ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังสวนบ้านแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5663654 สร้างโดย 49.230.216.171 (พูดคุย) copy จาก www.wangsuanbankaew.com
บรรทัด 10:
 
ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๕๑๕ พระองค์ทรงมีพระชมมายุสูงขึ้น และพระพลานามัยไม่สมบูรณ์นัก ดังนั้น เมื่อรัฐบาลได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานที่ดินสวนบ้านแก้ว เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยครูจันทบุรี โดยทูลถวายเงินเพียง ๑๘ ล้านบาท ด้วยพระราชปณิธานและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในการพระราชทานโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในจังหวัดจันทบุรี จึงทรงเสียสละพระราชทานสวนบ้านแก้วแก่กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ และได้ย้ายไปประทับ ณ วังศุโขทัย จวบจนวาระสุดท้ายของพระองค์
==หมู่พระตำหนักและอาคารประกอบ==
==สถานที่ต่างๆในวังสวนบ้านแก้ว==
พระตำหนักใหญ่ พระตำหนักเทา พระตำหนักดอนแค พระตำหนักแดง เรือนเทา เรือนเขียว เรือนแดง และสวนส่วนพระองค์
วังสวนบ้านแก้วนอกจากพระตำหนักแล้วยังมีสถานที่ต่างๆดังนี้
=== ประตูขาว ===
'''ประตูขาว''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระตำหนักเทาประกอบด้วยประตู2บานออกสู่ถนนสุขุมวิทลักษณะเป็นไม้สีขาวมีป้อมยามตั้งอยู่ด้านซ้ายมือเป็นเส้นทางสำหรับเสด็จพระราชดำเนินปัจจุบันประตูชำรุด
=== ศาลพ่อปู่โปงลาน ===
'''ศาลพ่อปู่โปงลาน''' มีประวัติความเป็นมาว่าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในรัชกาลที่7ได้เสด็จมาประทับ ณ วังสวนบ้านแก้วแห่งนี้ได้ประมาณปีเสร็จได้เสด็จมาประทับ ณ วังแห่งนี้ได้ปีเศษจึงทรงนิมิตเห็นแล้วจึงโปรดให้ทางกรุงเทพปั้นรูปเจ้าพ่อตามลักษณะนั้นไว้ที่เนินเขาโปงลาน
=== สนามกล๊อฟ ===
'''สนามกล๊อฟ''' เป็นสนามกล๊อฟขนาดเล็กมีจำนวน9หลุม ประกอบด้วยหลุมพาร์ห้า2หลุมหลุมพาร์สี่5หลุม หลุมพาร์สาม2หลุม มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ
=== ศาลาทรงไทยกลางน้ำ ===
'''ศาลาทรงไทยกลางน้ำ''' เป็นศาลาทรงไทยกลางคลองบ้านแก้ว ทางขึ้น–ลงอาศัยบันไดปูนสะพานไม้ที่เชื่อมกับตัวศาลา กลางทางด้านทิศตะวันตก ศาลาหลังนี้มีฐานที่สร้างจากคอนกรีต ตัวศาลาสร้างจากไม้หลังคาแบบจตุรมุข มุงสังกะสี บุหน้าจั่วด้วยแผ่นยิบซั่มล้อมรั้วด้วยลูกกรงไม้ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำระเบียงยื่นออกและเชื่อมกับศาลาใหญ่ โปรดให้นำพระกระยาหารมาเสวยเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ
=== เตาเผาถ่าน ===
'''เตาเผาถ่าน''' ตั้งอยู่ใกล้หอพักนักศึกษาหญิงด้านทิศใต้เป็นเตาเผาอิฐ เตาเผาถ่านมีอยู่ด้วยกัน ๒ เตา แต่ละเตามีขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕.๓๐ เมตร ความสูง ๓ เมตร ด้านในเป็นห้องเก็บถ่าน มีการสร้างหลังคาและกำแพงเพื่อป้องกันภัยจากธรรมชาติ ปัจจุบันยังคงสภาพเดิม สามารถใช้งานได้
=== เตาเผาอิฐ ===
'''เตาเผาอิฐ''' ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเตาเผาถ่านประมาณ ๑๕ เมตร สร้างขึ้นเพื่อเผาอิฐในการก่อสร้างพระตำหนัก มีอยู่ ๒ เตา ขนาดของเตาใกล้เคียงกับเตาเผาถ่าน สร้างด้วยหลังคามุงจากคลุมไว้ อิฐที่ทำออกมาประทับตราเป็นตัวอักษร ส บ ก (สวนบ้านแก้ว) ด้านทิศเหนือของเตาเผาถ่านมีรางน้ำที่ใช้สำหรับการปั้นอิฐ
=== สระน้ำ ===
'''สระน้ำ''' ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่ ในอดีต สระน้ำนี้จะใช้เป็นที่เลี้ยงเป็ดโดยจะมีการตีแผงไม้ไผ่กั้นเป็นคอก ส่วนที่ลึกลงไปบริเวณกลางสระจะมีการปลูกบัวเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน มีการขุดขยายคลองให้มีพื้นที่กว้างขึ้น และนำน้ำมาใช้โดยทั่วไปในมหาวิทยาลัย
=== โรงเลี้ยงวัว ===
'''โรงเลี้ยงวัว''' ตั้งอยู่เยื้องศาลพ่อปู่โป่งลานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แรกเริ่มชาวบ้านได้นำเอาวัว มาถวาย สมเด็จก็ทรงเลี้ยงไว้ โดยการเลี้ยงตามธรรมชาติ ปล่อยให้กินหญ้าไปเรื่อย ๆ จากการที่เลี้ยงวัว ไม่กี่ตัว ก็แพร่พันธุ์เป็นร้อย ๆ ตัว ซึ่งก็มีประโยชน์ในการปราบหญ้าเป็นอย่างดี ลักษณะของโรงวัว หลังคาจั่วลดหลั่น ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ มีบ้านพักคนเลี้ยงวัวอยู่ติดกับโรงเลี้ยงวัว
=== โรงไฟฟ้า ===
'''โรงไฟฟ้า''' ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระตำหนักใหญ่ มีลักษณะเป็นลานโล่ง เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ แบ่งเป็น ๒ ชั้น เพื่อติดตั้งเครื่องปั่นไฟ สำหรับใช้ในเขตพระราชฐานทั้งหมด ก่อนที่จะมีการโยกย้ายมายังโรงไฟฟ้าหลังที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงจอดรถด้านทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เหลือเพียงพื้นซีเมนต์และแท่นปูน ส่วนตัวอาคารไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่
=== คลังน้ำมัน ===
'''คลังน้ำมัน''' เป็นอาคารก่ออิฐไม่ถือปูนหลังคามุงกระเบื้องด้านข้างใต้หลังคามีการทำช่องระบายอากาศทั้ง ๒ ด้าน ประตูเข้าออกอยู่ด้านทิศเหนือสร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำมันชนิดต่าง ๆ ที่ใช้กับยานพาหนะและเครื่องปั่นไฟของวังสวนบ้านแก้วปัจจุบันอาคารหลังนี้ไม่ได้ถูกใช้งานแต่สภาพโดยทั่วไปยังคงความสมบูรณ์
