ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระเบิด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
→‎วัตถุระเบิด: http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/139/index139.htm
บรรทัด 16:
ระเบิดยังนำมาใช้งานด้านวิศวกรรม เช่น การระเบิดหินเพื่อทำถนน การระเบิดในเหมืองเพื่อเปิดหน้าเหมือง การระเบิดในงานเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียม
 
 
=='''วัตถุระเบิด'''==
 
วัตถุระเบิดหมายถึงวัตถุทางเคมี ที่มีความสามารถในการลุกไหม้และปลดปล่อยแก๊สปริมาณมากออกมาโดยฉับพลัน การจำแนกวัตถุระเบิดตามลักษณะได้ 4 ชนิด คือ
# ชนิดของแข็ง เช่น TNT. และ Ted triton
# ชนิดของเหลว เช่น ไนโตรกรีเซอรีน และ เคมีจำพวกไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
# ชนิดผง ได้แก่ ไดนาไมท์, PETN. และ แอมโมเนียมไนเตรท
# ชนิดวัสดุผสม ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 และดินระเบิด Tatting
 
'''วัตถุระเบิด สามารถจำแนกตามอำนาจทำลายได้ 5 ประเภท ดังนี้'''
# ประเภทแตกหัก ได้แก่ TNT. Dynamite และ Ted triton ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด ไม่มีกลิ่น และไม่มีเขม่าควัน อำนาจระเบิดจะมีแรงกดดันสูง สามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีทำลายให้แตกป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ยกเว้น Dynamite วัสดุที่ถูกทำลายด้วยดินระเบิดชนิดนี้จะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ
# ประเภทตัด ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลวจึงมีลักษณะนิ่ม อ่อนตัว สามารถบิและปั้นได้ เมื่อเกิดระเบิดไม่มีกลิ่นและเขม่าควัน อำนาจระเบิดมีความร้อนสูง สามารถละลายตัดโลหะได้ในพริบตา แต่จะมีอำนาจทำลายเป็นบริเวณไม่กว้างมากนัก จึงนิยมนำไปใช้ในสถานที่คับแคบ เป็นดินระเบิดที่สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ดี
# ประเภทเจาะ ได้แก่ ดินระเบิดโพรง และ แอมโมเนียมไนเตรท ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด จะมีกลิ่นรุนแรง และมีเขม่าควันสีดำจับบริเวณที่เกิดระเบิด โดยเฉพาะระเบิดแอมโมเนียมไนเตรทนั้น วัสดุหลักมาจากปุ๋ยเคมีผสมกับแอมโมเนียม หรือน้ำมันดีเซล ในสถานที่เกิดระเบิด จึงมีกลิ่นฉุนเฉียวของแอมโมเนีย หรือกลิ่นของน้ำมันดีเซลอยู่ด้วย อำนาจแรงระเบิดส่วนใหญ่ของดินระเบิดชนิดเจาะสามารถบังคับทิศทางได้ด้วย บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้ม และแรงระเบิดส่วนใหญ่หากวางไว้โดยไม่กำหนดทิศทาง จะเจาะลงพื้นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้เกิดหลุมระเบิด ณ บริเวณจุดที่ระเบิดขึ้นเสมอ และสังเกตจากสถานที่ถูกวางระเบิด วัสดุที่ถูกทำลายจะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไปใช้ในกิจการโรงโม่หิน เนื่องจากระเบิดแล้วจะได้หินก้อนใหญ่มาเข้าเครื่องบด หากใช้ TNT หินก็จะถูกระเบิดแตกป่นเป็นฝุ่นเสียส่วนใหญ่ ส่วนดินระเบิดโพรง หรือ เชจชาร์ฟ เป็นดินระเบิดประเภทเจาะที่ให้ความร้อนสูงมากสามารถละลายโลหะ หรือคอนกรีตหนา ๆ ให้ทะลุเป็นช่องได้ในพริบตา จึงนิยมใช้เป็นดินระเบิดนำในหัวรบของจรวดต่อสู้รถถัง และใช้ในงานขุดเจาะบ่อหรืออุโมงค์เป็นส่วนใหญ่
# ประเภทนำ ได้แก่ PETN. หรือ ฝักแคระเบิด ลักษณะเป็นสายเส้นยาวเหมือนสายไฟกลม ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง เหลือง หรือเขียวมะกอกคล้ายสายชนวนดินดำ ต่างกันที่วัตถุระเบิดที่บรรจุจะเป็นผงสีขาวผสมเรซิ่นเหลว สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ โดยปกติ PETN. จะถูกนำไปใช้ต่อพ่วงกับดินระเบิดชนิดอื่น เพื่อให้สามารถวางระเบิดพร้อมกันได้หลาย ๆ จุดโดยการใช้เครื่องจุดระเบิด และเชื้อประทุเพียงชุดเดียว นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการตัดต้นไม้ หรือตัดเหล็กโดยการพันรอบแล้วจุดระเบิด
# บังกะโลตอร์ปิโด เป็นดินระเบิด Composition C-4 บรรจุในท่ออะลูมิเนียมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 เมตร มีข้อต่อสามารถนำมาต่อกันเป็นท่อนยาวได้ตามต้องการ บังกะโล ตอร์ปิโด นิยมใช้วางและจุดระเบิดเพื่อเปิดทางที่เป็นละเมาะหนาทึบ แรงระเบิดของบังกะโลตอร์ปิโด สามารถทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังไว้ใต้ผิวดินได้ทุกชนิด นิยมใช้เจาะช่องทาง และทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ผิวดิน
 
