ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 76:
* พ.ศ. 2336 เสด็จไปตีเมือง[[ทวาย]]สำเร็จ
* พ.ศ. 2340 เสด็จยกทัพไปป้องกันเมืองเชียงใหม่ ตีพม่าที่[[ลำพูน]] และเชียงใหม่แตก
* พ.ศ. 2345 ได้เสด็จไปขับไล่กองทัพข้าศึกออกจาก[[เชียงใหม่]] แต่เมื่อเสด็จไปถึงเมืองเถิน ทรงพระประชวรโรคนิ่ว ต้องประทับรักษาพระองค์โดยมีสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (สมเด็จวังหลัง) ทรงพยาบาลพระอาการอยู่ต่อมาเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่๒) พระอิสริยศขณะนั้นเสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคลเพื่อทรงพยาบาลสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจนกระทั้งกระทั่งพระอาการประชวรกำเริบและได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุขในหมุ่พระวิมาน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346 พระชนมายุ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศ (พระลอง) ย่อมุมไม้สิบสองหุ้มทองคำประดิษฐานพระบรมศพไว้ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากการถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวงเสร็จสิ้น พระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศในหมู่พระวิมาน ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง อนึ่ง คำว่าสวรรคตนั้นนอกจากจะใช้กับพระมหากษัตริย์และพระราชินี พระราชินีนาถ พระราชชนนีแล้วยังสามารถใช้ได้กับสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระฯ สยามบรมราชกุมารีได้อีกด้วย ทว่าในส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระราชวังบวรสถานพิมุขนั้นกำหนดให้ใช้คำว่า ทิวงคต