=== เล้าไก่ ===
'''เล้าไก่''' เป็นเรือนชั้นเดียวก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่ห่างจากพระตำหนักใหญ่ไปทางทิศใต้ประมาณ ๔๐๐ เมตร ในอดีตเป็นโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ และต่อมาได้มีการต่อเติมโรงรถและดัดแปลงสภาพตัวเรือนบางส่วน เพื่อใช้เป็นบ้านพักของอาจารย์
=== บ้านคนรับใช้หม่อมเจ้า ประดิษฐา จักรพันธุ์ ===
'''บ้านคนรับใช้หม่อมเจ้า ประดิษฐา จักรพันธุ์ ''' ตั้งอยู่ห่างจากตัวพระตำหนักใหญ่ไปทางทิศใต้ประมาณ ๔๐๐ เมตร ตัวเรือนสร้างจากไม้ มีพื้น และผนังบางส่วนเป็นปูนซีเมนต์ หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ ตีฝ้าเพดานด้วยไม้ลักษณะคล้ายฝากระดานบ้าน ทาด้วยสีน้ำตาล ภายในแบ่งเป็น ๓ ห้องนอน ๑ ห้องครัว ห้องครัวอยู่ทางทิศตะวันตก ห้องน้ำและห้องส้วม เชื่อมกับตัวบ้านทางทิศตะวันออก บันไดทางขึ้นทำด้วยปูนซีเมนต์อยู่ทางทิศใต้ติดกับห้องน้ำ และมีบันไดปูนซีเมนต์เชื่อมระหว่างตัวบ้านกับห้องน้ำ - ห้องส้วม ตัวบ้านมีลักษณะค่อนข้างทึบ จึงมีหน้าต่าง โดยรอบตัวบ้าน
=== เรือนท่านเป้ง ===
'''เรือนท่านเป้ง''' ตั้งอยู่ห่างจากตัวพระตำหนักใหญ่ไปทางทิศใต้ ประมาณ ๔๐๐ เมตร เป็นเรือนไม้สัก ๒ ชั้นครึ่งตึก ครึ่งไม้ ทาสีเขียวอ่อนทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่สีเขียว ใช้เป็นที่ประทับของ หม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์
=== สถานที่เซ็นชื่อและจ่ายเงิน ===
'''สถานที่จ่ายเงิน''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระตำหนักใหญ่ ลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ เดิมเป็นที่ที่ทำการธุรการเกี่ยวกับการลงชื่อเวลาการทำงาน และสำหรับเป็นที่จ่ายเงินให้พนักงาน
=== ห้องสุขา ===
'''ห้องสุขา''' มีจำนวน ๔ ห้อง สร้างจากอิฐแดง สูงจากพื้นประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ปัจจุบัน ตัวอาคารได้พังเสียหายจนหมด
=== ตากกก ===
'''ตากกก''' เป็นลานโล่งลาดพื้นด้วยซีเมนต์ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๓ x ๕ เมตร ไม่มีหลังคาคลุม
=== อ่างแช่กก ===
'''อ่างแข่กก''' เป็นอ่างก่ออิฐถือปูน จำนวน ๖ อ่าง แต่ละอ่างมีความสูง ๘๐ เซนติเมตร มีก๊อกน้ำติดตั้งกับตัวอ่าง และเจาะรูระบายน้ำไว้ก้นอ่าง ปัจจุบันสภาพของอ่างยังคงสมบูรณ์
=== โรงทอเสื่อ ===
'''โรงทอเสื่อ''' ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ อยู่ห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ ๒๐๐ เมตร ภายในโรงทอเสื่อประกอบด้วย
เตาย้อมกก เตานี้แบ่งส่วนการใช้งานออกเป็น ๔ ส่วน เชื่อมต่อกัน คือ
*ส่วนที่ ๑ ที่ใส่ฟืนหรือถ่าน ด้านในจะมีตะแกรงเหล็กวางอยู่ ด้านบนมีหลังคาที่หล่อจากปูนซีเมนต์คลุม เมื่อต้องการใช้งานก็จะนำฟืนหรือถ่านมาวางบนตะแกรง และจุดไฟจากนั้นความร้อนก็จะถูกส่งไปยังส่วนที่ ๒ คือ เตาตั้งกระทะใบบัวที่ใช้ย้อมกก ปัจจุบันตะแกรงได้สูญหาย
*ส่วนที่ ๒ เตาตั้งกระทะใบบัว ส่วนนี้จะทำหลังคาคล้ายกับส่วนที่ ๑ แต่จะเจาะรูกลมสำหรับตั้ง กระทะใบบัว ที่ใช้ย้อมกก
*ส่วนที่ ๓ ปล่องควันช่วงที่ ๑ ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกับปล่องควันส่วนที่ ๔ ปล่องควันนี้ทำจากอิฐแดง สร้างขนานไปกับพื้นดินเป็นชั้นลดหลั่นลงมา สูงจากพื้นดินประมาณ ๘๐ เซนติเมตร
*ส่วนที่ ๔ ปล่องควันช่วงที่ ๒ ส่วนนี้สร้างสูงจากพื้นดิน สูงขึ้นไปบนอากาศประมาณ ๓ เมตร ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับปล่องควันที่ใช้ตามบ้าน หรือ โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เตาย้อมกกนี้ ทุกส่วนใช้อิฐแดง ในการก่อสร้าง พื้นล่างของเตาราดปูนซีเมนต์
=== อ่างรับน้ำ ===
'''อ่างรับน้ำ''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ อยู่ห่างจากโรงทอเสื่อประมาณ ๑๐๐ เมตร อ่างรับน้ำเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ก่อสร้างด้วยอิฐบล็อกขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๗ เมตร พาดอยู่ตามขวาง สร้างขึ้นเป็นคันกั้นน้ำ เพื่อลดความแรงของน้ำในขณะที่ปล่อยน้ำ ให้ไหลลงมายังที่พักน้ำ อ่างรับน้ำนี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นอ่างรับน้ำแล้วปล่อยน้ำให้ไหลลงมายังรางรดน้ำผัก ทั้ง ๙ ราง เพื่อนำน้ำมาใช้ในการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงกับอ่างรับน้ำนี้ ในปัจจุบันยังมีน้ำขังอยู่แต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ใด ๆ
=== ไร่แตงโม ===
'''ไร่แต่งโม''' อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ติดกับสวนมะพร้าวและสนามกอล์ฟส่วนพระองค์ สมเด็จฯทรงนำเมล็ดแตงโมบางเบิดมาทำการทดลองปลูก ซึ่งได้ผลผลิตเป็นอย่างดีแตงโมบางเบิดเป็นแตงโมที่มีขนาดใหญ่ แต่ละผลน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๑๐ กิโลกรัม ลักษณะรูปร่างเรียว ไม่กลมเหมือนแตงโมบางพันธุ์
ปัจจุบัน มีการสร้างถนนตัดผ่านไปยังบ้านพักอาจารย์ ไม่หลงเหลือสภาพไร่แตงโมให้เห็น
=== ป่าส้ม ป่ามันสำปะหลัง ===
