ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดศาลาลอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: อุโบสถ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วัดศาลาลอย''' ตั้งอยู่ที่[[จังหวัดนครราชสีมา]] เป็นวัดเก่าแก่ที่[[ท้าวสุรนารี]]สร้างขึ้นภายหลังจากรบชนะกองทัพของ[[เจ้าอนุวงศ์]] เมื่อปี พ.ศ. 2370 <ref name="เว็บไซต์1">[http://www.nmc.ac.th/culture/korat10.php ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยนครราชสีมา]</ref>ซึ่งได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จุดเด่นของวัดนี้ อยู่ที่อุโบสถหลังใหม่ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จาก[[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]]ปี พ.ศ. 2516<ref name="รางวัล1">[http://www.asa.or.th/?q=node/102634 เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม หน้า News and Event]</ref> และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์[[พระเจ้าเปิดโลก]] ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก[[มหาเวสสันดรชาดก]] (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร พระนามว่า"พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์" หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี<ref name="เว็บไซต์1"/>
 
== ความเป็นมา ==
วัดศาลาลอย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโคราชเคารพนับถือเป็นอย่างมากเป็นเวลากว่า 200 ปี เมื่อครั้งท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เสร็จศึกสงครามจากทุ่งสัมฤทธิ์ ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา ได้แวะพักบริเวณท่าตะโก และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถ เป็นวัดศาลาลอยในปัจจุบัน และยังเป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีภายในวัด ท่านได้นมัสการพระประธาน และ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ อุโบสถหลังเก่า พร้อมชมศิลปะประยุกต์ อุโบสถเรือสำเภาประดับด้วยกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนด้วย วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราชสืบมาจนถึงปัจจุบัน<ref name="เว็บไซต์1"/>
 
==สถานที่ตั้ง==
บรรทัด 10:
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เรียงลำดับ|ศาลาลอย}}
 
[[หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย]]
 
[[หมวดหมู่:วัดไทยในจังหวัดนครราชสีมา]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดนครราชสีมา]]
{{โครงสถานที่}}
{{โครงวัดไทย}}