เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nooarmza2534 (คุย | ส่วนร่วม)
Nooarmza2534 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
===การก่อตั้งโรงเรียน===
ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2402 เป็นโรงเรียนราษฎร์สอนวิชาภาษาไทยควบคู่กับศาสนา ตามหลักสูตรของทางมิสซังโรมันคาทอลิกโดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ มีบาทหลวง เอมิล วิกตอร์ เบเช เจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนประชาบาลชนิดประชาชนจัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2465 ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาล ตำบลท่าข้าม 1 (นักบุญเปโตร) โดยมี บาทหลวง เรอเน แปร์รอส , บาทหลวง เอมิล วิกตอร์ เบเช และ นายเช้ กิจสกุล เป็นกรรมการผู้จัดการโรงเรียน อาคารเรียนสมัยนั้นเป็นอาคารเรียนตึก 2 ชั้น 1 หลัง ต่อมาในพ.ศ. 2492 บาทหลวงอันตน เอมมานุแอล เดชังป์-แบร์แยร์ เจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรได้ดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงกิจการของโรงเรียน จากโรงเรียนประชาบาลกลับมาเป็นโรงเรียนราษฎร์อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ตั้งชื่อเช่นเดียวกับวัดว่า “โรงเรียนนักบุญเปโตร” มีบาทหลวงอันตน เอมมานุแอล เดชังป์-แบร์แยร์ เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน นายสุทิน เต่งตระกูล ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ ดำเนินกิจการในลักษณะของโรงเรียนราษฎร์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นโรงเรียนประชาบาลอยู่ 27 ปี เมื่อกลับมาดำเนินกิจการเป็นโรงเรียนราษฎร์อีกครั้งหนึ่ง สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทางโรงเรียนขอขยายชั้นเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ. 1) ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3) ในปี พ.ศ. 2511 และได้ทำการปรับปรุงการเรียนการสอนเรื่อยมา ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และโรงเรียนได้นำ Internet มาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน การติดต่อสื่อสารระบบ Online ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ห้องรับรอง ห้องสหการ พัฒนาวงดนตรีไทย วงโยธวาทิต ปรับปรุงอาคารสถานที่ ปรับปรุงลานจอดรถด้านหลังอาคารปีเตอร์ ริมแม่น้ำท่าจีน จัดให้มีครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน นักเรียนทุกระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ได้ฝึกปฏิบัติการในห้องศูนย์ปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษ ฝึกการประหยัดและการเก็บออมกับธนาคารโรงเรียนซึงเป็นธนาคารจำลองได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารออมสิน
 
===ก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก===
ในปี [[พ.ศ. 2500]] พระครูมงคลวิลาส (เฉย กิตฺติธโร) ได้จัดหาที่เรียนให้ใหม่ โดยต่อเติมเรือนปั้นหยา 2 ชั้น ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของ ที่ตั้งโรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) ปัจจุบัน ให้เป็นที่เรียนและแต่งตั้ง นายธีระ เหล็กเพชร เป็นครูใหญ่แทน นายถวิล โปราณานนท์ ซึ่งขอลาออกจนกระทั่งปีพ.ศ. 2502 นายธีระ เหล็กเพชร ขอลาออกจึงแต่งตั้ง นายวิจิตร พร้อมมูล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน พ.ศ. 2502 ได้เริ่มต้นปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษาอย่างขนานใหญ่ โดย[[พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ)|พระราชปัญญาภรณ์ (ปัญญา อินทปญฺโญ)]] เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (สมณศักดิ์ชั้นยศในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินแปลงใหม่ เนื้อที่ 18 ไร สร้างอาคารเรียน 3 ชั้น แบบทรงไทยประยุกต์ 1 หลัง ขนาด24 ห้องเรียน พร้อมด้วยอาคารประกอบต่างๆ มีโรงอาหาร หอประชุม 1 หลัง ห้องสุขาชาย 1หลัง หญิง 1 หลัง เจาะบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ สร้างถังน้ำบาดาล 1 ถัง ใช้เวลาดำเนินการจนถึงปี [[พ.ศ. 2514]] จนเสร็จสิ้น โดยมีพระราชปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาส นายเลี้ยน ปัถวี กรรมการวัด นายฉลวย เปรมสัตย์ธรรม ตัวแทนวัดเป็นเจ้าของโรงเรียน นายทวี สุจิตรจูร ครูผู้จัดการโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษาร่วมกับคณะกรรมการวัดไร่ขิง เป็นผู้ควบคุมดำเนินการก่อสร้าง และได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งในที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ [[17 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2515|2515]] ต่อมาภายหลังพระราชปัญญาภรณ์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมให้โรงเรียนจนมีเนื้อที่อาณาเขตรั้วโรงเรียนรวม ทั้งสิ้น 37 ไร่ 2 งานโอนเป็นโรงเรียนรัฐบาล
 
[[พ.ศ. 2516]] พระราชปัญญาภรณ์ (ปัญญา อินทปญโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงในฐานะองค์อุปถัมภ์โรงเรียนได้ประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ขอความเห็นที่จะโอนกิจการของโรงเรียนนี้ให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป เพื่อสนับสนุนนโยบายของ[[รัฐบาล]]ที่มุ่งขยายการศึกษาออกสู่ท้องถิ่นอย่างกว้าง ขวาง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยจึงทำเรื่องขอโอนไปยัง[[กระทรวงศึกษาธิการ]] วันที่ [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2517]] กระทรวงศึกษาโดยความเห็นชอบด้วยของ[[คณะรัฐมนตรี]] ได้รับโอนโรงเรียนอนันต์สุนทรศึกษามาเป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกองการมัธยมศึกษา [[กรมสามัญศึกษา]] และเปลี่ยนชื่อใหม่ นามว่า “โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา” โดยมีนายวิจิตร พร้อมมูล รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาจึงแต่งตั้ง นายพิษณุ รัตนสุพร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยาเมื่อวันที่ [[1 กันยายน]] [[พ.ศ. 2517]] ขณะนั้นมีนักเรียน 11 ห้องเรียน จำนวน 369 คน คร ู23 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน
 
===เปิดป้ายโรงเรียน===