'''ป่าส้ม ป่ามันสำปะหลัง''' ในอดีตนั้นปลูกจำนวนมากหลายแห่ง จากการสัมภาษณ์บุคคล ที่เคยรับใช้สมเด็จฯ ได้บอกว่าปลูกส้ม ปลูกมันสำปะหลังเป็นพื้นที่กว้างมากตั้งแต่บริเวณ โรงอาหาร เสาธง อาคารศิลปะ ตลอดจนอาคารเรียนทั้ง ๔ อาคาร และบริเวณรอบ ๆ หอประชุมใหญ่ด้วย พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวนี้ เป็นเนินเขาเล็ก ๆ เป็นที่ดอน ค่อนข้างแห้งแล้ง ซึ่งเหมาะที่จะปลูกส้ม ปลูกมันสำปะหลัง เพราะเป็นไม้ผลทีค่อนข้างทนความแห้งแล้งได้ดีเวลาที่มันสำปะหลังให้ผลผลิตจะใช้คนในสวนบ้านแก้วรวมทั้งทหารรักษาเวรยามนั้นเป็นคนช่วยทำการขุดถอนขึ้นมา ในปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวนี้เป็นอาคารเรียนเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย
=== รางรดน้ำผัก ===
'''รางรดน้ำผัก''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวพระตำหนักใหญ่ อยู่ถัดมาจากอ่างรับน้ำรางรดน้ำผักเป็นรางเล็ก ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อสร้างจากอิฐบล็อก โดยขุดดินลงไปประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แล้วก่ออิฐบล็อกขึ้นมาเพื่อเก็บน้ำไว้ มีรางน้ำทั้งหมด ๙ ราง โดยอยู่จากอ่างรับน้ำแล้วถัดต่อมาเรื่อย ๆ จากทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออก รางน้ำแต่ละรางสร้างลดหลั่นกันมาเพื่อให้น้ำไหลมาได้ตลอดทั้ง ๙ ราง
=== สถานที่ที่เคยปลูกข้าว ===
'''สถานที่ที่เคยปลูกข้าว''' เป็นพื้นที่ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่อยู่ถัดมาจากสระน้ำใหญ่ซึ่งพื้นที่นี้เป็นที่ราบลุ่มกว้างประมาณ2ไร่ลักษณะเป็นที่ราบหุบเขามีลำน้ำคลองบ้านแก้วไหลผ่านทางด้านทิศใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการเกษตรเป็นอย่างยิ่งในอดีตใช้พื้นที่นี้ปลูกข้าวเพื่อไว้บริโภคเองแต่ข้าวที่นำมาปลูกนี้ไม่ค่อยให้ผลผลิตเท่าที่ควร จึงไม่เพียงพอกับปริมาณที่ต้องการ ในปัจจุบัน พื้นที่ที่ใช้ในการปลูกข้าวได้ใช้เป็นสนามฟุตบอลและสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีแล้วแต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบอยู่
=== ป่ามะพร้าว ===
'''ป่ามะพร้าว''' ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวพระตำหนักใหญ่ อยู่ถัดไปจากเรือนพยาบาลมีเนื้อที่ปลูกประมาณ2ไร่ปลูกมะพร้าวเป็นแถวประมาณ25แถวๆละประมาณ10ต้นแต่ละแถวห่างกันประมาณ10เมตรส่วนพื้นที่ใต้ต้นมะพร้าวจะเป็นป่าหญ้า
=== สถานที่ปลูกพืนสวนครัว ===
'''สถานที่ปลูกพืชสวนครัว''' ตั้งอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ซึ่งเป็นแถวยาวขนานกับอ่างเก็บน้ำอ่างพักน้ำในอดีตสมเด็จฯทรงโปรดการปลูกพืชสวนครัวพืชที่ปลูกมากได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักกาดเขียวเป็นต้น สมเด็จฯทรงปลูกและดูแลด้วยพระองค์เอง โดยผลผลิตที่ได้จะนำมาใช้ในโรงครัว การปลูกพืชสวนครัว นำน้ำจากอ่างพักน้ำมาใช้ในการเพาะปลูก ในปัจจุบันมีการสร้างถนนตัดผ่านทางแยกอ่างเก็บกักน้ำกับพื้นที่ปลูกพืชสวนครัวไว้คนละฟากถนนกัน
=== สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเล้าไก่ ===
'''สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเล้าไก่''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ซึ่งอยู่บริเวณป่ามะพร้าวมีลักษณะเป็นโรงเรือนคล้ายกับเล้าไก่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีจำนวน8โรงเรือน ส่วนอีก6โรงเรือนหันหน้าไปทางทิศใต้และโรงเรือนที่หันหน้าไปทางทิศใต้มีบ่อน้ำซึ่งทำจากปลอกบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ120เซนติเมตรจำนวน2ขอบต่อกันขึ้นไปมีจำนวน3บ่อส่วนโรงเรือนนั้นก่อสร้างจากอิฐแดงทั้งหมดบางโรงมีแต่ผนัง2ด้านเท่านั้นบริเวณส่วนหน้าของโรงเรือนมีการก่ออิฐแดงขึ้นมาประมาณ80เซนติเมตรยาวประมาณ7เมตรกั้นเป็นล็อคจำนวน14ล็อคแต่ละโรงเรือนมีช่องว่างตามฝาผนังคล้ายบานหน้าต่างและยังไม่มีการสร้างหลังคาคลุมสิ่งก่อสร้างนี้ควบคุมการสร้างโดยม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากรแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ม.ร.ว. สมัครสมาน กฤดากร ถึงแก่อนิจกรรมทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักและไม่มีผู้ทราบจุดประสงค์ในการก่อสร้างครั้งนี้
=== บ้านพักสำหรับแขก ===
'''บ้านพักสำหรับแขก''' ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ ๑๕๐ เมตรลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวสีเทาตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมีระเบียงหน้าบ้าน ภายในบ้านแบ่งเป็น ๒ ห้อง หลังคามุงกระเบื้อง
=== บ้านพักมหาดเล็ก ===
'''บ้านพักมหาดเล็ก''' เป็นบ้านก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้องทอดความยาวจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกอยู่เยื้องๆกับโรงไฟฟ้า
=== บ้านพยาบาล ===
'''บ้านพยาบาล''' เป็นบ้านก่อด้วยอิฐถือปูน ชั้นเดียว ใช้เป็นสถานพยาบาลของข้าราชบริพาร
=== บ้านพักพ่อบ้าน ===
'''บ้านพักพ่อบ้าน''' เป็นบ้านก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่ สภาพคงเดิมไว้อย่างสมบูรณ์
=== บ้านพักตำรวจรักษาพระองค์ ===