'''ลักษณะทั่วไปของวัตถุระเบิด'''
# ดินระเบิด TNT และ Ted triton เป็นของแข็งและแห้ง สีเหลืองเจือขาวเล็กน้อยเหมือนก้อนกำมะถัน ดินระเบิด TNT จะห่อหุ้มด้วยกระดาษแข็งสีเขียวมะกอกคาดเหลือง หัว-ท้ายปิดด้วยแผ่นเหล็ก ด้านหนึ่งมีรูสำหรับใส่เชื้อประทุ มีตัวอักษร TNT และ HI-Explosive ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ขนาดบรรจุ 1/4 ปอนด์, 1 ปอนด์ และ 8 ปอนด์ ดินระเบิด Ted triton จะเป็นแท่งเปลือยไม่ปรากฏอักษรและสัญลักษณ์ใด ๆ ขนาดแท่งละ 1 ปอนด์ ร้อยต่อกันด้วยชนวนฝักแคระเบิดจำนวน 8 แท่ง สามารถตัดแยกออกไปใช้งานเป็นแท่งเดี่ยว หรือจะใช้บางส่วน หรือทั้งหมดก็ได้
# ดินระเบิด Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลว ในรุ่น C-2, C-3 มีสีเหลือง เมื่อจับต้องจะเหนียวติดมือ ส่วนรุ่น C-4 เป็นผงสีขาวสะอาด จับต้องได้ไม่ติดมือ
# ดินระเบิดโพรง ลักษณะเป็นแท่งใหญ่ ด้านหนึ่งเป็นกรวยปลายป้าน มีรูใส่เชื้อประทุ ห่อหุ้มด้วยไฟเบอร์ทาสีดำ
# แอมโมเนียมไนเตรท แบบมาตรฐานจะถูกบรรจุในถังสีเขียวมะกอก สูงประมาณ 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สำหรับแบบแสวงเครื่อง นิยมบรรจุใส่กระป๋องโลหะ อย่างเช่นกระป๋องนมผง เนื่องจากดินระเบิดชนิดนี้มีลักษณะเหมือนวุ้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พาวเวอร์เจล และไม่นิยมห่อหุ้มด้วยกระดาษเพราะจะทำให้ดินระเบิดคลายความชื้น และเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว
# ดินระเบิด Dynamite มีส่วนผสมจากไนโตรกรีเซอรีนกับเรซิ่นผง จึงมีลักษณะเป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้มคล้ายน้ำตาลทรายแดง ปกติห่อด้วยกระดาษไขสีน้ำตาลเป็นแท่ง ๆ ละ 1 ปอนด์
 
'''เครื่องจุดระเบิด''' เครื่องจุดระเบิดมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ
# ชนิดกด
# ชนิดเลิกกด
# ชนิดดึง
# ชนิดเลิกดึง
# ชนิดถ่วงเวลา
# ชนิดแสวงเครื่อง
 
'''เชื้อประทุ''' เชื้อประทุมาตรฐาน ลักษณะเป็นหลอดอะลูมิเนียมผิวเรียบ ขนาดเท่ากับหลอดยาหอม 5 เจดีย์ ความยาวเท่ากับบุหรี่ก้นกรอง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
# ชนิดธรรมดา ใช้ประกอบกับสายชนวนดินดำ จุดด้วยไฟ
# ชนิดไฟฟ้า ใช้ต่อกับสายไฟยาว จุดด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือ แมกนีโต
 
