกนำมาใช้เพื่อแทนที่ไม้, คอนกรีต และดินด้วย อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตพอลิไวนิลคลอไรด์ ยังส่งผลในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์
 
พอลิไวนิลคลอไรด์ถูกประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ในรูปแบบของพลาสติกแข็ง เช่น ขอบกันกระแทก, ตัวบัตรต่างๆต่าง , ท่อ และในปัจจุบันได้มีการนำ พอลิไวนิลคลอไรด์มาปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมือนกับไม้เพื่อใช้แทนไม้จากธรรมชาติอย่างแพร่หลาย
 
== การเตรียม ==
[[ไฟล์:PVC-3D-vdW.png|thumb|Polyvinyl chloride]]
 
พอลิไวนิลคลอไรด์เรซิน มีลักษณะเป็นผงสีขาว มาจากกระบวนการ[[พอลิเมอไรเซชัน]] ของ[[มอนอเมอร์]][[ไวนิลคลอไรด์]] โดยกว่า 57% เป็นน้ำหนักของ[[คลอรีน]] (Chlorine, Cl) ทำให้พอลิไวนิลคลอไรด์มีส่วนผสมของ[[ปิโตรเลียม]]น้อยกว่า[[พอลิเมอร์]]ชนิดอื่น
 
[[ไฟล์:PVC-polymerisation-2D.png|center|400px|The polymerisation of vinyl chloride]]
 
เนื่องจากพอลิไวนิลคลอไรด์เรซินไม่มีคุณสมบัติการเกาะตัวกันทำให้ไม่สามารถขึ้นรูปได้ ทำให้เวลานำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการเติมสารเติมแต่งต่างๆต่าง ๆ เพื่อให้สามารถขึ้นรูปและได้คุณสมบัติที่ต้องการ
 
== คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ==
* ความหนาแน่น 1380 kg/m3
* Young's modulus (E) 2900-3300 MPa
* Tensile strength (σt) 50-80 MPa
* Elongation @ break 20-40%
* Notch test 2-5 kJ/m²
* Glass temperature 87 °C
* Melting point 212 °C
* Vicat B1 85 °C
* Heat transfer coefficient (λ) 0.16 W/ (m•K)
* Effective heat of combustion 17.95 MJ/kg
* Linear expansion coefficient (α) 8 10-5/K
* Specific heat (c) 0.9 kJ/ (kg•K)
* Water absorption (ASTM) 0.04-0.4
 
{{เรียงลำดับ|พโลิไวนิลคลอไรด์}}