'''บ้านพักตำรวจรักษาพระองค์''' ลักษณะเป็นอาคารไม้สีน้ำตาล ยกใต้ถุนสูงหลังคามุงกระเบื้อง เป็นห้องแถวที่วางผังเป็นรูปตัวแอล เป็นบ้านพักตำรวจสันติบาลและตำรวจภูธรที่ตามเสด็จสมเด็จฯ ไปสถานที่ต่าง ๆ และมีการต่อเติมโรงเก็บรถทางด้านทิศใต้ของอาคาร
=== บ้านหม่อมราชวงศ์ บัณฑิต จักรพันธุ์ ===
'''บ้านหม่อมราชวงศ์ บัณฑิต จักรพันธุ์''' ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ200เมตรลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวสีน้ำตาลหันหน้าไปทางทิศใต้หลังคามุงกระเบื้องมีระเบียงหน้าบ้านและมีบันไดทางขึ้น–ลงทำจากปูนจำนวน3ขั้น
=== บ้านพักคุณยายแม้น ===
'''บ้านพักคุณยายแม้น''' คุณยายแม้น คือ มารดาของชายาหม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์ ลักษณะบ้านพักเป็นบ้านก่ออิฐ ถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องที่ตั้งเยื้องกับตำหนักน้อยด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๔๐ เมตร
=== สระที่ให้สุนัขลงเล่นน้ำ ===
'''สระที่ให้สุนัขลงเล่นน้ำ''' สระนี้อยู่บริเวณด้านข้างซ้ายมือของศาลาทรงไทย ได้โปรดให้สร้างสระน้ำสำหรับให้สุนัขลงเล่นน้ำสร้างด้วยอิฐถือปูน ความยาวประมาณ ๓๐ เมตร และสร้างสระบัวต่อยาวประมาณ ๓๐ เมตร
=== ศาลาทรงไทย ===
'''ศาลาทรงไทย''' ตั้งอยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอนแคเป็นศาลาทรงไทยที่สมเด็จฯโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนสมเด็จฯโปรดการเสวยพระกระยาหารแบบพื้นบ้าน ก็ใช้ศาลาทรงไทยเป็นที่ประกอบอาหาร โดยมีชาวบ้านในแถบใกล้เคียงนำเครื่องเทศต่าง ๆ มาถวาย เพื่อให้สมเด็จฯ เป็นผู้ทรงลงมือประกอบอาหารด้วยพระองค์เอง สมเด็จฯ โปรดการตำน้ำพริกมาก ลักษณะการก่อสร้างเป็นศาลาทรงไทย มีเสา ๔ ต้น ทำจากไม้ หลังคา มุงกระเบื้อง มีพื้นเป็นปูนยกขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ปัจจุบันสภาพคงเดิม
=== สระน้ำ ===
'''สระน้ำ''' ตั้งอยู่ด้านหลังพระตำหนักดอนแค เป็นสระซีเมนต์ขนาดใหญ่ สระน้ำนี้สร้างไว้เพื่อเป็นที่เก็บน้ำไม่ได้สร้างเพื่อเล่นออกกำลังกาย ตามสไตล์ยุโรปมักจะสร้างสระน้ำไว้ติดกับตัวบ้าน
=== พระตำหนักน้อย ===
'''พระตำหนักน้อย ''' ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระตำหนักดอนแค เป็นบ้านชั้นเดียวทาสีเทา ภายในเป็นห้องนอน ๑ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง มีประตูเปิดเข้าห้องน้ำ ๒ ด้าน ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับรองพระราชวงศ์ที่เสด็จมาเยี่ยมเยือนและทรงใช้เป็นที่ประทับทรงพระสำราญในบางโอกาสตามพระราชอัธยาศัยเมื่อพระองค์ทรงว่างจากพระราชภารกิจพระองค์จะมาประทับ ณพระตำหนักน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง
=== พระตำหนักดอนแค(ตำหนักแดง) ===
ชื่อตำหนักดอนแคมีที่มาจากบริเวณหน้าตำหนักปลูกต้นแคฝรั่งไว้ จึงได้ชื่อว่า “ดอนแค” มีแบบแปลนบ้านคล้ายกับพระตำหนักใหญ่ ต่างกันที่ตำหนักดอนแค เป็นบ้านสองชั้น แต่พระตำหนักใหญ่ เป็นบ้านชั้นครึ่ง และครึ่งตึกครึ่งไม้ สมเด็จฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ประทับสำหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และราชเลขานุการส่วนพระองค์ เป็นอาคารแบบยุโรปสร้างด้วยไม้สักทาสีแดงออกแบบ โดย หม่อมเจ้ากรวิก จักรพันธุ์ มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง ห้องชั้นบนเป็นห้องนอนของ ม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากร ห้องชั้นล่างเป็นห้องบรรทมของหม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี จักรพันธุ์
ภายในตำหนักดอนแค ประกอบด้วย
*๑. ห้องน้ำสำหรับคนภายนอกไว้ใช้ เป็นห้องน้ำขนาดเล็ก ปูพื้นด้วยกระเบื้องสีขาวอยู่ทางด้านขวามือของประตูทางเข้า
*๒. ห้องเครื่องเข้าออกได้ ๒ ทาง คือทางด้านข้างห้องน้ำ และมีบันไดทางเข้าออกสู่ตำหนักทางด้านขวามือ ภายในประกอบด้วย เตาอบขนม ตู้เก็บของซึ่งตรึงติดกับพื้นเคลื่อนย้ายไม่ได้
*๓. ห้องโถงเมื่อผ่านประตูทางเข้า จะพบห้องโถงสำหรับรับรองแขก ลักษณะของห้องโถง จะจัดเหมือนกับห้องโถงของพระตำหนักใหญ่ ปัจจุบันห้องโถงใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงองค์ความรู้สมัยก่อนประวัติศาสตร์
*๔. ห้องม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากร ผ่านห้องโถงทางซ้ายมือมีบันไดขึ้นไปสู่ห้องม.ร.ว.สมัครสมาน กฤดากร เป็นห้องที่ทาสีขาว มีหน้าต่างโดยรอบระเบียงด้านหน้าห้องเป็นระเบียงไม้ และมีห้องน้ำอยู่ติดกับห้องนอนโดยห้องน้ำมีประตูเปิดเข้าออก ๒ ด้าน คือ จากห้องนอนด้านหนึ่งและด้านนอกห้องหนึ่ง
*๕. ห้องบรรทมของม.จ.หญิงผ่องผัสมณี จักรพันธ์ จากห้องโถงมีบันไดลงสู่ห้องใต้ดินและห้องบรรทมของ ม.จ.หญิงผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ อยู่ทางด้านขวามือ ภายในห้องทาสีขาว มีหน้าต่างติดโดยรอบและมีห้องน้ำอยู่ติดกับห้องบรรทม โดยห้องน้ำมีประตูเปิดเข้าออก ๒ ด้าน จากห้องนอนด้านหนึ่งและด้านนอกอีกด้านหนึ่ง
*๖. ห้องใต้ดิน เมื่อลงบันไดไปสู่ห้องใต้ดินจะพบเครื่องโยกน้ำ ใต้บันไดจะเป็นที่ตั้งเครื่องปั๊มน้ำ ถัดจากเครื่องปั๊มน้ำพบช่องสี่เหลี่ยม ซึ่งมีไว้สำหรับเข้าไปสำรวจดูไฟฟ้าและระบบท่อน้ำ
*๗. ถังเก็บน้ำ บริเวณห้องใต้ดินเป็นถังน้ำขนาดใหญ่ สำหรับใช้บนพระตำหนักดอนแค
