ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไร่ชาวนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
[[ไฟล์:Tranplant-rice-tahiland.JPG|thumbnail|right|ชาวนาไทย]]
'''ชาวนา''' คือบุคคลผู้ประกอบอาชีพทาง[[เกษตรกรรม]] ใน[[ประเทศไทย]]มักมีความหมายถึงผู้มีอาชีพปลูก[[ข้าว]]เป็นหลัก หมายถึงการใช้เวลา และได้รับรายได้ส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพนั้นมากกว่าอาชีพอื่น ชาวนาในประเทศไทยนับปัจจุบันไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่ที่สุดตามที่เข้าใจกัน เพราะจากการสัมมโนประชากรเกษตรปี 2551 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีอยู่เพียงร้อยละ 16.24 ของประชากรที่ประกอบอาชีพเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้คนส่วนใหญ่จะไม่ได้ประกอบอาชีพทำนาอีกต่อไป แต่ก็ยังไม่มีการสำรวจอย่างชัดเจนว่าการทำนา ปลูกข้าวเป็นกิจกรรมการเพาะปลูกที่มีคนกลุ่มไทยส่วนใหญ่ยังปฏิบัติอยู่อีกหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีการปลูกข้าวเพื่อไว้บริโภคเอง และปลูกข้าวเป็นงานอดิเรกของคนชั้นกลางในเมือง อย่างไรก็ตามเมื่อไปถามชาวชนบทส่วนใหญ่จะตอบว่าเป็นชาวนา แม้ว่ารายได้หลักจะไม่ได้มาจากการทำนา หรือไม่ได้ใช่้เวลาส่วนใหญ่ไปจากการทำนาก็ตาม ทั้งนี้เพราะการทำนากลายเป็นวัฒนธรรม และเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะวัฒนธรรมว่าด้วยข้าว และชาวนาไทย เป็นวัฒนธรรมที่ฝังแน่น และสะท้อนความแตกต่างเหลื่มล้ำที่ปรากฏในสังคมไทยได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งนี้เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้ว ยังคงต้องการให้ชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเคลื่อนย้ายแรงงานหรืออพยพเข้ามาในเมือง เพราะเป็นพื้นที่ ที่ไม่เหมาะกับความรู้ ความสามารถของชาวนา
 
การทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูก[[ข้าวนาปรัง]] หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยง[[ปศุสัตว์]]หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น [[ปลา]] และ [[เป็ด]] เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน