ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เห็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ความหมายของเห็ด
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5815648 สร้างโดย ยุพารัตน สองศรี ([[User talk:ยุพารัตน สองศรี|...
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Am−anita pantherina 2013 G1.jpg|thumb]]
{{ปรับภาษา}}
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเห็ด
'''เห็ด''' เป็นราชนิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งใน[[อาณาจักรเห็ดรา]] ไม่สามารถสร้างอาหารให้ตัวเองได้ การเจริญเติบโตของเห็ดเป็นลักษณะเส้นใยรวมกัน<ref>http://www.simuang.ac.th/vichakhan/somchai/content_2.html</ref>มนุษย์รู้จักเห็ดและการนำเห็ดมาประกอบอาหารรับประทานมาเป็นเวลานานแล้ว ประมาณ 130 ล้านปี เห็ดนอกจากจะนำมาเป็นอาหารแล้ว
เห็ดยังมีผลต่อสภาพแวดล้อมของโลกโดยการย่อยสลายซากพืช มูลสัตว์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นการลดปริมาณของเสียบน
พื้นโลกอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดมี [[เอ็นไซม์]] (Enzyme) หลายชนิดที่ย่อยสลายวัสดุ มีโครงสร้างของอาหารที่ซับซ้อนให้อยู่ในรูปของ
สารอาหารที่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ เช่น เห็ดหอม เห็ดสกุลนางรม เห็ดกระดุม นอกจากนี้ยังมีเห็ดที่ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือ
อาศัยอาหารจากรากพืชอีกหลายชนิดในธรรมชาติ โดยมีทั้งเห็ดที่รับประทานได้และ[[เห็ดพิษ]]
 
== ความหมายของเห็ด ==
เห็ดมีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ ถ้าใช้เป็น[[อาหาร]]เห็ดจะอยู่ในกลุ่ม[[ผัก]] เห็ดเป็นพวกที่มีสารอาหารโปรตีนสูง อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญหลายชนิด
โดยเฉพาะวิตามิน B 1, B2 และมีแคลอรี่ต่ำ เห็ดถูกจัดเป็นพืชชั้นต่ำกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากเห็ดไม่มี [[คลอโรฟิล]] สังเคราะห์แสงไม่ได้ ปรุงอาหารไม่ได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยการเป็น [[ปรสิต]] (Parasite) หรือขึ้นบนรากพืชที่ตายแล้ว (Saprophyte) หรืออาศัยอาหารจากรากพืชอื่นๆ (Mycorrhiza)
โดยทั่วไปเห็ดเป็นชื่อใช้เรียกราชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการสูง สูงกว่าราอื่นๆมีวงจรชีวิตที่สลับซับซ้อนกว่าเชื้อราทั่วไป เริ่มจาก [[สปอร์]] ซึ่งเป็นอวัยวะหรือส่วนที่สร้างเซลขยายพันธุ์
เพื่อตกไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นใยและกลุ่ม [[ใยรา]] (Mycelium) เจริญพัฒนาเป็นกลุ่มก้อนเกิดเป็นดอกเห็ดอยู่เหนือพื้นดินบนต้นไม้ ขอนไม้ ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ
:เมื่อดอกเห็ดเจริญเต็มที่แล้ว จะสร้าง[[สปอร์]]ซึ่งจะปลิวไปงอกเป็นใยรา และเป็นดอกเห็ดได้อีก หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป
 
== ชนิด ==
เห็ดมีอยู่หลายชนิด โดยเห็ดที่รู้จักกันทั่วไป ที่สามารถนำมารับประทานได้และใช้เป็นสมุไพร เช่น [[เห็ดนางฟ้า]] [[เห็ดโคน]] [[เห็ดหอม]] [[เห็ดเผาะ]] [[เห็ดฟาง]] [[เห็ดลม]] [[เห็ดหูหนู]] [[เห็ดหลินจือ]]
 