*๘. ห้องทำเฟอร์นิเจอร์ มีทางเข้าออกได้ ๒ ทาง คือ ทางด้านห้องใต้ดินและมีบันไดลงข้างห้องเครื่องเสวยภายในห้องมีเครื่องไสไม้และมีอุปกรณ์ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีหัวหน้าทำเฟอร์นิเจอร์เป็นคนจีนชื่อ “เถ้าแก่เอี่ยม” ปัจจุบันห้องนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย
จากห้องเฟอร์นิเจอร์จะพบบันไดขึ้นสู่ประตูทางเข้าด้านข้างของพระตำหนัก ผ่านพื้นปูนมาทางซ้ายมือมีบันไดลงสู่ห้องพักคนครัวชื่อ “ต่วน”และติดกับห้องพัก มีห้องอาบน้ำ ๑ ห้อง ห้องสุขา ๑ ห้อง ตรงข้ามกับห้องพักคนครัวเป็นห้องครัวสำหรับทำอาหาร ผ่านห้องครัว พบกำแพงก่อด้วยอิฐ โดยปลายกำแพงนั้นมีลักษณะคล้ายปล่องควัน และกำแพงมีการตอกเหล็กไว้เป็นหลัก เพื่อใช้ในการขึงลวดเพื่อตากผ้า ด้านหลังตำหนักดอนแคปลูกซุ้มพวงหยก โดยทำที่นั่งเล่นอยู่ตรงนั้น บริเวณพื้นใกล้กับซุ้มพวงหยกพบขอบอ่างเก็บน้ำโดยมีฝาไม้ปิดอยู่
=== บ้านเป็ดบ้านไก่ ===
'''บ้านเป็ดบ้านไก่''' ตั้งอยู่ในสวนส่วนพระองค์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะการก่อสร้างเป็นบ้านที่สร้างจากหินผสมปูน เป็นบ้านหกเหลี่ยม มีช่องประตูด้านหน้าหันไปทางทิศใต้
=== อ่างรับน้ำ ===
'''อ่างรับน้ำ''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ อยู่ห่างจากโรงทอเสื่อประมาณ ๑๐๐ เมตร เป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ก่อสร้างด้วยอิฐบล็อกขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร พาดอยู่ตามขวาง สร้างขึ้นเป็นคันกั้นน้ำ เพื่อลดความแรงของน้ำในขณะที่ปล่อยน้ำให้ไหลลงมายังที่พักน้ำ อ่างรับน้ำนี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นอ่างรับน้ำแล้วปล่อยน้ำให้ไหลลงมายังรางรดน้ำผักทั้ง ๙ ราง เพื่อนำน้ำมาใช้ในการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงกับอ่างรับน้ำนี้
=== บ่อชำระล้าง ===
'''บ่อชำระล้าง''' บ่อนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าเรือนเลี้ยงไก่จุดที่ ๒ เป็นบ่อที่มี ๒ ลักษณะ คือ มีรูปทรงกลมและรูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็น ๓ ช่วง ซึ่งมีไว้สำหรับใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคและน้ำสะอาด เพื่อให้คนที่จะเข้าไปในโรงเลี้ยงไก่ใช้ชำระล้างมือและเท้าให้สะอาด
=== เรือนฟักไข่ ===
'''เรือนฟักไข่''' ตั้งอยู่ในสวนส่วนพระองค์ ด้านกำแพงทิศตะวันออกเป็นโรงเรือนขนาดเล็กประมาณ ๒ เมตร สร้างจากอิฐแดงไม่ถือปูน มีประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันตก ทางด้านนอกของประตูเทพื้นปูนกว้าง ๒๐ ซม. ยาว ๕๐ ซม. ด้านซ้ายของลานปูนก่ออิฐยกเป็นขอบขึ้นมา เรือนหลังนี้สร้างขึ้นไว้สำหรับฟักไข่เป็ด ไข่ไก่ ของวังสวนบ้านแก้ว สภาพปัจจุบันเหลือพียงตัวอาคารที่เป็นตัวเรือนก่อด้วยอิฐ และลานปูนด้านนอก
=== เรือนเลี้ยงไก่ ===
'''เรือนเลี้ยงไก่''' การจัดสร้างตัวเรือน อยู่บริเวณแนวขนานกับรั้วที่กั้นล้อมรอบ
*จุดที่ ๑
**ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่ ลักษณะการก่อสร้างก่อด้วยอิฐแดงแบ่งห้องออกเป็น ๖ ห้องเล็ก ๆ ภายในเรือนเลี้ยงไก่ แบ่งออกเป็นด้านในและด้านนอก สร้างช่องลมตีเป็นรูปช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใส่ตะแกรงด้านล่าง และด้านบนของตัวเรือน หลังคามุงด้วยสังกะสี ประตูทางเข้าจัดทำไว้เป็นห้องของทางเข้าแต่ละห้อง
*จุดที่ ๒
**ตั้งอยู่ทางเหนือ ลักษณะการก่อสร้างของตัวเรือนตีเป็นโครงไม้เป็นช่อง ๆรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำประตูทางเข้าออกอยู่ทางด้านซ้ายมือ หลังคามุงสังกะสี ๒ ชั้น ลดหลั่นลาดเอียงลงมา ด้านข้างตีหน้าต่างเป็นช่อง ๆ คู่กัน ใส่ตะแกรงและกระดาษเยื่อสีน้ำตาลบริเวณกรอบช่วงล่างของตัวเรือนตีเป็นช่องลมเปิดเผยอไม้ด้านใน ลักษณะการแบ่งห้องภายในเป็น ๒ ห้องใหญ่ ใช้อิฐแดงกั้นและก่อเป็นตัวเรือนประกอบกันไป
*จุดที่ ๓
**ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ หันหน้าตัวเรือนเข้าสวนส่วนพระองค์ จัดสร้างเป็นตัวเรือน ๓ ห้องใหญ่ ๆ ทำช่องลมและหน้าต่างไปทางด้านนอกของรั้ว ภายในตัวอาคาร มีการเปลี่ยนแปลงพื้นและบริเวณรอบด้านมีการทำแปลงปลูกผัก ด้านในของเล้าไก่หลังนี้มีเครื่องอบไก่ในการที่ไก่ฟักไข่ออกเป็นตัว ด้านหน้าเล้าไก่มีต้นมะปรางและมะปริง ปัจจุบันคงเหลือแต่ซากอาคาร
=== ห้องเครื่องสูบน้ำ ===
'''ห้องเครื่องสูบน้ำ''' ตั้งอยู่นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกของสวนส่วนพระองค์ เป็นอาคารไม้ก่อด้วยอิฐ ไม่ถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ภายในแบ่งออกเป็น ๒ ห้อง คือ
*๑.ห้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน ๒ เครื่อง ซึ่งสูบน้ำจากสระน้ำบริเวณคณะเกษตรฯ เพื่อนำมา รดต้นไม้ในเรือนเพาะชำและแปลงผักที่สมเด็จฯ ทรงปลูกเช่น แตง บวบ ตลอดจนดอกไม้ ในบริเวณเดียวกัน
*๒.ห้องสุขา
=== ห้องเก็บยาฆ่าแมลง ===
'''ห้องเก็บยาฆ่าแมลง''' อยู่ทางด้านทิศเหนือของสวนส่วนพระองค์เป็นเรือนชั้นเดียว ก่อด้วยอิฐ หลังคามุงกระเบื้อง ใช้เป็นสถานที่เก็บยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช
=== บ้านพักคนดูแลสวน ===
'''บ้านพักคนดูแลสวน''' ดูแลต้นไม้ภายในสวนส่วนพระองค์ ลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องอยู่ติดกับสวนส่วนพระองค์ด้านทิศเหนือ