'''วัตถุระเบิดชนิดแสวงเครื่อง''' หมายถึงการประกอบวัตถุระเบิดเพื่อใช้งานจากวัสดุที่หาได้ใกล้ตัว วัตถุระเบิดแสวงเครื่องจึงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน อีกทั้งไม่มีตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ แสดงให้เห็นว่าเป็นวัตถุระเบิดอีกด้วย
'''วัสดุที่ใช้บรรจุและห่อหุ้มวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง''' ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน มีดังนี้
# ประเภทกระป๋อง ได้แก่ กระป๋องนมผง กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องใบชา ฯลฯ ที่มีขนาดใหญ่พอจะใส่วัตถุระเบิด พร้อมทั้งเครื่องจุดและสะเก็ดระเบิดได้
# ประเภทหีบห่อ เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าหนีบ กล่องพัสดุ
# ประเภทวัสดุก่อสร้าง เช่นท่อประปา ท่อเอสล่อน
# ประเภทห่อหุ้ม เช่นใส่ในถุงพลาสติกแล้วพันด้วยเทปกาวให้แน่น
# ประเภทวัสดุท้องถิ่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ กระติบข้าวเหนียว หม้อหุงข้าว ถังใส่น้ำ ฯลฯ
 
'''เครื่องจุดระเบิดชนิดแสวงเครื่อง''' ไม่มีลักษณะตายตัว แต่พอแบ่งออกได้ดังนี้
# ชนิดสะดุด มักทำด้วยลวดและกับดักหนู หรือไม้หนีบผ้า
# ชนิดดึง มักทำด้วยเชือกกับไม้หนีบผ้า หรือไม้หนีบทำเอง กับลิ่มกันไฟ
# ชนิดตั้งเวลา ด้วยนาฬิกาควอซ หรือนาฬิกาปลุก
# ชนิดไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์บังคับระยะไกล มักทำด้วยโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ หรือ รีโมทคอนโทรล
 
'''การปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นวัตถุระเบิด'''
ข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไป และเจ้าหน้าที่ ๆ มิใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด
*กันคนออกจากสถานที่ ๆ พบวัตถุต้องสงสัย ให้อยู่ห่างจากจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยอย่างน้อยที่สุด 100 เมตรโดยรัศมี
*อย่าแตะต้อง เคลื่อนย้าย หรือยกวัตถุต้องสงสัยโดยพลการ เพราะคนร้ายอาจติดตั้งชนวนกันเคลื่อนไว้ที่วัตถุระเบิดด้วย หากรีบยก หรือเคลื่อนย้ายโดยขาดความรู้ความชำนาญ ระเบิดจะทำงานทันที หรือคนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อาจกดเครื่องจุดระเบิดระยะไกลให้ระเบิดทำงานทันทีที่เห็นคน หรือเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดนั้น (กรณีนี้เคยมีตัวอย่างที่ภาคใต้ โดยคนร้ายซ่อนวัตถุระเบิดไว้ในรถ จยย. เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้ จยย.คันดังกล่าวเพื่อตรวจสอบ คนร้ายได้จุดระเบิดทันที ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บอีกหลายนาย)
*แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานเก็บกู้วัตถุระเบิดเพื่อดำเนินการทันที
 
'''เพิ่มเติม''' ดินระเบิดทุกชนิด หากไม่ได้ประกอบไว้กับเชื้อประทุ จะไม่มีอันตรายใด ๆ สามารถนำมาเตะเล่นแทนตะกร้อก้อได้ หรือจะนำไปจุดไฟ ก้อจะได้เปลวไฟสว่างสีขาวนวล สามารถนำไปหุงต้มแทนฟืนได้เป็นอย่างดี....
 
'''เพิ่มเติม''' ดินระเบิดทุกชนิด หากไม่ได้ประกอบไว้กับเชื้อประทุ จะไม่มีอันตรายใด ๆ สามารถนำมาเตะเล่นแทนตะกร้อก้อได้ หรือจะนำไปจุดไฟ ก้อจะได้เปลวไฟสว่างสีขาวนวล สามารถนำไปหุงต้มแทนฟืนได้เป็นอย่างดี.... <ref>http://article.zubzip.com/?article-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99..-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94-841</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ระเบิด"