== ส่วนต่างๆของเห็ด ==
#'''หมวก''' (Cap or pilleus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนสุด มีรูปร่างต่าง ๆ กันเช่น โค้งนูน รูปกรวยรูปปากแตร รูประฆัง ผิวบนหมวกต่างกัน เช่น ผิวเรียบ ขรุขระ มีขนเกล็ด มีสีแตกต่างกัน
#'''ครีบ''' (Gill or lamelta) อาจเป็นแผ่นหรือซี่บาง ๆอยู่ใต้หมวกเรียงเป็นรัศมี หรือเป็นรู (Pores) ครีบเป็นที่เกิดของสปอร์
#'''ก้าน''' (Stalk or stipe) ปลายข้างหนึ่งของก้านยึดติดกับดอก หรือหมวกเห็ด มีขนาด รูปร่าง สี ต่างกันในแต่ละชนิด บางชนิดไม่มีก้าน เช่นเห็ดหูหนู เห็ดเผาะ
#'''วงแหวน''' (Ring or annulus) เป็นส่วนที่เกิดจากเยื่อบาง ๆ ที่ยึดขอบหมวก กับก้านดอก
#'''เปลือกเยื่อหุ้มดอก''' (Vova outer veil) เป็นส่วนนอกสุดที่หุ้มหมวก และก้านไว้ภายในขณะที่ยังเป็นดอกอ่อน จะแตกออกเมื่อดอกเริ่มบาน ส่วนของเปลือกหุ้มจะยังอยู่ที่โคน
#'''เนื้อ''' (Context) เนื้อภายในหมวกหรือก้านอาจจะสั้น เหนียวนุ่ม เปราะ เป็นเส้นใย
 
== คุณสมบัติของเห็ด ==
1.เห็ดที่รับประทานได้ (Edible mushroom)
เห็ดที่รับประทานได้มักมีรสและกลิ่นหอม เนื้ออ่อนนุ่มหรือกรอบ เช่น [[เห็ดหูหนู]] [[เห็ดฟาง]] [[เห็ดนางรม]] [[เห็ดภูฏาน]] [[เห็ดโคน]] [[เห็ดตับเต่า]] บางชนิดเพาะเลี้ยงได้ บางชนิดเพาะเลี้ยงไม่ได้
 
2.เห็ดมีพิษ (Poisonous mushroom)
เห็ดมีพิษมีหลายชนิด บางชนิดมีพิษร้ายแรงถึงตาย เช่น [[เห็ดระโงกหิน]] บางชนิดมีพิษทำให้เกิดอาการอาเจียนมึนเมา เช่น [[เห็ดร่างแห]] [[เห็ดปลอกหาน]] [[เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน]] [[เห็ดขี้ควาย]] เป็นต้น
การจำแนกเห็ดพิษเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเห็ดในสกุลเดียวกัน บางชนิดรับประทานได้ บางชนิดเป็นพิษถึงตาย เช่น เห็ดในสกุล [[อะมานิตา]] (Amanita) และเห็ดรับประทานเห็ดที่รู้จักเท่านั้น เนื่องจากความเป็นพิษของเห็ดบางชนิดรุนแรงถึงตาย บางชนิดทำให้เกิดอาการอาเจียน หรือท้องร่วง พิษของเห็ดจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ตับไตและประสาทตา
 
== คุณค่าทางโภชนาการของเห็ด ==
1.มีโปรตีนสูงกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ยกเว้น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
 
2.มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (Unsaturated fatty acid)
 
3.มีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
 
4.มีแคลอรี่ต่ำ
 
5.มีวิตามินหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามิน บี 1 บี 2 วิตามิน ซี
 
6.มีส่วนประกอบของเยื่อใย(Fiber) และคาร์โบไฮเดรต
 
7.มีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด
 
== การบริโภค ==
การบริโภคเห็ด ในจีนและญี่ปุ่น นิยมนำมาทำน้ำแกง น้ำชา ยาบำรุงร่างกาย ทางฝั่งยุโรปนำไปปรุงเป็นซุป ในประเทศไทยมีการนำมาผสมในแกงต่าง ๆ รวมถึงต้มยำ และบางชนิดก็นำมาต้มจิ้มน้ำพริกอีกด้วย มีการจำหน่ายเห็ดเพื่อการบริโภค จึงมีธุรกิจทำฟาร์มเห็ด หรือการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่ายเห็ดสด รวมทั้งแปรรูปเห็ด เช่น ปลาประป๋อง อาหารแมว
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[รายชื่อเห็ด]]
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เห็ด"