=== ศาลพระภูมิ ===
'''ศาลพระภูมิ''' ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่ ห่างประมาณ ๑๐๐ เมตร ศาลหลังนี้ เป็นศาลเสาเดียว ตั้งอยู่บนแท่นปูน รูปแบบเหมือนกับศาลพระภูมิโดยทั่วไป หันหน้าเข้าหาพระตำหนักใหญ่ และกึ่งกลางเสาด้านหน้ามีแผ่นป้ายสำริดรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๖ นิ้ว จารึกดวงพระราชสมภพ ของสมเด็จฯ ผนึกอยู่ศาลพระภูมินี้เป็นศาลประจำพระตำหนักใหญ่
=== ซุ้มพวงหยก ===
'''ซุ้มพวงหยก''' ตั้งอยู่เยื้องกับพระตำหนักใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ภายในสวนส่วนพระองค์ ลักษณะการก่อสร้าง มีต้นเสา ๘ ต้น ด้านบนตีไม้ระแนงกั้นเป็นแผงเพื่อให้ต้นพวงหยกไต่ขึ้น และสามารถใช้เป็นที่กำบังแดดได้
=== สระตุ๊กตา ===
'''สระตุ๊กตา''' ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าเยื้องกับพระตำหนักใหญ่ สร้างด้วยอิฐบริเวณตัวขอบบนสระมีทางเดินรอบขอบสระและบริเวณใกล้เคียงติดต่อกัน มีการปูพื้นเป็นทางเดิน ภายในตัวสระด้านล่าง ฉาบด้วยปูน ในสระเดิมมีตุ๊กตารูปผู้หญิงตั้งอยู่ บริเวณกลางสระ
=== สวนส่วนพระองค์(สวนผลไม้) ===
'''สวนส่วนพระองค์(สวนผลไม้)''' ลักษณะการสร้าง ก่อด้วยอิฐแดงเป็นลักษณะโปร่งล้อมรอบบริเวณ เพื่อกั้นเป็นสวนส่วนพระองค์ สมเด็จฯ ท่าน ทรงเลี้ยงเป็ด ห่าน ไก่ และนกหงส์หยก ภายในบริเวณสวนปลูกเงาะมะปริง มะปราง ลิ้นจี่
=== สระเลี้ยงปลา ===
'''สระเลี้ยงปลา''' อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระตำหนักใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณสวนไม้ดอกไม้ประดับ สระแห่งนี้เป็นสระที่มีความลึกมากกว่าสระอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน สระทางตอนบนเลี้ยงปลาหมอ สระตอนล่างเลี้ยงปลาช่อน
=== สวนส่วนพระองค์(สวนดอกไม้) ===
'''สวนส่วนพระองค์(สวนดอกไม้)''' ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของพระตำหนักใหญ่ลักษณะเป็นสวนดอกไม้ มีสระเลี้ยงเต่าเลี้ยงปลา สระน้ำสร้างเป็นแนวลดหลั่นกันลงมาเพื่อให้น้ำไหลเวียนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เป็นสถานที่พักผ่อนพระราชหฤทัยของสมเด็จฯ ปัจจุบันสภาพยังคงเดิมมีการนำดอกไม้มาปลูกทดแทนส่วนที่หายไป
=== ห้องเครื่อง ===
'''ห้องเครื่อง''' ป็นส่วนหนึ่งติดกับพระตำหนักอยู่ด้านทิศใต้ ทอดความยาวจากด้านทิศตะวันตกไปยัง ทิศตะวันออก ลักษณะเป็นเรือนก่อด้วยอิฐถือปูนชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ ใช้เป็นที่ประกอบอาหารถวายสมเด็จฯและข้าราชบริพาร จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงมีความเมตตากรุณาแก่ข้าราชบริพารเป็นอย่างยิ่ง จากคำบอกเล่าของผู้รู้ได้ความว่าพระองค์ทรงเลี้ยงข้าวทุกมื้อทุกวันและข้าราชบริพารก็มีมาก จึงทำให้ขนาดของห้องครัวใหญ่มากขึ้น ด้านทิศตะวันออกของห้องเครื่อง มีห้องน้ำ เพื่อข้าราชบริพารใช้ ปัจจุบันห้องด้านทิศตะวันตกปรับปรุงใช้เป็นห้องประชุมของสำนักศิลปวัฒนธรรมและห้องจัดแสดงนิทรรศการ
=== ศาลากลมหรือซุ้มดอกเห็ด ===
'''ศาลากลมหรือซุ้มดอกเห็ด''' ตั้งอยู่ในบริเวณระหว่างด้านหลังของพระตำหนักใหญ่และห้องเครื่อง เป็นศาลาทรงกลมรูปดอกเห็ด มีทางเข้าออกได้ ๒ ทางคือ ทางด้านเหนือและทิศตะวันตก เทพื้นปูนรูปวงกลมทาสีแดง สูงจากพื้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ผนังโดยรอบเว้นทางเข้าออกตีกั้นด้วยไม้สูงประมาณ ๕๐_ เซนติเมตร ส่วนด้านหลัง ฝั่งตรงข้ามกับทางเข้าด้านทิศเหนือ ตีฝาผนังไม้กั้น เป็นแผงสูงถึงหลังคา ในอดีต สมเด็จฯ ทรงใช้เป็นที่ประทับเสวยพระสุธารสชา
=== พระตำหนักใหญ่(ตำหนักเทา2) ===
เป็นอาคารชั้นครึ่ง ครึ่งตึกครึ่งไม้แบบยุโรปทาสีเทา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ทรงออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๒ ปี ส่วนที่เป็นไม้ใช้ไม้สักจากสวนส่วนพระองค์ที่เชียงใหม่ ส่วนอิฐนั้นโปรดให้คนงานเผาขึ้นเองในวังสวนบ้านแก้ว ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดูแลรักษาให้มีสภาพคงเดิม มีการซ่อมแซมหลังคาและทาสีใหม่จัดเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่นำมาจากวังศุโขทัย ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ณ วังสวนบ้านแก้ว และทรงปลูกต้นจำปากับเงาะเป็นที่ระลึก ณ บริเวณหลังพระตำหนักใหญ่ ซึ่งต้นไม้ทั้งสองต้น มหาวิทยาลัยฯ ได้ดูแลรักษาเจริญงอกงามเป็นอย่างดี ภายในพระตำหนักใหญ่ประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ดังนี้
*๑. ห้องอยู่เวรข้าหลวง
อยู่ติดกับห้องเก็บถ้วยชาม ห้องนี้อยู่ทางทิศตะวันตกสุดของพระตำหนัก เข้าออกทางห้องเก็บถ้วยชาม โดยการเลื่อนประตูไม้ที่อยู่ทางผนังด้านซ้ายของห้องเก็บถ้วยชาม ลักษณะภายในห้องมีโต๊ะไม้ ๑ ตัว เหนือโต๊ะมีกล่องพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมใสติดอยู่ โดยกล่องทางขวามือมีตัวหนังสือเขียนไว้ว่าข้าหลวงประจำห้องทรงพระสำราญ กล่องที่อยู่ถัดไปเป็นกล่อง ข้าหลวงประจำห้องบรรทมภายในกล่องมีดวงไฟติดอยู่ เวลาที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเรียก ต้องประจำอยู่ห้องนั้น การอยู่เวรนั้นอยู่ ๒ คน ผลัดเปลี่ยนกันตลอดเวลา
*๒. ห้องน้ำสำหรับแขก
