ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ ตัตลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 43:
ตัตลินได้วางแผนสร้างอนุสาวรีย์นานาชาติที่สาม (The movement to the Third International) หรือ Tatlin’s tower ในปีค.ศ. 1919-1920<ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Tatlin%27s_Tower |Honour, H. and Fleming, J. (2009) A World History of Art. 7th edn. London: Laurence King Publishing, p. 819. ISBN 9781856695848</ref> หอสูงขนาดสองเท่าของ[[ตึกเอ็มไพร์สเตต]]แห่งนครนิวยอร์ก ด้วยเหล็ก แก้ว โลหะและกระจกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล อนุสาวรีย์นี้เปรียบเสมือนโครงสร้างกระดูกเหล็ก สร้างคล้ายศูนย์ควบคุมยานอวกาศ การวางตำแหน่งของห้องเล็ก ๆ ในโครงส้รางนี้จะถูกสลับที่กันปีละครั้ง เพื่อจำลองการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ห้องเลขาธิการจะถูกสลับตำแหน่งทุก 28 วัน การออกแบบจึงซับซ้อนเพื่อรองรับวัตถุประสงค์นี้ ซึ่งความฝันแบบอุดมคติของตัตลินไม่สอดคล้องกับนโยบายของ[[เลนิน]] ผู้นำสหภาพโซเวียต ที่มุ่งไปที่การขยายตัวทางการค้าและผลผลิต ดังนั้นในไม่ช้าศิลปะรัสเซียจึงสูญเสียอิสระที่จะค้นหาความหมายใหม่ แม้เป็นเพียงแบบจำลอง แต่อนุสาวรีย์นานาชาติที่สามถือเป็นงานก่อสร้างที่ทำงานได้สมบูรณ์และเป็นสัญลักษณ์ของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอุดมคติยุคใหม่
 
[[Fileไฟล์:Stockholm Moderna Museet Collection Vladimir Tatlin Letatlin, 1930-32 (5200746581).jpg|200px|left|thumb|Le Tatlin,เครื่องร่อนขับเคลื่อนโดยใช้กำลังคน, 1930-1932]] หลังจากโครงการอนุสาวรีย์นานาชาติที่สาม ตัตลินให้ความสนใจกับการเรียนการสอน ปี ค.ศ. 1920 เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สตูดิโอศิลปะของรัฐหรือสโวมัส (Svomas) ในมอสโกและเป็นรักษาการหัวหน้าสตูดิโอของปริมาณ, วัสดุ, และการก่อสร้างที่สโวมัสใน[[เปโตรกราด]] ปี ค.ศ. 1923-1925 ได้เข้าทำงานในกรมวัฒนธรรมทางวัตถุในเปโตกราด ใน ปี ค.ศ. 1923 ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมศิลปะในเปโตรกราด เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับการศึกษาทดลองของศิลปะ ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมศิลปะที่เขาออกแบบฉากและดำเนินการการแสดง Velimir Khlebnikov บทกวีของ Zangezi ในปี ค.ศ. 1923 อันเป็นความสำเร็จของลัทธิเค้าโครง และเปิดโลก[[อาว็อง-การ์ด]]ให้กว้างขึ้น
 
ผลงานที่กล่าวได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของตัตลินคือ "Le Tatlin"<ref> http://www.wsws.org/en/articles/2012/06/tat1-j19.html | Tatlin’s “new art for a new world”</ref> เครื่องร่อนที่ขับเคลื่อนโดยใช้กำลังคน จากศึกษาการบินและโครงสร้างปีกของ[[นก]] โดยเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถบินเลียนแบบนกได้ สร้างจากกระดูก ปลาวาฬ และผ้าไหมโดยได้รับความร่วมมือจากศัลยแพทย์และนักบิน
บรรทัด 50:
 
==แนวความคิดของตัตลิน==
[[Fileไฟล์:Model of Tatlin Tower, Royal Academy, London, 27 Feb 2012.jpg|thumb|แบบจำลอง ''Tatlin's Tower'' ที่[[รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์]]หรือราชสถาบันศิลปะกรุงลอนดอน [[สหราชอาณาจักร]]]]
ส่วนมากผลงานของตัตลินนั้นจะแสดงออกในรูปแบบที่ไม่หวนไปสู่แบบดั้งเดิม แต่ผลิตเพื่อการใช้งานจริงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับศิลปะเพื่อ[[การปฏิวัติรัสเซีย]]ในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งศิลปินยุคถัดจากเขาประสบความสำเร็จโดยการใช้ศิลปะเพื่อเป็นสื่อในการผลิตโฆษณาและสร้างกระแสนิยมของรัฐ ผลงานของตัตลิน นับเป็นเวลาสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของศิลปะรัสเซีย จากการทดลองสมัยใหม่กลายเป็นการออกแบบเชิงใช้งานได้จริง