อยู่ชั้นล่างทางด้านขวามือ เป็นห้องน้ำสำหรับแขกของสมเด็จฯ ภายในห้องน้ำปูพื้นด้วยกระเบื้องสีขาวและมีเครื่องสุขภัณฑ์ ประตูหน้าเข้าสู่พระตำหนักใหญ่ทางทิศเหนือ เมื่อเข้ามาแล้วพบว่า ฝาผนัง ทางด้านซ้ายมือมีที่สำหรับแขวนพระกลดคันสั้นและพระมาลา มีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาล มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีปุ่มสำหรับแขวน ๕ อัน
*๓. ห้องเก็บถ้วยชาม
ตั้งอยู่ทางด้านขวามือถัดจากห้องน้ำ มีทางเข้าออก ๒ ทางคือ เข้าประตูด้านหน้าพระตำหนักและมีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันตก ภายในห้องมีตู้ไม้เป็นชั้น ๆ สำหรับแก้วและถ้วยชาม ซึ่งใช้ภายในพระตำหนักใหญ่เท่านั้นส่วนผนังห้องด้านขวามือมีก๊อกน้ำและอ่างล้างจาน
*๔. ห้องพักเครื่องเสวย
เป็นห้องเล็ก ๆ มีประตูทางเข้าออก ๒ ทาง เป็นฉากบังตากั้น ภายในห้องมีตู้เป็นชั้น ๆ ประตู บานเลื่อนสำหรับเปิดปิด ตู้นี้เป็นที่เก็บอาหารที่นำมาจากห้องเครื่องเพื่อรอถวายขึ้นบนโต๊ะเสวย
*๕. ห้องทรงพระสำราญ
ห้องนี้อยู่ติดกับห้องสำหรับรอเข้าเฝ้า เป็นห้องที่ใช้พักผ่อนเวลาเสวยอาหารเสร็จ และใช้สำหรับรับรองแขกของสมเด็จฯ ห้องนี้สมัยที่สมเด็จฯ ประทับอยู่ที่วังสวนบ้านแก้วพื้นห้องปูด้วยเสื่อผืนใหญ่และมีชุดรับแขกทางด้านซ้ายมือของห้อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง คือ ทางด้านห้องพักเครื่องเสวย และทางด้านซ้ายมือ ปัจจุบันภายในห้องทรงพระสำราญได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยการนำโต๊ะเสวยมาตั้ง
*๖. ห้องสำหรับรอเข้าเฝ้า
ห้องนี้อยู่ชั้นล่างสุดอยู่ติดกับห้องทรงพระสำราญ สามารถเข้าออกได้ทางห้องทรงพระสำราญและประตูด้านหน้าของห้อง มีลักษณะเป็นห้องกระจกเลื่อนเปิดปิด มีบันไดขึ้นลงที่ทำด้วยอิฐ ๓ ขั้น ห้องนี้มีไว้สำหรับรอเข้าเฝ้า เพื่อขอพระราชทานน้ำสังข์ และที่มาเข้าเฝ้า เพื่อนำพลอยและพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มาถวายสมเด็จฯ
*๗. ห้องโถงใหญ่
เป็นห้องที่ใหญ่ที่สุดในพระตำหนักใหญ่ ปัจจุบันได้ใช้เป็นที่ตั้งพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ
*๘. ตู้ทึบสำหรับเก็บฉลองพระบาท
มีลักษณะเป็นตู้ไม้ทึบ ตั้งเยื้องมาทางด้านขวามือของห้องพักเครื่องเสวย มีไว้สำหรับเก็บฉลองพระบาทของสมเด็จฯ และตั้งไว้เพื่อเป็นที่บังตาไม่ให้คนภายนอกเห็นการเดินเข้าออก
*๙. ซุ้มพวงหยก
อยู่ด้านข้างพระตำหนักใหญ่ เป็นที่ทรงพักผ่อนและทรงพระสำราญ ลักษณะเป็นซุ้มทำด้วยไม้ระแนง โดยเสาทั้ง ๔ ต้น ปลูกต้นพวงหยกให้ไต่ขึ้นไปตามเสาและทอดยาวไปบนไม้ระแนง
*๑๐. ห้องเครื่องฝรั่ง
ห้องนี้อยู่ด้านหลังที่ตั้งชุดรับแขก มีหลืบกั้นระหว่างห้องเครื่องฝรั่งกับชุดรับแขก หลืบนี้จัดเป็นลักษณะเคาน์เตอร์ตั้งเครื่องดื่ม มีทางเข้าออก ๒ ทางเป็นแบบฉากบังตากั้น ภายในห้องได้จัดวางรูปแบบเป็นแบบครัวฝรั่ง ประกอบด้วยเตาที่ใช้สำหรับใส่ถ่าน ตู้เก็บอาหารกระป๋อง ตำราอาหาร
*๑๑. ห้องเก็บฉลองพระองค์
อยู่ทางด้านขวามือทางขึ้นบันไดไปสู่ห้องพระบรรทม เป็นห้องเก็บฉลองพระองค์ที่ไม่ใช้แล้วของสมเด็จฯ ลักษณะตู้เป็นชั้น ๆ ตรึงติดกับพื้น ชั้นบนของตู้มีที่สำหรับเก็บถังทำน้ำอุ่นเพื่อส่งไปใช้ยังห้องสรงของสมเด็จฯ ปัจจุบันใช้เก็บฉลองพระบาท
*๑๒. ห้องสรง
อยู่ติดกับห้องพระบรรทม มีประตูเปิดเข้าออก ๒ ทาง คือ จากภายในห้องพระบรรทมและด้านนอกห้องพระบรรทม ภายในห้องสรงพื้นปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน และมีเครื่องสุขภัณฑ์ซึ่งทุกชิ้นเน้นสีฟ้า
*๑๓. ห้องพระบรรทม
เป็นห้องขนาดใหญ่อยู่ชั้นบนของพระตำหนักใหญ่ มีบันไดขึ้นลงเข้าสู่ห้องพระบรรทมซึ่งตามบันได ปูด้วยเสื่อ ทางด้านซ้ายมือมีประตูเปิดออกไปสู่ระเบียงด้านหน้า เมื่อออกไปยืนตรงระเบียงจะมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของวังสวนบ้านแก้ว ภายในห้องพระบรรทมประกอบด้วย พระแท่นบรรทม โต๊ะเครื่องแป้ง ชั้นวางหนังสือ ตู้เก็บฉลองพระองค์ พระแท่นบรรทมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นพระแท่นบรรทมที่สมเด็จฯ บรรทมเมื่อประทับที่พระราชวังไกลกังวล
*๑๔. ห้องพักของม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
ห้องนี้เป็นห้องที่อยู่ลึกลงไปจากระดับพื้นชั้นล่างของห้องโถงในพระตำหนักใหญ่ ห้องนี้เข้าออกได้ ๒ ทาง คือ มีประตูเปิดออกสู่บริเวณด้านนอกทางซ้ายของพระตำหนักใหญ่ เป็นห้องมีห้องน้ำในตัว
*๑๕. ห้องเลี้ยงปลา เลี้ยงเต่า
อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระตำหนักใหญ่ ลักษณะเป็นห้องกระจกเลื่อนเปิดปิด ภายในห้อง มีตู้เล็ก ๆ สำหรับเลี้ยงปลา เลี้ยงเต่า
*๑๖. ที่เก็บน้ำ
พื้นที่ใต้พระตำหนักใหญ่ทั้งหมดเป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ภายในพระตำหนักใหญ่ถ้ามองจากด้านบน ข้างห้องเลี้ยงปลา เลี้ยงเต่า พบที่เก็บน้ำที่ทำด้วยปูนซีเมนต์ มีลักษณะ เป็นช่องสี่เหลี่ยม ๒ ช่อง เมื่อมองลงไปจะพบลูกลอยเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ และมีท่อน้ำล้นไหลลงสู่สระน้ำด้านข้างพระตำหนักใหญ่ ส่วนด้านบนมีประตูปิดทำด้วยไม้
=== เรือนแดง ===
'''เรือนแดง''' ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระตำหนักใหญ่ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทาด้วยสีแดงทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตรหลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ มีบันไดขึ้นลง ๒ ทางคือ บันไดทางด้านทิศใต้และบันไดทางด้านทิศเหนือ รูปร่างตัวบ้านมีลักษณะเหมือนกับเรือนเทา แตกต่างกันเพียงสีบ้านเท่านั้น ในอดีตเรือนแดงเป็นบ้านพักของข้าหลวงที่ตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีมาจากกรุงเทพฯ
=== เรือนเขียว ===
'''เรือนเขียว'''ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระตำหนักใหญ่ อยู่ห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ ๒๐๐ เมตร เรือนเขียวเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทาสีเขียวทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร มีระเบียงหน้าบ้านหลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ มีทางขึ้นลงได้ ๒ ทางคือ บันไดทางด้านทิศใต้และบันไดทางด้านทิศเหนือของบ้านภายในตัวบ้าน แบ่งออกเป็น ๓ ห้อง และห้องน้ำ ๑ ห้อง ในอดีตเป็นบ้านพักของราชเลขานุการ ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของผู้มาติดต่อเยี่ยมชมวังสวนบ้านแก้ว
=== เรือนเทา ===
'''เรือนเทา''' ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระตำหนักใหญ่ เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวทาด้วยสีเทาทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่มีทางขึ้นลง ๒ ทาง คือ บันไดทางด้านทิศใต้ กับทิศเหนือ ในอดีต เรือนเทาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างพระตำหนักใหญ่ (ตำหนักเทา)
=== ปฐมตำหนัก ===
'''ปฐมตำหนัก''' สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๓ เพื่อเป็นที่ประทับชั่วคราว หรือเรียกกันติดปากว่า “แคมป์” มีอยู่ ๖ หลัง ลักษณะเป็นบ้านไม้ไผ่หลังคามุงจาก ประทับอยู่ประมาณ ๓ ปี จึงมีการสร้างเรือนพักชั่วคราว คือ เรือนเขียว เรือนเทา เรือนแดง ฯลฯ ปฐมตำหนักตั้งอยู่บริเวณลานหญ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเรือนเขียว ปัจจุบันปฐมตำหนักไม่มีซากอาคารเหลืออยู่ คงเหลือแต่เพียงบริเวณลานหญ้าที่เคยเป็นสถานที่ตั้งเท่านั้น
=== พระตำหนักดอนแค(ตำหนักแดง) ===
'''พระตำหนักดอนแค(ตำหนักแดง)''' นามพระตำหนักดอนแค มีที่มาจากบริเวณถนนหน้าพระตำหนักปลูกต้นแคฝรั่งเรียงรายงดงาม จึงเรียกขานกันว่า “ดอนแค” เป็นพระตำหนักที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และราชเลขานุการส่วนพระองค์เป็นอาคารสองชั้นแบบยุโรปสร้างด้วย ไม้สักทาสีแดง มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลังตำหนัก เดิมเคยเป็นที่พักของหม่อมราชวงศ์ สมัครสมาน กฤดากร ราชเลขานุการต่อมาเมื่อราชเลขานุการถึงแก่กรรม หม่อมเจ้าผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ พระขนิษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขานุการ และประทับที่พระตำหนักดอนแค สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จฯ มาประทับกับหม่อมเจ้าผ่องผัสมณี จนกระทั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ วังศุโขทัยเป็นการถาวร
=== พระตำหนักเทา ===
'''พระตำหนักเทา''' เป็นพระตำหนักที่ตั้งบนเนินที่ลาดลงไปยังหุบเขา ซึ่งเป็นที่ประทับและรับรองแขก พระตำหนักเป็นอาคารแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นครึ่ง รูปทรงยุโรป ทาสีเทา ชั้นบนเป็นห้องบรรทมซึ่งมีเฉลียงที่พระองค์สามารถทอดพระเนตรทิวทัศน์อันงดงามของสวนบ้านแก้วได้กว้างไกล
*เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่สวนบ้านแก้ว การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกต้นจำปาไว้ด้านข้างพระตำหนักใหญ่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นเงาะไว้บริเวณเดียวกัน
=== บ้านพักกรมวัง(วังหน้า) ===
'''บ้านพักกรมวัง(วังหน้า)''' เป็นอาคารไม้ทั้งหลังยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้อง วางตัวเป็นรูปตัวแอล จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “วังหน้า”
=== โรงรถและห้องเก็บของ ===
'''โรงรถและห้องเก็บของ''' ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ๓ หลัง เชื่อมต่อกัน หลังคามุงกระเบื้องลดหลั่นกันมาเป็นชั้น ๆ แบ่งได้ ๓ ช่วง
*ช่วงแรก ด้านทิศตะวันออก เป็นห้องโล่ง ใช้สำหรับจอดรถ
*ช่วงที่ ๒ กั้นห้องด้วยไม้ อยู่กึ่งกลางระหว่างโรงรถ และช่วงกำแพงอิฐใช้เป็นที่เก็บของ
*ช่วงที่ ๓ ก่อด้วยอิฐ อยู่ด้านทิศตะวันตก ใช้เป็นโรงทอเสื่อ
ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ทำการของฝ่ายอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
=== โรงเก็บไม้ ===
'''โรงเก็บไม้''' ลักษณะก่อสร้างด้วยอิฐเผา มีประตูเข้าออก ๒ ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านข้างหลังคามุงกระเบื้องขนาดของโรงเก็บไม้กว้างยาว ประมาณ ๑๐ x ๑๕ เมตรและสูงประมาณ ๕ เมตร สร้างไว้สำหรับเก็บไม้ที่อบแล้ว เพื่อไว้ใช้ก่อสร้าง<ref>http://http://www.wangsuanbankaew.com/</ref>
 
==ปัจจุบัน==
ปัจจุบันพระตำหนักองค์ต่างๆในวังสวนบ้านแก้วตั้งอยู่ที่ [[มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]] [[อำเภอเมืองจันทบุรี]] [[จังหวัดจันทบุรี]]